foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

เกวียนอีสาน

เกวียน เป็นพาหนะที่ทำจากไม้ ขับเลื่อนด้วยแรงลากจูงของวัวหรือควาย เกวียนอีสานมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งาน 3 ลักษณะ คือ 1) เกวียนบรรทุกข้าว 2) เกวียนเดินทาง 3) เกวียนประจำตำแหน่งซึ่งเป็นเกวียนที่สั่งทำขึ้นพิเศษ ให้มีความงดงามสมกับตำแหน่งของเจ้าของ สามารถบ่งบอกสถานะทางสังคมของตนได้ด้วย โดยทั่วไปเกวียนจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ ล้อ หรือ กงเกวียน เรือนเกวียน หรือ ตัวเกวียน และไม้รูปซึ่งยื่นออกไปเป็นที่เทียมเกวียนด้วยวัวหรือควาย เกวียนจะเคลื่อนที่ไปตามแรงลากของวัวหรือควาย มีทั้งที่ใช้เพียงตัวเดียวลากมักเรียกว่า เกวียนเดียว แต่ถ้าใช้สองตัวลากเรียก เกวียนคู่

kwian 01

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม โครงสร้างสะท้อนการใช้เทคโนโลยีพื้นฐานอย่างง่ายๆ สมเหตุสมผลการกลึงดุมล้อเกวียนนับเป็นวิธีการที่ใช้ทักษะอย่างยอดเยี่ยม การตกแต่งนิยมแกะสลักลวดลายที่วิจิตรบรรจงลงบนส่วนประกอบของเกวียน ทั้งลายดอกไม้ ลายตัวกนก เช่น เกวียนยโสธร

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม เพื่อความปลอดภัยและความเป็นสิริมงคลของเจ้าของเกวียน และผู้ใช้เกวียนชาวอีสานจึงมีพิธีกรรมข่มนางไม้ และการสู่ขวัญเกวียน เพราะเชื่อว่าไม้ที่นำมาทำเกวียนมีนางไม้สถิตอยู่

kwian 05

เกวียนอีสาน

ชาวอีสานนิยมเดินทางกันในช่วงฤดูแล้งด้วยพาหนะ "เกวียน" เป็นพาหนะทำด้วยไม้ ใช้ลากจูงด้วยแรงสัตว์ เช่น เทียมด้วย โค หรือ กระบือ ด้วยภาคอีสานนั้นแม้จะมีแม่น้ำใหญ่ แต่ก็ไม่เหมาะกับการใช้เรือเพราะเมื่อพ้นฤดูฝนไปน้ำในแม่น้ำมีน้อย และมีเกาะแก่งขวางกั้นไม่เหมาะแก่การสัญจรโดยเรือ การเดินทางทางบกด้วยพาหนะช้าง ม้า วัว ควาย จึงสะดวกกว่า และเมื่อมีการบรรทุกสิ่งของด้วย จึงนิยมใช้ "เกวียน" ประโยชน์ของเกวียนมีหลายประการคือ เป็นพาหนะโดยสารสำหรับเดินทางไกลเมื่อไปเป็นกลุ่ม เป็นพาหนะบรรทุกผลิตผลจากสวนไร่นาใปยังเหย้าเรือน หรือตระเวนไปขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างหมู่บ้าน เป็นพาหนะที่บรรทุกของที่หนัก เช่น เสา ไม้ ดิน ทราย น้ำ เป็นพาหนะขนเสบียงอาหารและอาวุธในยามสงคราม และเป็นพาหนะลากหีบศพ

ขบวนเกวียนอีสาน บ้านดอนเมย อำนาจเจริญ

เกวียน ในภาษาอีสานอาจได้ยินเรียกว่า เกียน  บางแห่งอาจเรียก ล้อ ถ้าเป็นเกวียนขนาดเล็กบางแห่งเรียก ระแทะ (เมื่อเอาประทุนหรือหลังคาครอบออกจากเกวียนสำหรับลากขนสิ่งของ) บางทีก็เรียก รันแทะ, กระแท หรือ กระแทะ เป็นคำเรียกที่รับมาจากภาษาเขมร คือ ระแตะ หรือระเต็ฮ เกวียนมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีหลักฐานปรากฎเด่นชัด กล่าวกันว่า ภาพสลักหินเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา มีรูปพระมหากษัตริย์ประทับนั่งพาหนะคล้ายเกวียน ที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบลุ่มแม่น้ำมูล นอกจากนี้ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่สอง หรือจารึกวัดศรีชุมกล่าวถึง พระมหาเถร ศรีศรัทธาราชจุฬามุนี โปรดให้หาบรรดาพระพุทธรูปที่แตกหักในท้องถิ่นต่างๆ ชักมาด้วยล้อ ด้วยเกวียน มาเก็บไว้ในวิหารเมืองสุโขทัย ในประเทศจีนมีรูปจำลองของเกวียนในหลุมฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า เดิมทีมนุษย์ใช้แรงงานคนในการแบกหามสิ่งของ ต่อมามีความจำเป็นที่ตอ้งขนของที่ไกลๆ จึงคิดทำล้อเลื่อน โดยใช้แรงคนลาก จากล้อเลื่อนจึงพัฒนาเป็นเกวียนที่ใช้สัตว์ลากแทนแรงงานคน

kwian 06

เกวียนใช้เป็นยานพาหนะบรรทุกข้าว สิ่งของ ไปจำหน่ายที่ตลาด หรือขนย้าย หรือใช้เป็นยานพาหนะโดยสารในสมัยโบราณที่ยังไม่มีรถยนต์ รถไฟ เหมือนในปัจจุบัน ในหัวเมืองภาคอีสานก่อนรัชกาลที่ 5 นั้นจะมีเส้นทางเกวียนติดต่อกันระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างเมืองสู่เมือง ดังที่สมเด็จมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) สมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ได้เขียนไว้ใน กรมศิลปากร, ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ (โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, พ.ศ. 2515 หน้า 392 ) ว่า

…ส่วนทาง (ทางเกวียน) ที่ใช้กันอยู่เวลานี้ (สมัยรัชกาลที่ 6) เดินได้ถึงกัน เช่น มณฑลร้อยเอ็ดไปนครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี เกวียนนี้เป็นยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้าสำคัญกว่ายานพาหนะชนิดอื่น ติดต่อกันในมณฑลภาคอีสาน การบรรทุกถ้าเดินทางไกลตั้งแต่ 10 วันขึ้นไปบรรทุกน้ำหนักราว 3 - 4 หาบ (หาบหนึ่งมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัม) ถ้าเดินทางวันเดียวหรือ 2 วัน บรรทุก 5 หาบ ขนาดเกวียนสูงจากพื้นดินประมาณ 2 ศอกเศษ ตัวเกวียนกว้าง 1 ศอกเศษ ยาวประมาณ 3 ศอกเศษ ราคาซื้อขายกันตามราคา ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปถึง 50 บาท ประทุนที่ใช้ประกอบราคาหลังละ 7 - 8 บาท ถ้าซื้อทั้งประทุนด้วยราคาก็เพิ่มขึ้นตามส่วน …”

kwian 03

เกวียนที่ใช้กันอยู่ในภาคอีสานนั้นมี 2 ชนิด คือ

  • เกวียนโกง คือ เกวียนที่มีแต่พื้นเกวียนวางแน่นอยู่บนวงล้อ เทียมวัวควายลากเลื่อนไปได้ ครั้นเมื่อจะบรรทุกสิ่งของ ต้องมีกระบะสานด้วยไม้ไผ่ขนาดใหญ่ วางบนพื้นเกวียนสำหรับบรรจุสิ่งของ
  • เกวียนประทุน คือเกวียนที่มีส่วนประกอบต่างๆ เหมือนเกวียนภาคกลางและเพิ่มประทุนวางครอบ เพื่อกันแดดกับฝน สำหรับให้ผู้นั่งโดยสารเดินทางไกลๆ ประทุนเกวียนภาษาถิ่นอีสานเรียนกว่า "พวง"

kwian 09

ลักษณะเด่นของเกวียนอีสาน

ประเทศไทยมีเกวียนใช้ทุกภาค ลักษณะแตกต่างกันบ้างในเรื่องรูปร่างและการตกแต่ง เกวียนอีสานมีรูปร่างงดงาม บอบบาง โดยเฉพาะเกวียนยโสธร การตกแต่งนิยมแกาะสลักลวดลายลงไปตามส่วนประกอบของเกวียน แกะเป็นลายดอกไม้บ้าง ตัวกนกบ้าง ประทุนเกวียนอีสานเป็นงานจักสานไม้ใผ่ สามารถกันแดดฝนได้ดี เวลาไม่ใช้เกวียนก็ถอดประทุนไว้

kwian 02

เกวียนในเขตอีสานใต้ เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวเขมร เกวียนมีลักษณะบอบบาง สวยงามกว่าแบบที่พบในเขตอีสานเหนือ เกวียนแบบนี้เรียกว่า ระแทะ ในยามพักแรมมีประทุนเกวียนสวมครอบเรือนเกวียน และมีประตูปิดตรงหน้าเกวียน ประทุมเกวียนแบบนี้เรียกว่า พรวงเกวียน หากใช้บรรทุกสิ่งของต้องนำประทุนออก แล้วนำกระชุหรือกระโหลงซึ่งสานด้วยไม้ไผ่วางบนเกวียนเพื่อใส่ข้าวของ

เกวียนเทียมวัวที่พบในกลุ่มแม่น้ำมูล มีลักษณะคล้ายกับระแทะ ที่พบในงานจิตรกรรมโบราณ และภาพสลักหินศิลปขอม เกวียนทางภาคเหนือ มีลักษณะเตี้ย สั้นและกว้าง ส่วนการตกแต่งนิยมเขียนลายรูปช้างบ้าง ดอกไม้บ้าง ประดับที่ไม้กั้น ด้านหน้าและหลัง การแกะลวดลายนิยมแกะให้ลึกเป็นลายเส้น พิธีกรรมเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลเมื่อใช้เกวียน พิธีกรรมเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลเมื่อใช้เกวียน เท่าที่ปรากฎในภาคอีสานมีสองพิธีคือการข่มนางไม้และการสู่ขวัญเกวียน

kwian 07
การประกอบพิธีข่มนางไม้

พิธีข่มนางไม้

พิธีข่มนางไม้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยให้เจ้าของเกวียน และผู้ใช้เกวียน โดยเชื่อว่าไม้ที่นำมาทำเกวียนมีนางไม้สถิตอยู่ ฉะนั้นเมื่อทำเกวียนเสร็จแล้ว ก่อนใช้ต้องมีการเหยียบนางไม้ก่อน อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีข่มนางไม้ ได้แก่ขันห้า ประกอบด้วยดอกไม้ห้าคู่ เทียนห้าคู่ และฝ้ายผูกแขน ผู้ประกอบพิธีคือภรรยาเจ้าของเกวียน แต่งกายด้วยเสื้อสีขาว ห่มผ้าสะไปสีขาว คล้ายกับผู้สูงอายุในชนบทแต่งตัวไปวัด เริ่มพิธีด้วยการนำคายขันห้ามาตั้งไว้ที่หัวเกวียน แล้วให้แม่บ้านนั่งที่หัวเกวียนใช้เท้าเหยียบหัวเกวียนพร้อมกับท่องมนต์สองบท บทแรกกล่าวขับไสนางไม้ จากนั้นจะทำพิธีสู่ขวัญเกวียน

kwian 08

รู้จักวัวเทียมเกวียนและส่วนประกอบเกวียน

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)