foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

art local people

นายสวิง บุญเจิม

sawing boonjerm smนายสวิง บุญเจิม ป.ธ.๙ M.A.

ปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญาไทยด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี

ชาติกำเนิด

นายสวิง บุญเจิม เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่บ้านเลขที่ 96 บ้านแก้งโพธิ์ ตำบลค้อทอง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ นายเขียว และนางบุญเติม บุญเจิม เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 12 คน

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประชาบาลค้อทอง 2 (ราษฎร์สวัสดิ์วิทยาคาร) อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2493)
  • นักธรรมชั้นตรี ขณะเป็นสามเณร พ.ศ. 2495 (จากการเรียนด้วยตนเอง ไม่มีครูสอน)
  • นักธรรมชั้นโท - เอก - ป.ธ. ๙ (พ.ศ. 2503 - 2513) ระหว่างอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
  • วุฒิครูพิเศษการศึกษา (พ.กศ.) (พ.ศ. 2518)
  • ปริญญาโท M.A. สาขาปรัชญาและศาสนา จาก Banaras Hindu University ประเทศอินเดีย ด้วยทุนจากสโมสรไลออนส์ จังหวัดอุบลราชธานี

ชีวิตครอบครัว

นายสวิง บุญเจิม สมรสกับ นางผุศดี บุญเจิม มีบุตรและบุตรี 3 คน ได้แก่ นายกฤษดา บุญเจิม นางจุฬาศรี แม้นศิริ และนายยุทธพงษ์ บุญเจิม

นายสวิง บุญเจิม ค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา และประเพณีอีสาน อย่างจริงจังลึกซึ้งจากหนังสือผูกและใบลาน เผยแพร่โดยการเขียนหนังสือและตำราต่างๆ ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน เชี่ยวชาญบทกลอนทั้งการลำ การขับร้องสรภัญญะ การสู่ขวัญ การแต่งผญา จนได้รับการยกย่องให้เป็น “ปรัชญาเมธีอีสาน”

ขณะที่ศึกษาอยู่ประเทศอินเดีย ได้ศึกษาปรัชญาอินเดียและปรัชญาตะวันตก ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับผญาภาษิตของอีสาน จึงได้หันมาศึกษา ค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา แลประเพณีอีสานเพิ่มเติมอย่างจริงจัง ลึกซึ้ง จากหนังสือผูกและหนังสือในลานที่มีในวัดของภาคอีสานโดยทั่วไป ทดลองเผยแพร่ความรู้โดยการเขียนหนังสือ และตำราเอกสารต่างๆ จำหน่าย ได้รับความนิยมและใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และประเพณีอีสานทั่วประเทศ นำความรู้ที่ค้นพบถ่ายทอดให้แก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และผู้สนใจในรูปแบบต่างๆ

การที่นายสวิง บุญเจิม นำความรู้ด้านปรัชญา ศาสนาและประเพณี ที่ตนศึกษา ค้นคว้า ค้นพบ ทดลองจนประสบผลสำเร็จแล้วไปเผยแพร่ โดยการสอนและถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ นำไปปฏิบัติเพื่ออนุรักษ์และสืบสาน เป็นประโยชน์โดยรวมแก่สังคม จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็น ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ด้านปริญญา ศาสนาและประเพณี ประจำปีพุทธศักราช 2545

นายสวิง บุญเจิม ได้เป็นนายกสมาคมส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน เป็นผู้มีภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทกลอนทั้งการลำ การขับร้องสรภัญญะ การสู่ขวัญ การแต่งผญา เป็นต้น ได้รับการยกย่องให้เป็น “ปรัชญาเมธีอีสาน” ผู้อนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น ถ่ายทอดความรู้โดยการเผยแพร่ทางรายการวิทยุและโทรทัศน์ เป็นวิทยากรอบรมสัมมนา รวมทั้งเขียนหนังสือเผยแพร่มากกว่า 10 เรื่อง โดยเฉพาะหนังสือ “มรดกอีสาน” พิมพ์เผยแพร่แล้ว ประมาณ 200,000 เล่ม

sawing boonjerm 02

การเรียนรู้

จากการศึกษาตำราโบราณทำให้นายสวิง บุญเจิม มีความเข้าใจหลักปรัชญาและศาสนาชัดเจน รวมทั้งที่มาของขนบธรรมเนียม ประเพณี คำสอน สุภาษิต ตำรายา และสมุนไพรเป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่า ปรัชญา ศาสนา และประเพณี เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกัน ปรัชญาเปรียบเสมือนเมล็ดพืช ศาสนาเปรียบเสมือนหน่อ และประเพณีเปรียบเสมือนเครื่องหล่อเลี้ยง ทั้งสามอย่างจะขาดกันมิได้ เช่น บาป – บุญ เป็นปรัชญาสั้นๆ ที่จะทำให้คนละชั่วทำดี ส่วนศาสนาเป็นหลักในการอธิบายให้รู้ว่า บาปบุญเป็นอย่างไร ทั้งสองอย่างมีลักษณะ มีรส มีผลปรากฏ และมีบรรทัดฐานต่างกันอย่างไร จะทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความรู้ความเข้าใจต่างกัน ทั้งบุคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐาน สำหรับประเพณี เมื่อบุคคลเห็นโทษของบาป เห็นอานิสงส์ของบุญ ตามหลักปรัชญาและศาสนาแล้ว คนก็จะเว้นบาปหันมาทำบุญ ต่อไปการทำบุญ ก็ให้ทำด้วยปัจจัย 4 คือ ให้เครื่องนุ่งห่ม ให้อาหารให้ที่อยู่อาศัย และให้ยารักษาโรค ให้ทำเป็นประจำจนกลายเป็นประเพณี ดังนั้นประเพณีจึงกลายเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงพระพุทธศาสนาเมื่อพระสงฆ์ได้รับความสะดวกด้วยปัจจัย 4 ก็มีความพร้อมในการทำหน้าที่ของตนต่อไป

การเผยแพร่ความรู้

นายสวิง บุญเจิม พิจารณาแล้วเห็นว่า องค์ความรู้เหล่านี้ถ้าไม่มีการสืบสานไว้ก็จะหมดสิ้นไป วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การเขียนเป็นตำราเผยแพร่ให้มีผู้ศึกษาในวงกว้าง ตำราที่เขียนและเผยแพร่ได้แก่ มรดกอีสาน หรือ มูลมังอีสาน, เสียเคราะห์ตนเองและผู้อื่น, ผญา, สรภัญญะอีสาน, กาละนับมือส่วย, ตำรายาสมุนไพรอีสาน, นิทานพื้นบ้านอีสานเล่ม 1, ธรรมสร้อยสายคำ (ว่าด้วยกำเนิดประเพณี), ความผูกแขน ความสอนปู่ย่า – ตายาย สะใภ้เขย, ความสอย – ความทวย, ปู่สอนหลาน หลานสอนปู่, ปรัชญาเมธีอีสาน, ประวัติและของดีสำเร็จลุน ฯลฯ เป็นต้น

sawing boonjerm 03

ปรัชญาเปรียบเสมือนเมล็ดพืช ศาสนาเปรียบเสมือนหน่อ และประเพณีเปรียบเสมือนเครื่องหล่อเลี้ยง ”

– สวิง บุญเจิม         

การถ่ายทอดความรู้

นอกจากการถ่ายทอดความรู้เป็นตำราแล้ว นายสวิง บุญเจิม ได้รับเชิญไปสอนในสถาบันการศึกษา และไปบรรยายตามสถานที่ราชการและเอกชนต่างๆ เป็นจำนวนมาก เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่ นักศึกษาปริญญาโท จากสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งตรวจวิทยานิพนธ์ จัดทำโครงการฝึกอบรมผู้นำทางศาสนาและประเพณี โครงการศาสนานำชีวิตเพื่อฝึกสมาธิจิตเยาวชนในโรงเรียน ให้คำปรึกษากับผู้สนใจทั้งทางโทรศัพท์ ทางจดหมายและไปพบเพื่อปรึกษาหารือที่บ้านให้ความรู้แกพระนิสิต มหาวิทยาลัยสงฆ์ สามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม – บาลี และแผนกสามัญศึกษา รวมทั้งวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมดให้ใช้ตำราของท่านเป็นคู่มือ ในการแนะนำชาวบ้านเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ ตามฮีต 12 คลอง 14 รวมถึงการใช้เป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมต่างๆ

ได้จัดรายการวิทยุชื่อรายการ "รายการสร้างบ้านแปลงเมือง" ทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ อุบลราชธานี โดยเน้นวัฒนธรรมและการส่งเสริมสุขภาพเป็นหลัก ได้รับเชิญจากสานักงานประชาสัมพันธ์เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี ให้ออกรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ในรายการ “เบิกฟ้าอีสาน” ทุกวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ วันละ 5 นาที ในเวลา 15.00 – 15.05 น. เป็นรายการที่ได้รับความสนใจจากชาวบ้านมาก

เกียรติคุณที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2539 ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ ระดับเขตการศึกษ จากสำนักพัฒนา การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 10
  • พ.ศ. 2542 “รางวัลเสาเสมาธรรมจักร” ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2545 ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2561 ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2561 รางวัลเพชรราชธานี สาขาวรรณศิลป์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

sawing boonjerm 01

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 229-231 ร้านสมประสงค์ (สำนักพิมพ์มรดกอีสาน อุบลราชธานี) ถนนแจ้งสนิท ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์หมายเลข 0-4531-1387, 0-4531-2562

ขอแสดงความอาลัย

เช้ามืดวันที่ 13 ธันวาคม 2563 ได้รับแจ้งข่าวจากลูกชายอาจารย์สวิง (ธนพล บุญเจิม) ว่า "ท่านอาจารย์สวิง บุญเจิม ถึงแก่กรรมโดยสงบเมื่อประมาณตีห้าวันนี้ กำหนดการสวดอภิธรรมจะแจ้งให้ทราบต่อไปครับ" หลังจากที่ท่านเกิดอาการท้องเสียรุนแรง ได้เข้ารักษาอาการที่โรงพยาบาลมาแล้วหนึ่งครั้ง กลับมาพักผ่อนที่บ้านอาการยังไม่ดีขึ้น จึงเข้ารับการรักษาตัวอีกรอบจนถึงวาระสุดท้ายดังกล่าว รายละเอียดตามภาพข้างล่างครับ

sawing boonjerm die

ทางทีมงานเว็บไซต์ประตูสู่อีสาน "IsanGate.com" ขอแสดงความอาลัยต่อครอบครัวในการจากไปของ อาจารย์สวิง บุญเจิม ในครั้งนี้ ขอกราบขอบพระคุณที่ท่านได้ให้ข้อมูล ความรู้ คำแนะนำมากมายในการจัดทำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ 🙏😭😢

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)