foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

provinces header

จังหวัดมหาสารคาม

พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร "

mahasarakam logoจังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีบรรยากาศของเมืองที่สงบเงียบ และเรียบง่ายตามแบบฉบับของเมืองอีสาน ปัจจุบันมีความสำคัญในฐานะเป็น ศูนย์กลางทางด้านการศึกษาแห่งหนึ่งของภูมิภาค เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่มากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็น "ตักศิลาแห่งอีสาน"

จังหวัดมหาสารคาม มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่นในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณี และเนื่องจากยังมีความเจริญไม่มากนัก ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนเมืองนี้ จึงได้สัมผัสกับวิถีชีวิตชาวอีสานอันเรียบง่ายและบริสุทธิ์ เป็นเสน่ห์ที่นับวันจะหาได้ยากในสังคมเมืองปัจจุบัน

จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่ประมาณ 5,291 ตารางกิโลเมตร หรือ 3.31 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 42 ของประเทศ ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงโคราช พื้นที่มีรูปร่างคล้ายนกอินทรีกลับหัว ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 130 – 230 เมตร โดยทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นที่สูง และค่อยๆ ลาดเทมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำชี

จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเมืองหนึ่ง มีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมหมุนเวียนไปในแต่ละยุคสมัย ปัจจุบันนับเป็นเมืองศูนย์รวมวัฒนธรรมของชาวอีสาน เนื่องจากชาวเมืองมีที่มาจากหลายชนเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองที่พูดภาษาอีสาน ชาวไทยย้อ และชาวผู้ไท ประชาชนใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มีการไปมาหาสู่และช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป

mahasarakam 06

มหาสารคาม นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เนื่องจากพบชุมชนโบราณหลายแห่ง ทั้งชุมชนบ้านเชียงเหียนและหมู่บ้านปั้นหม้อของชาวบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองฯ รวมทั้งพบศิลปะสมัยทวารวดีและอิทธิพลของวัฒนธรรมขอม เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่นๆ รวมถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาที่พบอยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ของจังหวัด

เดิม เมืองมหาสารคาม มีชื่อว่า "บ้านลาดกุดยางใหญ่" และเพี้ยนไปเป็น "กุดนางใย" ต่อมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลาดกุดยางใหญ่ขึ้นเป็น "เมืองมหาสารคาม" โดยแบ่งพื้นที่และย้ายพลเมืองมาจากเมืองร้อยเอ็ด ที่อยู่ติดกันมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ และโปรดเกล้าฯ ให้เมืองมหาสารคามขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2412 จนถึงปัจจุบัน

mahasarakam flower

ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม คือ ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว ชื่อสามัญ Frangipani ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria ssp.) ลั่นทม หรือ ลีลาวดี เป็นไม้ดอกยืนต้นในวงศ์ตีนเป็ด หรือ วงศ์ไม้ลั่นทม (Apocynaceae) มีหลายชนิดด้วยกัน บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เพราะมีความเชื่อว่า เป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ นิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น (สำหรับชื่อภาษาอังกฤษอื่นๆ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Temple Tree, Graveyard Tree)

ต้นลีลาวดี เป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู สีขาวขุ่น ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี อาจมีมากถึงหลายสีในดอกเดียว ดอกลีลาวดียังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว โดยเรียกว่า "ดอกจำปา" และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้น มักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่

จังหวัดมหาสารคาม แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ (2564) ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอบรบือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอนาเชือก อำเภอเชียงยืน อำเภอนาดูน อำเภอแกดำ อำเภอยางสีสุราช อำเภอกุดรัง และอำเภอชื่นชม

การเดินทาง

มหาสารคามอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 475 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดมหาสารคามได้ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัวและ รถประจำทาง

  • โดยรถยนตร์:
    จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา แยกใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 219 ผ่านอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอบรบือ และแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 23 เข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม
  • โดยรถประจำทาง:
    มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-มหาสารคาม ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th ปัจจุบัน บริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com

mahasarakam 03

การเดินทางภายใน มหาสารคาม

ในตัวจังหวัดมหาสารคามมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม รถสองแถว มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาวันละ 1,000-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง รถสามล้อ เครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย

mahasarakam 01จังหวัดมหาสารคาม มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่นในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ การเยี่ยมชมและสักการะพระธาตุนาดูน กู่ นมัสการพระพุทธรูปต่างๆ และเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เยี่ยมชมและเลือกซื้อหาเครื่องใช้ในราคาถูกที่ หมู่บ้านหัตถกรรม พักในโฮมสเตย์ เรียนรู้การทำเสื่อกก หรือพักในรีสอร์ตสวย นวดแผนโบราณ และทำสปา เป็นต้น

นอก จากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ คือ ขี่จักรยานท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจริมบึงบอน อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย และแก่งเลิงจาน ดู "ปูทูลกระหม่อม" หรือ "ปูแป้ง" ซึ่งเป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในโลกที่พบเฉพาะในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน เท่านั้น และชมทิวทัศน์ ดูนก เดินป่าศึกษาธรรมชาติและชมพรรณไม้ ที่วนอุทยานชีหลง

เทศกาลงานประเพณีและวัฒนธรรม

ประเพณีบุญเบิกฟ้า เป็นประเพณีของชาวมหาสารคามที่ประกอบขึ้น ตามความเชื่อว่า เมื่อถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกๆ ปี ฟ้าจะเริ่มไขประตูฝน โดยจะมีเสียงฟ้าร้อง และทิศที่ฟ้าร้อง เป็นสัญญาณบ่งบอกตัวกำหนดปริมาณน้ำฝน ที่จะตกลงมาหล่อเลี้ยงการเกษตรในปีนั้นๆ เป็นงานเฉลิมฉลองในช่วงต้นฤดูการทำนา เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอีสาน ในงานจัดให้มีขบวนแห่บุญเบิกฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระแม่โพสพ เรื่องของพานบายศรีสู่ขวัญ ตลอดจนวัฒนธรรม การละเล่น ดนตรีพื้นบ้าน และพิธีกรรมต่างๆ

งานนมัสการพระธาตุนาดูน พระธาตุนาดูน หรือ พุทธมณฑลอีสาน เป็นสถานที่ที่ค้นพบ หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่แสดงว่า บริเวณแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรื่องของ นครจำปาศรี เมืองโบราณในอดีต อีกทั้งได้ขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 – 15 สมัยทวาราวดี จึงได้สร้างพระธาตุตามแบบสถูปที่ได้ค้นพบ และทุกปีก็จะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จัดงานในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือวันมาฆบูชา ของทุกปี

mahasarakam 08

รำบวงสรวง งานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
สุดอลังการนำขบวนนางรำกว่า 5,000 คน โดย ต่าย อรทัย

ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการสั่งสม ถ่ายทอด และพัฒนา มาจากประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถของปู่ ย่า ตา ยาย ที่สามารถนำสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มาทำให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีพ และความรู้และวิธีการต่างๆ ที่มีคุณค่าเหล่านั้น ได้ถ่ายทอดมาให้ลูกหลานในวันนี้ ในจังหวัดมหาสารคามมีภูมิปัญญาหลายอย่างเช่น การทอผ้า การทอเสื่อ การผลิต เครื่องดนตรีพื้นบ้าน การจักสาน การปั้นหม้อดินเผา การทำเครื่องเบญจรงค์ การประดิษฐ์เครื่องประดับ การเจียระไนพลอย และการทำขนมจีน

mahasarakam 05

มหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ผู้คนในท้องถิ่น ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและประเพณีดั้งเดิมอันงดงามไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ตลอดทั้งปี จึงมีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลอง และงานประเพณีที่สำคัญทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศหลายงาน โดยมีงานเด่นดังประจำปีที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด คือ งานแห่เทียนเข้าพรรษา งานบุญบั้งไฟ งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด งานนมัสการพระธาตุนาดูน งานประเพณี 12 เดือน เป็นต้น

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์จังหวัดมหาสารคาม | แผนที่จังหวัดมหาสารคาม | เอกสารการท่องเที่ยว ]

mahasarakam 07 

แนะนำให้ไปชม : ภาพเก่าเล่าเรื่องในอดีตจังหวัดมหาสารคาม new1234

redline

 

นอกจากรายละเอียดในแต่ละจังหวัดแล้ว ภาคอีสานยังมีสาระความรู้มากมายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ชนเผ่าไทยในอีสาน ศิลปวัฒนธรรมอันรุ่งเรือง และอื่นๆ อีกมาก หาความรู้เพิ่มเติมได้จากเนื้อหาที่เกี่ยวข้องด้านล่างนี้

รู้จักภาคอีสานของไทย | ชาติพันธุ์เผ่าไทยในอีสาน | ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน | ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)