foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

หอระฆังและหอกลอง

หอระฆังและหอกลอง เดิมทีวัดในชนบทของอีสานนิยมใช้ "โปง" ตีบอกเวลาในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เป็นการสื่อสารระหว่างพระกับชาวบ้าน โปง ซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งให้เสียงทุ้มนุ่มนวลและได้ยินไปไกล โปงจะผูกไว้ใต้ถุนกุฏิหรือหอแจก จึงไม่จำเป็นต้องทำโรงเรือน ต่อมาเมื่อวัดในอีสานได้รับอิทธิพลจากเมืองหลวงในการใช้ระฆังหรือกลองเป็นสัญญาณเสียง ประกอบกับไม้ทำโปงเริ่มหายาก และโปงเก่าเมื่อกระทุ้งบ่อยๆ ก็จะสึกและชำรุดจนทำให้เสียงเสียไป วัดจึงได้สร้างหอสูง 3 ชั้นขึ้น โดยรวมทั้งระฆัง กลอง และโปง ให้อยู่ในหอเดียวกัน

hor klong pong 01

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม รูปทรงโปร่ง มี 3 ชั้นสูงในแนวตั้ง หลังคาจตุรมุขซ้อนชั้น ยอดแหลม มีการแกะสลักไม้เป็นลายนาค ลายก้านขด ลายเครือวัลย์ เป็นต้น

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม เป็นสัญญาณการสื่อสารที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางพุทธศาสนา สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระกับชาวบ้าน

ในสมัยโบราณ การบอกเวลาในโมงยามต่างๆ จะใช้การตีเกราะ เคาะไม้เพื่อบอกเวลา หรือแจ้งข่าวสาร ประชุมคนในชุมชน ต่อมามีการตีโปง กลอง หรือระฆัง เพื่อใช้บอกเวลาในการกระทำการที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น บอกเวลาทำวัตรเช้า เย็น บอกเวลาบิณฑบาตรของพระเณร บอกเวลาฉันเพล เป็นต้น เราจึงพบว่า ในวัดวาอารามมีการสร้างตัวอาคารสำหรับใช้แขวนโปง กลองและระฆังเหล่านี้ ในการเป็นศูนย์กลางของการบอกเวลาที่เรียกว่า หอระฆังและหอกลอง

hor rakang mai 02

หอระฆังและหอกลอง เป็นอาคารประเภทหนึ่งที่ปรากฏการสร้างมาแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมากพบในวัด ทั้งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส ใช้แขวนระฆังและกลองสำหรับตีบอกเวลา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทราบเวลาสำหรับการประกอบวัตรปฏิบัติต่างๆ โดยพร้อมเพรียงกันอันได้แก่ การทำวัตรเช้า-เย็น การฉันเพล เป็นต้น

ในทางความเชื่อเรื่องเสียงระฆัง เชื่อกัน ในอดีตว่าถ้าโลกนี้ไม่มีเสียงระฆัง (หมายถึง ไม่มีศาสนา) แล้วจะมียักษ์มากินมนุษย์ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ที่กล่าวมาแล้ว วัดในพระพุทธศาสนา (ฝ่ายเถรวาท) จึงต้องสร้างหอระฆังเพื่อใช้ประโยชน์ตามข้างต้น

รูปแบบและโครงสร้างของหอระฆังและหอกลองนั้น มีความคล้ายคลึงกันมาก อาจแตกต่างกันเฉพาะชื่อเรียกเท่านั้น โดยทั่วไปมักสร้างขึ้นโดยใช้แผนผังรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยเน้นให้มีรูปทรงสูง สามารถจำแนกประเภทได้ 2 ประเภทคือ

  • ชนิดเครื่องไม้ หมายถึง ประเภทที่สร้างตัวอาคารด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆ เป็นไม้ทั้งสิ้น มีไม้พาดเป็นขื่อสำหรับแขวนระฆังหรือกลอง มีความโปร่งโล่ง เพราะไม่ได้ก่อฝาผนังทึบตัน เช่น หอระฆังไม้  วัดศรีบุญเรือง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นหอระฆังไม้ทรงสูง เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สร้างด้วยไม้ทั้งหมด เสารองรับหอระฆัง มีขนาดเส้นรอบวงประมาณ 1.15 เมตร ระยะห่างของเสาทั้ง 4 ต้น ห่างกันประมาณ 2.10 เมตร หอระฆังเป็นหอสูง 4 ชั้น แต่ละชั้นปูพื้นไม้กระดาน มีบันไดเชื่อมต่อกันทุกชั้น หลังคาทรงจตุรมุขลดหลั่นกัน 3 ชั้น ประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุ ลายเครือเถาลายกนก ศิลปกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน
    นอกจากนี้ยังพบหอกลองชนิดเครื่องไม้ที่มีคุณค่ายิ่ง คือ หอกลอง วัดโคกบัวราย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นหอกลองสูงสามชั้น มีความเรียบง่ายแบบพื้นบ้าน โครงสร้างก็เป็นแบบโปร่งโล่งและมีเอกลักษณ์ของศิลปกรรมท้องถิ่น ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่า

hor rakang mai 01

  • ชนิดเครื่องก่อ หมายถึง ประเภทที่สร้างด้วยโครงสร้างแบบก่ออิฐถือปูนเช่นเดียวกับตึก ชั้นล่างโถงโล่ง มีบันไดเชื่อมต่อชั้นบน หอระฆังและหอกลองชนิดเครื่องก่อนี้มีทั้งที่ก่ออิฐเป็นผนังทึบตัน และแบบโปร่งเช่นเดียวกับเครื่องไม้ อาทิ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร จังหวัดสกลนคร เป็นหอกลองสูงทั้งหมดสามชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยชาวเวียดนามที่ได้มาพำนักอาศัย ณ จังหวัดสกลนคร ร่วมใจกันสร้างขึ้นถวายองค์พระธาตุเชิงชุม เพื่อเป็นพุทธบูชาเพื่อใช้บอกเวลายามต่างๆ

hor klong pratat cherng chum

ในปัจจุบัน วัดยังคงใช้การตีระฆังและกลอง เพื่อบอกเวลาปฏิบัติกิจของสงฆ์เช่นเดิม นอกจากเป็นเสียงที่ดังกังวาลและเยือกเย็นแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของการสร้างหอระฆังและหอกลองของไทยไว้ด้วย

pong mai 01

โปง

คำว่า "โปง" หมายถึง ระฆังใหญ่ ทำด้วยไม้ ใช้กระทุ้งให้เกิดเสียง

โปง หรือ กะปุง เป็นเครื่องตีบอกอาณัติสัญญาณของพระสงฆ์ในวัด แทนการตีระฆัง หรือกลอง เพราะเสียงโปงจะดังกังวานกว่าระฆังหรือกลอง โปงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ตะเคียนท่อนใหญ่ตัดหัวท้าย แล้วนำมาขุดให้เป็นโพรงกลวงข้างใน คว่ำด้านที่ขุดเป็นโพรงลงด้านล่าง เจาะด้านข้างเป็นรูทั้งสองข้างเพื่อเป็นรูเสียง หรือรูแพ แล้วเจาะรูด้านบนสำหรับสอดไม้ค้ำโปงกับเสาแขวนไว้ใต้หอระฆัง เวลาตีใช้ไม้ท่อนใหญ่ๆ ลักษณะคล้ายสากกระทุ้งโปงเพื่อให้เกิดเสียง กริยากระทุ้งโปงภาษาท้องถิ่นอีสานเรียก "ทั่งโปง" กระทุ้งโปงตามกาลเวลาดังนี้

  • เวลาเช้า ก่อนพระบิณฆบาต เพื่อให้ญาติโยมเตรียมตัวตักบาตร
  • เวลาเย็น เพื่อประโยชน์ให้คนที่หลงป่ากลับมาถูกทิศ
  • เวลาย่ำค่ำ ในช่วงเข้าพรรษาเพื่อให้พระลงทำวัตรเย็น
  • เวลายามวิกาล แสดงว่าเกิดเหตุร้ายขึ้นในวัด และแจ้งข่าวสารให้ชาวบ้านได้ทราบว่าทางวัดขอความช่วยเหลือ....

พระทั่งโปง วัดโพธิ์ศรีตาราม บ้านพอก-โนนหนองผือ จังหวัดยโสธร

สำหรับโปงไม้ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหารนี้ ทำด้วยไม้ตะเคียน (ไม้แคน) สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2467 พระบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) มอบหมายให้ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนตโร หรือหลวงพ่อดีโลด) เป็นนายช่างสร้างโปงใบนี้ ปัจจุบันแขวนอยู่ใต้หอระฆัง แต่เลิกใช้งานแล้ว เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ (ช่างท้องถิ่น) โดยมีขนาด ความสูง 357 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 102.3 เซนติเมตร

hor klong pong 02

redline

backled1

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)