foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

provinces header

จังหวัดยโสธร

เมืองบั้งไฟโก้  แตงโมหวาน  หมอนขวานผ้าขิด  แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ "

yasothon logoจังหวัดยโสธร จากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์ กับสมัครพรรคพวกเดินทางอพยพ จะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" หรือ "เมืองสิงห์ท่า" ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น "เมืองยศสุนทร" หรือ "เมืองยโสธร" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา

ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ประมาณ 4,161 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง

จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ (2564) คือ อำเภอเมืองยโสธร, อำเภอทรายมูล, อำเภอกุดชุม, อำเภอคำเขื่อนแก้ว, อำเภอป่าติ้ว, อำเภอมหาชนะชัย, อำเภอค้อวัง, อำเภอเลิงนกทา และอำเภอไทยเจริญ

yasothon flower

ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร คือ ดอกบัวแดง ชื่อสามัญ Water Lily ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn. เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะสีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ เป็นพืชต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อนจนถึง แดดจัด สายบัวนิยมนำไปทำอาหารประเภทแกง หรือรับประทานเป็นผักสด

อาณาเขตติดต่อ :

  • ทิศตะวันตก : ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด
  • ทิศตะวันออก : ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศเหนือ : ติดกับจังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศใต้ : ติดกับจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดนครพนม

แนะนำจังหวัดยโสธร : Discover Yasothon Master

ประเพณีเทศกาลและแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ

ทั่วถิ่นแดนไทย : ประเพณีแห่งวิถีไทยอีสาน งานบุญบั้งไฟ สืบสานหัวใจแห่งศรัทธา ยโสธร

งานประเพณีบุญบั้งไฟ

มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ณ สวนสาธารณะพญาแถน โดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อ มุ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะ และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม ด้วยลวดลายไทยสีทอง เล่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปาก แลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่นๆ แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟนั้นจะนำมาตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณี

บั้งไฟที่จัดทำมีหลายชนิดคือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสนก็ใช้ดินประสิว 120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่า จะทำบั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวณผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องมีไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน สำหรับขบวนเซิ้งบั้งไฟนั้นมีความยาวหลายกิโลเมตร

ในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ]

boon bang fire 6

งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก

จัดในช่วงวันมาฆบูชา มีการนำข้าวตอก ดอกไม้ไปถวายเป็นพุทธบูชา จากความเชื่อในเรื่องว่า

  1. พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ มาเทศน์โปรดมารดาเหล่าเทวดาแสดงความยินดี โดยการโปรยข้าวตอกดอกไม้เป็พุทธบูชา
  2. ตามโบราณอีสานนิยม เมื่อมีการขนข้าวขึ้นเล้วเขาจะแยกข้าวบางส่วน ใส่กระสอบหรือกระเฌอเอาไว้สำหรับ ตำกิน กะให้พอดีกินถึงวันเปิดเล้าคือ เมื่อเอาข้าวขึ้นเล้าและสู่ขวัญข้าวเสร็จคนโบราณจะปิดเล้าข้าวไว้และจะเปิดเล้าข้าวอีกครั้งหนึ่งเพื่อนำข้าวมาตำกินในช่วงเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ หรือวันมงคลอื่นๆ ทั้งนี้แล้วแต่ท้องถิ่น สำหรับบ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย ได้กำหนดเอาวันมาฆบูชา โดยจะทำการเปิดเล้าข้าวและร่วมทำบุญตักบาตรตลอดจนการให้ทานต่างๆและเพื่อเป็นพุทธบูชาและความเป็นสิริมงคล ในการจัดข้าวตอกดอกไม้ไปถวายเป็นพุทธบูชาได้มาปฏิบัติทุกปีติดต่อกันมามิได้ขาด ในตอนแรกการนำข้าวตอกดอกไม้เป็นบูชานั้นจะนำใส่พานแล้วโปรยเวลาพระเทศน์ ต่อมาได้นำข้าวตอกดอกไม้มาประดิษฐ์ตกแต่งให้สวยงาม ด้วยการร้อยเป็นพวงคล้ายพวงมาลัย จึงเรียกกันว่า "พวงมาลัย" และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำเป็นพวงมาลัยข้าวตอกบ้าง บางทีก็ใช้ดอกไม้พลาสติกและลูกปัดร้อยเข้าไปด้วยเพื่อให้สวยงามขึ้น

malai kaotog 05

ในการทำพวงมาลัย จะรวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 4 - 5 หลังคาเรือนหรือใครจะมีศรัทธาทำตนเฉพาะตนก็ได้ ในปัจจุบันการร้อยมาลัยเป็นสายจะมีความยาวประมาณ 4 - 6 เมตร ในการทำบุญพวงมาลัย จะมีการนำพวงมาลัยมาแห่รอบเมืองเป็นขบวนสวยงาม เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจ และมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากท้องถิ่นส่วนอื่นๆ จากนั้นจะนำไปถวายวัดก่อนถึงวันมาฆบูชาหนึ่งวัน ทางวัดจะนำไปแขวนประดับประดาไว้บนศาลาการเปรียญเพื่อเป็นพุทธบูชา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย โทร. 0 4579 9341,0 4579 9103 [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ]

พระธาตุก่องข้าวน้อย

ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร - อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร พระธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23 - 25 ตรงกับ สมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง

ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ - เทพพร เพชรอุบล

พระธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือ มีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุ มีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อย มีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5 x 5 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น

พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อย กลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงว่า ข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิด ที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต

ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ (2523) โดย พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา

นอกจากนี้ ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง ซึ่งกรมศิลปากรกำลังดำเนินการจัดตั้งอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ขึ้น [ อ่านเพิ่มเติม : นิทานพื้นบ้าน ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ]

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ (มุมมองใหม่สิ่งศักดิ์สิทธิ์)

yasothon 01

เป็นโบสถ์ไม้ขนาดใหญ่มีเสาถึง 336 ต้น ใช้กระดานทำแป้นเกร็ดมุมหลังคา 80,000 แผ่น สามารถจุคริสตศาสนิกชนได้ร่วม 500 คน มิได้เพียงแต่ขนาดที่ใหญ่โตเท่านั้น โบสถ์นี้ยังได้ชื่อว่าเป็น โบสถ์คริสต์นิกายคาทอลิก ที่ก่อสร้างด้วยไม้และมีหน้าจั่วประดับกระจกซึ่งใหญ่ทีสุดในภาคอีสาน โบสถ์นี้มีชื่อเป็นทางการว่า "วัดอัครเทวดามิคาแอล" การเดินทางจากยโสธรใช้ทางหลวงหมายเลข 2169 เลยอำเภอกุดชุมไปประมาณ 7 - 8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกราว 600 เมตร ถึงบริเวณโรงเรียนซ่งแย้พิทยาและโบสถ์ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน

หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน

ห่างจากตัวเมืองยโสธร 20 กิโลเมตร ตามเส้นทางยโสธร - ป่าติ้ว - อำนาจเจริญ (ทางหลวงหมายเลข 202) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 18 - 19 แยกทางขวามือเข้าไปทางลูกรังอีก 3 กิโลเมตร หลังฤดูทำนาชาวบ้านที่นี่แทบทุกครัวเรือนมีอาชีพทอผ้า และทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมและซื้อหมอนขิตไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งขณะนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่งเป็นสินค้าออกไปขายต่างประเทศ นับเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่นำรายได้เป็นอันดับสองรองจากการทำนา

yasothon 02

กระติบข้าว บ้านทุ่งนางโอก

ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 8 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 2169 (ยโสธร - กุดชุม) มีชื่อเสียงในการจักสานไม้ไผ่ เพื่อเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนและของที่ระลึก โดยเฉพาะกระติบข้าว ผู้ที่มีความสามารถในการสานกระติบข้าว เริ่มจากเด็กนักเรียนระดับอนุบาล เรื่อยไปถึงคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ]

yasothon 03

ตำนาน "พญาคันคาก"

ณ เมืองแห่งหนึ่งชื่อ "เมืองชมพู" มีเจ้าเมืองชื่อ พระเจ้าเอกราช และพระมเหสี คือ พระนางสีดา ครองเมืองด้วยความร่มเย็นเป็นสุข กาลครั้งนั้นพระโพธิสัตว์จุติลงในครรภ์พระนางสีดา และประสูติออกมาเป็นคันคาก (คางคก) บิดามารดาไม่พอใจ แต่ก็เมตตาสงสารเลี้ยงไว้ เมื่อคันคาก เป็นหนุ่มก็อยากจะมีเมีย พระอินทร์สงสาร จึงช่วยเหลือโดยเนรมิตปราสาทไว้ใจกลางเมืองชมพู และนำนางอุดรกุรุทวีป ผู้เป็นเนื้อคู่มาไว้ในปราสาท แล้วชุบให้คันคากมีรูปร่างงดงาม ทั้งสองจึงได้อภิเษกกับครองเมืองชมพูสืบไป

yasothon 04

พญาคันคากครองเมืองมานาน ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองแห้งแล้ง อดอยาก พญาคันคากสั่งให้ พญานาคและปลวก ไปรบกับพญาแถน มีกองทัพสัตว์ต่างๆ เช่น กิ้งกือ ตะขาบ แมงป่อง ช่วยรบด้วยจนชนะพญาแถน

พญาคันคากจึงเริ่มเจรจาต่อพญาแถน ขอให้เมตตาชาวเมือง ประทานฝนตามฤดูกาลทุกปี พญาแถนแสร้งว่าลืม พญาคันคากจึงทูลเสนอว่าจะให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟขึ้นมาเตือน พญาแถนก็เห็นชอบด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทุกๆ เดือนหกซึ่งเป็นช่วงเริ่มฤดูทำนา ชาวอีสานจึงมีประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน เพื่อจะได้อำนวยความสะดวกตลอดฤดูเพาะปลูก และเมื่อพญาแถนประทานฝนลงมาถึงพื้นโลกแล้ว บรรดากบ เขียด คางคก ที่เป็นบริวารของพญาคันคาก ก็จะร้องประสานเพื่อแสดงความขอบคุณต่อพญาแถน

พญาแถนแต่งน้ำฝนให้ตกลงในเมืองชมพู แล้วเอาข้าวทิพย์เม็ดเท่ามะพร้าวไปปลูกให้เมืองมนุษย์ เสร็จแล้วเลิกทัพกลับมาเมืองชมพู เมืองนั้นจึงบริบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาชาวเมืองชมพูพากันเกียจคร้าน มิได้ทำยุ้งฉางไว้คอยรับข้าวทิพย์ เอาแต่มีดพร้าฟันเม็ดข้าว เม็ดข้าวจึงเล็กลง ดังที่เห็นในทุกวันนี้...

ปริวรรตจาก : อักษรธรรม 3 ผูก วัดมัชฌิมาวาส บ้านนานางวาน ตำบลม่วงใหญ่ อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

 [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์จังหวัดยโสธร | แผนที่จังหวัดยโสธร | เอกสารการท่องเที่ยว ]

new1234ภาพเก่าเล่าเรื่องในอดีต "เมืองยโสธร"new1234

 

 

นอกจากรายละเอียดในแต่ละจังหวัดแล้ว ภาคอีสานยังมีสาระความรู้มากมายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ชนเผ่าไทยในอีสาน ศิลปวัฒนธรรมอันรุ่งเรือง และอื่นๆ อีกมาก หาความรู้เพิ่มเติมได้จากเนื้อหาที่เกี่ยวข้องด้านล่างนี้

รู้จักภาคอีสานของไทย | ชาติพันธุ์เผ่าไทยในอีสาน | ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน | ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)