foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

provinces header

จังหวัดมุกดาหาร

เมืองชายโขงงาม   มะขามหวานเลิศ
ถิ่นกำเนิดลำพญา   ภูผาเทิบพิสดาร
กลองโบราณล้ำค่า  วัฒนธรรมไทยแปดเผ่า
เขามโนรมย์เพลินตา  โสภาแก่งกระเบา "

mukdahan logoในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงแขวงสวันเขต มีหมู่บ้านชุมชนใหญ่ชื่อ บ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสวันเขต ในปัจจุบัน โดยมีเจ้าจันทรสุริยวงศ์ปกครอง มีบุตรชายชื่อเจ้ากินรี ซึ่งต่อมาได้ข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งขวาที่บริเวณปากห้วยมุก สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ ที่นั้นในปี พ.ศ. 2310 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 และตั้งชื่อเมืองว่า "มุกดาหาร" อันเกิดจากศุภนิมิตรที่พบเห็นในขณะที่กำลังสร้างเมือง ชาวเมืองทั่วไปเรียกมุกดาหารว่า เมืองบังมุก หรือ มุกดาหารบุรี

ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2321

เดิม เมืองมุกดาหาร มีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสาน

mukdahan flower

ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร คือ ดอกช้างน้าว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ochna integerrima) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ochnaceae ลำต้นคดงอ ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง กิ่งก้านออกต่ำ ดอกสีเหลือง กลีบรองดอกสีแดงคล้ำ ผลกลม เป็นดอกไม้ที่เป็นที่นิยมมากทางภาคใต้ของเวียดนาม และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น กระแจะ (ระนอง) กำลังช้างสาร (กลาง) ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี) ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์) แง่ง (บุรีรัมย์) ช้างน้าว, ตานนกกรด (นครราชสีมา) ช้างโน้ม (ตราด) ช้างโหม (ระยอง) ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ตาลเหลือง (เหนือ) ฝิ่น (ราชบุรี) โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

สรรพคุณทางยา รากใช้ขับพยาธิและฟอกน้ำเหลือง ทางภาคอีสานใช้ลำต้นต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย ทางจังหวัดอุบลราชธานีใช้แก่นต้มน้ำดื่มแก้ประดง ชาวเขาเผ่ามูเซอใช้รากเป็นยาบำรุงกำลัง โดยตากแห้ง หรือดองเหล้า หรือต้มน้ำดื่ม

จังหวัดมุกดาหาร เป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง 70 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ ที่มีถึง 8 เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยแสก และไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ 4,339,830 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ (2564) คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร, อำเภอนิคมคำสร้อย, อำเภอดอนตาล, อำเภอดงหลวง, อำเภอคำชะอี, อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง

mukdahan 01

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศตะวันตก : ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ทิศตะวันออก : ติดต่อกับแขวงสวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
  • ทิศเหนือ : ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอหนองพอก อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ทิศใต้ : ติดต่อกับอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ประเพณีเทศกาลและแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ

mukdahan 05

งานกาชาดและงานรวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขง

ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคมทุกปี จังหวัดมุกดาหารเป็นเมืองเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงตรงข้ามกับแขวงสวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จึงมีชาวไทยเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่หลายเผ่า อาทิ ผู้ไท โซ่ ย้อ ข่า กะเลิง กุลา ซึ่งแต่ละเผ่าล้วนแล้วแต่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่น่าสนใจ มีเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง นอกจากนี้มุกดาหารยังเป็นแหล่งกำเนิดมะขามหวานพันธุ์ดีที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานาน หากแต่ยังขาดการส่งเสริมในด้านการตลาด ดังนั้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ของดีของท้องถิ่น และส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร จึงได้จัดงาน รวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขง ขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด กิจกรรมระหว่างงานมีขบวนแห่ ซึ่งใช้ผู้ฟ้อนนับร้อยคนแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่า มีการประกวดมะขามหวาน การประกวดธิดาเผ่าไทย การออกร้านของหน่วยงานต่างๆ และการแสดงพื้นเมือง เป็นต้น

mukdahan 03

ประเพณีการแข่งเรือ

ในช่วงเทศกาลออกพรรษาของทุกปี การแข่งเรือของจังหวัดมุกดาหารเป็นประเพณีสืบทอดกันมาแต่โบราณ โดยจัดขึ้นในลำน้ำโขง ที่บริเวณเขื่อนริมโขง ถนนสำราญชายโขง การแข่งเรือนี้จัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การแข่งเรือเร็ว โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น ได้แก่ เรือรุ่นเล็ก รุ่นกลาง รุ่นใหญ่ ระยะทางแข่งยาว 3 กิโลเมตร เรือทุกลำเป็นเรือขุดท้องกลม อีกประเภทหนึ่งคือ การแข่งเรือประเภทสวยงาม โดยตกแต่งเรือให้สวยงามตลอดลำ โดยเฉพาะจะเน้นที่หัวเรือ การแข่งเรือทั้งสองประเภทนี้ ในแต่ละปีจะมีเรือเข้าแข่งขันเป็นจำนวนมาก และจะมีการแข่งเรือมิตรภาพไทย - ลาว โดยมีเรือจากแขวงสวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาร่วมแข่งเป็นประจำทุกปี

mukdahan 06

หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก

สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้วทรงครองราชย์ครบ 50 ปี หอแก้วมุกดาหาร มีลักษณะเป็นหอคอยรูปทรงกระบอก มีความสูง 65.50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตัวแกนหอคอย 6 เมตร ส่วนฐานมีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงเก้าเหลี่ยมแทนความหมายถึงรัชกาลที่ 9 มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร มีทางเข้าออก 3 ทาง ส่วนแกนหอคอยเริ่มตั้งแต่ชั้น 3 ถึงชั้น 6 สูง 50 เมตร ส่วนหอชมวิวและโดม สูง 15 เมตร บนยอดสูงสุดเป็นที่ตั้งของ "ลูกแก้วมุกดาหาร" มีลักษณะกลมสีขาวหมอกมัว ทำจากประเทศเยอรมนี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร

การขึ้นไปชมจะมีลิฟต์และบันไดเวียนอำนวยความสะดวก โดยมีชั้นสำหรับชมนิทรรศการ และทัศนียภาพรอบด้านในระดับต่างๆ รวม 4 ระดับ คือ ชั้นที่ 1, 2, 6 และ 7 บนชั้นที่ 6 มีกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้าน เพื่อชมทิวทัศน์ในระยะไกล นอกจากจะเห็นเมืองมุกดาหารในมุมสูงแล้ว ยังสามารถมองเห็นเมืองคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขด ที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำโขงได้อย่างชัดเจน หอแก้วมุกดาหารเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.ค่าข้าชมคนละ 20 บาท

mukdahan 04

อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร

เป็นภูเขาหินทราย ประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่น และเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ - ใต้ ขนานและห่างจากชายฝั่งโขงประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานมุกดาหาร ประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย

กินหมูหันพักผ่อนที่แก่งกะเบา

เป็นแก่งหินยาวเหยียดตามลำน้ำโขง บนฝั่งก็ยังมีลานหินกว้างใหญ่ เป็นที่พักผ่อนได้อย่างดี ในฤดูแล้งน้ำลด จนเห็นเกาะแก่งกลางน้ำ และหาดทรายสวยกว่าฤดูอื่นๆ การเดินทางใช้เส้นทางมุกดาหาร-ธาตุพนม (ทางหลวงหมายเลข 212) ประมาณ 20 กิโลเมตร แยกขวาไปอำเภอหว้านใหญ่อีก 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกไปแก่งกะเบา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนืออีก 8 กิโลเมตร [ อ่านเพิ่มเติม ]

น้ำตกตาดโตน

อยู่ห่างจากอำเภอหนองสูงไปทางทิศใต้ และอยู่ห่างจากอำเภอคำชะอีไปทางทิศตะวันตก ตามถนนสาย 2030 ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 67-68 แยกเข้าไปอีกประมาณ 400 เมตร ทางขวามือ ระยะน้ำตกสูง 7 เมตร กว้าง 30 เมตร มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวมุกดาหารและชาวจังหวัดใกล้เคียง

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์จังหวัดมุกดาหาร | แผนที่จังหวัดมุกดาหาร | เอกสารการท่องเที่ยว ]

new1234ภาพเก่าเล่าเรื่องอดีต "เมืองมุกดาหาร"new1234

mukdahan 02

 

นอกจากรายละเอียดในแต่ละจังหวัดแล้ว ภาคอีสานยังมีสาระความรู้มากมายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ชนเผ่าไทยในอีสาน ศิลปวัฒนธรรมอันรุ่งเรือง และอื่นๆ อีกมาก หาความรู้เพิ่มเติมได้จากเนื้อหาที่เกี่ยวข้องด้านล่างนี้

รู้จักภาคอีสานของไทย | ชาติพันธุ์เผ่าไทยในอีสาน | ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน | ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)