foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

provinces header

จังหวัดร้อยเอ็ด

สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี
มหาเจดีย์ชัยมงคล งามหน้ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ"

roi ed logoจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณซึ่งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน บริเวณลุ่มน้ำชี มีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคประวัติศาสตร์ และมีความหลากหลายในแง่ของศาสนาและวัฒนธรรม อันเนื่องจากดินแดนแห่งนี้ เคยตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ

นอกจากนี้ ร้อยเอ็ด ยังเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิชั้นดี มีชื่อเสียงโด่งดัง จากอดีตถึงปัจจุบัน จังหวัดร้อยเอ็ดยังคงเป็นเมืองที่มีความน่าสนใจ ทั้งประเพณีและวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีผลิตผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียง เช่น ผ้าทอพื้นเมือง เครื่องจักสาน

จังหวัดร้อยเอ็ด หรือ ฮ้อยเอ็ด มีเนื้อที่ประมาณ 8,299 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,187,155 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 512 กิโลเมตร บริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดใน ปัจจุบัน เดิมชื่อว่า เมืองสาเกตนคร หรือ อาณาจักรกุลุนทะนคร มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่า พระเจ้ากุลุนทะ เมืองสาเกต เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งมีเมืองขึ้นถึง 11 เมือง ได้แก่

  1. เมืองเชียงเหียน (บ้านเชียงเหียน อำเภอเมืองมหาสารคาม)
  2. เมืองฟ้าแดด (บ้านฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์)
  3. เมืองสีแก้ว (บ้านสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
  4. เมืองเปือย (บ้านเมืองเปือย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
  5. เมืองทอง (บ้านเมืองทอง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
  6. เมืองหงษ์ (บ้านเมืองหงษ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน)
  7. เมืองบัว (บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย)
  8. เมืองคอง (อยู่บริเวณอำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ)
  9. เมืองเชียงขวง (บ้านจาน อำเภอธวัชบุรี)
  10. เมืองเชียงดี (บ้านโนนหัว อำเภอธวัชบุรี)
  11. เมืองไพ (บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ)

roi ed 02

จากหลักฐานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว สันนิษฐานว่า มีอายุประมาณ 1,800 - 2,500 ปีมาแล้ว ต่อมาอิทธิพลของพุทธศาสนาภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้แผ่ขยายเข้ามา เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 12 - 15 มีหลักฐานที่สำคัญ เช่น กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลข ในเขตอำเภอพนมไพร พระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพร ในเขตอำเภอเสลภูมิ คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงษ์ ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน

ในพุทธศตวรรษที่ 16 วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามา ปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่มาก เช่น ปรางค์กู่กาสิงห์ ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา ที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาดหายไป ประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ดพร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คนได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์

ต่อมา เจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่างๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่ง และส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น บริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์

roi ed 03

ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์

ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่า บึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอมาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัด ร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้

roi ed flower

ดอกไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด คือ ดอกประดู่ หรือ ประดู่ป่า (อังกฤษ: Burma padauk) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus macrocarpus เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ประดู่ชนิดนี้เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, พม่า, ลาว และเวียดนาม และเป็นพรรณไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทย ในไทยพบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ (ประดู่บ้านจะพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ เรียก สะโน) โดยขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร ส่วนในพม่าพบขึ้นอยู่ตามพื้นที่ราบหรือเนินสูงต่ำ และพบขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร

ลำต้นสูง 10-30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาล ซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่องลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้าน ใบประกอบขนนกรูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กันในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง

“ร้อยเอ็ด” มาจากไหน? ทำไม่ไม่ใช่ “สิบเอ็ด”??

จังหวัดร้อยเอ็ด มาจากนามเดิมว่า เมืองฮ้อยเอ็ด หมายถึง เมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าและเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำกว้างไกลไปทุกทิศทาง เหมือนมีประตูช่องทางออกไปติดต่อบ้านเมืองต่างๆ ได้ร้อยเอ็ดทิศ

ชื่อเมืองว่า “ร้อยเอ็ด” ได้จากชื่อในตำนานอุรังคธาตุ (คำบอกเล่าความเป็นมาของพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม) ว่าเมืองร้อยเอ็ดประตู เพราะเป็นเมืองใหญ่มีบริวารถึง 101 เมือง กับประตูเมือง 101 ประตู

ต่อมาได้มีข้อโต้แย้งจากผู้รู้บางท่านว่า “เมืองนี้มีเพียงสิบเอ็ดประตูเท่านั้น เพราะการเขียนตัวเลขสิบเอ็ดของคนอีสานและคนลาวสมัยก่อนนั้นเขียนว่า 101 ซึ่งต่อมาคนไม่เข้าใจการเขียนการอ่านของคนอีสาน จึงอ่านผิดไปเป็นหนึ่งร้อยเอ็ด หรือร้อยเอ็ด ด้วยเหตุนี้เมืองที่ควรจะชื่อว่าเมืองสิบเอ็ดประตูจึงกลายเป็นเมืองร้อยเอ็ดประตูไป”

roi ed 07

แต่ข้อโต้แย้งต้องตกไป เพราะ ต้นฉบับตัวเขียนบนใบลานตำนานอุรังคธาตุไม่ได้เขียนตัวเลข แต่เขียนเป็นตัวอักษร กรมศิลปากรบอกไว้ในเอกสาร "ชื่อบ้านนามเมือง…ร้อยเอ็ด" (พิมพ์ พ.ศ. 2552) ว่า

“จากการตรวจสอบของนักภาษาโบราณ กรมศิลปากรไม่พบว่า ในตำนานอุรังคธาตุมีการเขียนชื่อเมืองร้อยเอ็ดประตูด้วยตัวเลข หากแต่เขียนเป็นตัวอักษรทั้งสิ้น”

แล้วอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า “ถึงแม้ว่าร่องรอยของประตูเมืองร้อยเอ็ดโบราณจากภาพถ่ายทางอากาศเมื่อ พ.ศ. 2496 จะปรากฏว่า มีช่องทางเข้าออก 11 ประตูก็ตาม แต่จำนวน 11 ประตูก็มิได้เป็นจำนวนที่มากเกินปกติจนเป็นเอกลักษณ์ของเมืองได้ เพราะเมืองโบราณศรีเทพซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัยและมีการขยายเมืองเช่นเดียวกันนั้น ก็มีการเพิ่มจำนวนช่องทางเข้าออกเป็น 11 ช่องทางตามการขยายของตัวเมืองเช่นกัน”

ร้อยเอ็ดจะตรงกับคำว่า “ทวารวดี” มีคำอธิบายของกรมศิลปากร (เอกสารประกอบนิทรรศการฯ เรื่อง "ชื่อบ้านนามเมือง…ร้อยเอ็ด" ผลิตเผยแพร่โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ. 2552) เรื่องความหมายของเมืองร้อยเอ็ดประตู ไว้น่าเชื่อถือ มีความว่า

“ในตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่าเมืองร้อยเอ็ดประตูมีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น 101 เมือง การใช้จำนวนประตูเมืองมากมายนั้นเป็นความหมายแสดงถึงอำนาจที่แผ่ขยายกว้างไกลออกไปทุกทิศทาง โดยคติดังกล่าวนี้น่าจะมีที่มาจากอินเดีย ดังเช่นชื่อ "ทวารวดี" เมื่อแปลตามรูปศัพท์แปลว่าเมืองที่มีประตูเป็นกำแพง (ทวาร-ประตู และ วติ-รั้ว, กำแพง) และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับชื่อ เมืองร้อยเอ็ดประตู ก็จะให้ความหมายถึงการเป็นเมืองศูนย์กลาง ที่มีอำนาจจครอบคลุมออกไปทุกสารทิศเช่นเดียวกัน"

ชื่อเมือง "ร้อยเอ็ดประตู" เป็นมงคลนาม ที่ผู้ตั้งต้องการให้หมายถึงว่าเป็น "เมืองที่มีอำนาจแผ่ขยายกว้างไกลออกไปทุกทิศทาง" ซึ่งคงไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีประตูจริงๆ ถึง 101 ประตู”

ที่มา : วารสารศิลปวัฒนธรรม
31 สิงหาคม 2561

จังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ (2564) คือ

 อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน
 อำเภอธวัชบุรี อำเภอพนมไพร อำเภอโพนทอง อำเภอโพธิ์ชัย
 อำเภอหนองพอก อำเภอเสลภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเมืองสรวง
 อำเภอโพนทราย อำเภออาจสามารถ อำเภอเมยวดี อำเภอศรีสมเด็จ
 อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอหนองฮี อำเภอทุ่งเขาหลวง

การเดินทางสู่เมืองร้อยเอ็ด

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 512 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดร้อยเอ็ดได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และรถไฟ และเครื่องบิน

  • โดยรถไฟ:
    จากกรุงเทพฯ ไปลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์โดยสารเข้าจังหวัดร้อยเอ็ด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง มีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงไปขอนแก่นทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690 เว็บไซต์ www.railway.co.th
  • โดยรถยนตร์:
    จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านสระบุรี นครราชสีมา แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านมหาสารคาม จนถึงจังหวัดร้อยเอ็ด รวมระยะทาง 512 กิโลเมตร
  • โดยรถประจำทาง:
    มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 เว็บไซต์ www.transport.co.th

roi ed 04

การเดินทางภายใน ร้อยเอ็ด

ในตัวเมืองร้อยเอ็ดมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งร้อยเอ็ด โทร. 0-4351-1939, 0-4351-2546 นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง

กระจกหกด้าน - ผาน้ำย้อย

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดร้อยเอ็ดมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ วิถีชีวิตผู้คน โดยมีสถานที่ที่น่าสนใจ เช่น กู่พระโกนา ปรางค์กู่ หรือปราสาทหนองกู่ กู่กาสิงห์ วัดจักรวาลภูมิพินิจ วัดไตรภูมิคณาจารย์ บ้านหวายหลึม วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม บึงพลาญชัย สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ทุ่งกุลาร้องไห้ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ บึงเกลือ หรือทะเลอีสาน เป็นต้น

roi ed 01

ร้อยเอ็ดมีงานเทศกาลและประเพณีที่น่าสนใจหลายอย่าง มีงานเด่นดังประจำปีที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด คือ งานประเพณีกินข้าวปุ้นบุญผะเหวด งานประเพณีการแข่งเรือ ที่บึงพลาญชัย งานประเพณีแห่เทียนพรรษา งานประเพณีบุญบั้งไฟ

แนะนำจังหวัดร้อยเอ็ด

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์จังหวัดร้อยเอ็ด | แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด | เอกสารการท่องเที่ยว ]

 roi ed 06

ขอแนะนำให้ท่านได้ชม : ภาพเก่าเล่าเรื่องอดีตของ "เมืองร้อยเกิน ๑๐๑" ชุดที่ 1 | ชุดที่ 2 new1234

redline

 

นอกจากรายละเอียดในแต่ละจังหวัดแล้ว ภาคอีสานยังมีสาระความรู้มากมายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ชนเผ่าไทยในอีสาน ศิลปวัฒนธรรมอันรุ่งเรือง และอื่นๆ อีกมาก หาความรู้เพิ่มเติมได้จากเนื้อหาที่เกี่ยวข้องด้านล่างนี้

รู้จักภาคอีสานของไทย | ชาติพันธุ์เผ่าไทยในอีสาน | ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน | ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)