foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

toomka yasothon3

ตูมกา

"ตูมกา" เป็นต้นไม้ยืนต้นที่เห็นทั่วๆ ไป ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ คนสมัยก่อนจะมีต้นยางนาเอาไว้นาใครนามัน เพื่อจุดน้ำมันยางไว้ให้แสงสว่าง จุดใต้ จุดคบ ทำขี้ใต้ หมากตูมกาเป็นภาชนะใส่น้ำมันยางเพื่อให้แสงสว่างที่ชาวบ้านรู้จักกันดี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลออกพรรษา ชาวบ้านแถบอีสานใต้จะนำผลหมากตูมกามาประดิษฐ์เป็นคบไฟประดับ ให้ความสวยงามตลอดเทศกาล

สารคดี "ที่นี่บ้านเรา" สถานี ThaiPBS เกี่ยวกับประเพณีจุดไฟตูมกา

ตูมกา บักตูม หมากตูม มะตูม เป็นผลไม้ป่าที่ค่อนข้างหายากในปัจจุบัน เนื่องจาก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ออกผลช้านานหลายปี จึงไม่นิยมปลูก แต่ยังพบได้ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะตามหัวไร่ปลายนา และตามป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ทั้งในภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และภาคอื่นๆ

ผลิตภัณฑ์ของมะตูมที่เห็นตามท้องตลาด ส่วนมากมาจากต้นมะตูมตามป่า หรือหัวไร่ปลายนา ซึ่งพบเห็นมากจะเป็นมะตูมตากแห้ง ที่ใช้สำหรับต้มน้ำดื่ม ส่วนผลิตภัณฑ์อื่น ได้แก่ มะตูมเชื่อม และน้ำมะตูม เป็นต้น อ่านความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหมากตูมกาได้ที่นี่ ประโยชน์ของหมากตูมกา

toomka yasothon 6

จังหวัดยโสธร ขอเชิญเที่ยวงาน “จุดไฟตูมกา ออกพรรษายโสธร” ประเพณีเก่าแก่แห่งเดียวในไทยของชาวบ้านทุ่งแต้ จังหวัดยโสธรยโสธร ชมความระยิบระยับงดงามตระการตาในยามค่ำคืน ของแสงไฟตูมกานับหมื่นดวง ที่จุดบูชาพระรัตนตรัยในช่วงออกพรรษา ชมการฟ้อนเพลินใจ ไฟตูมกา ด้วยนางรำนับพันคน ชมการสาธิตการแกะไฟตูมกา และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ก่อนวันออกพรรษา 3 วัน ณ หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร และคืนวันออกพรรษา ที่บ้านทุ่งแต้ อำเภอเมือง ยโสธร

พิธีจุดประทีปไต้น้ำมัน : วันออกพรรษาของชาวอีสาน

หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์ได้อยู่จำพรรษาในอาราม ครบ 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติแล้ว เมื่อถึงวันออกพรรษา ที่เรียกว่า วันมหาปวารณา ชาวพุทธจะถือเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ หลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาเพื่อการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดา ในเทวโลกอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ถ้วนไตรมาส พออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ที่ ประตูเมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ (รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย) วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “วันเทโวโรหณะ” ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือโบราณเรียกว่า วันพระเจ้าเปิดโลก หมายถึง โลกธาตุทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก สามารถมองเห็นกันได้

toomka yasothon 4

มูลเหตุนี้เองชาวอีสานจึงมีพิธีจุดประทีปไต้น้ำมันในเวลากลางคืนตั้งแต่ช่วงเวลา 18.00 – 20.00 น. เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเฉลิมฉลองวาระที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ ก่อนถึงวันออกพรรษาชาวบ้านจะไปรวมกันที่วัดเพื่อตั้งหอประทีป เรียกตามแต่ละท้องถิ่นว่า หอประทีป, หอฮุ่งเฮือง, หอไต้น้ำมัน ฯลฯ ตั้งเป็นหอเพียงตา ผนังด้านหลังปิดด้วยฝาไม้ไผ่ขัด ตามต้นเสาประดับด้วยต้นกล้วยต้นอ้อย ประดับดอกไม้ เพื่อใช้วางดวงประทีปทำด้วยลูกตูมกาขาว ภาคอีสานเรียก หมากขี้กา ซึ่งชาวบ้านจะนำมาเจาะรูคว้านเนื้อด้านในออกใส่น้ำมัน พร้อมไส้ทำด้วยฝ้าย (มีลักษณะเหมือนตะเกียง) หรือนำลูกตูมกานำมาผ่าครึ่งขูดเอาเนื้อด้านในออก ใส่เทียนไขทำไส้เป็นรูปตีนกา บางท้องถิ่นนำลูกตูมกาคว้านเอาเนื้อและเมล็ดข้างในออก จากนั้นใช้มีดแกะลายต่างๆอย่างประณีต ส่วนล่างเจาะรูไว้สำหรับสอดเทียนเข้าไปด้านใน เมื่อเวลาจุดเทียนแสงก็จะออกตามลายที่แกะ ทำให้มีความสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง

toomka yasothon 5

พิธีจุดประทีปไต้น้ำมัน ชาวอีสานจัดประกอบพิธีทั้งหมด 3 วัน คือ วันไต้ประทีปน้อย ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 วันไต้ประทีปใหญ่ ในวันวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และวันไต้น้ำมันล้างหางประทีป ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสุดท้าย

ตอนเช้าในวันแรม 11 ค่ำ เดือน 11 มีการตักบาตรเทโวโรหณะ ถวายภัตตาหาร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา บางท้องถิ่นมีการกวนข้าวทิพย์ และถวายต้นปราสาทผึ้งด้วย ถือเป็นงานบุญสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวอีสานที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างไม่เสื่อมคลาย

toomka yasothon4

toomka yasothon5

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)