foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

october2017 festival

เดือนหน้า ตุลาคม 2560 จะเป็นช่วงเทศกาลออกพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีของชาวพุทธทุกคน ในส่วนภาคอีสานเองจะมีประเพณีงานบุญที่สำคัญหลายงานในหลายจังหวัด จึงขอนำมาบอกกล่าวกันดังนี้

งานแข่งขันเรือยาวออกพรรษาไทย-ลาว (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)

race boatงานแข่งขันเรือยาวออกพรรษาไทย-ลาวจัดขึ้นทุกปีในช่วงวันออกพรรษา ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทย และประเทศลาว และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร นอกจากการแข่งเรือแล้ว ภายในงานยังมีการประกวดแห่เรือทางบกของชาวชุมชนในจังหวัดมุกดาหาร และขบวนแห่ของชาวลาว ที่สำคัญมีพิธีเบิกน่านน้ำ ซึ่งเจ้าเมืองทั้งสองแห่งจะร่วมในพิธีด้วยการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ลงประทับเรือเจ้าฟ้ามุกดาสวรรค์พายไปรอบ บริเวณของการจัดงาน เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา และเป็นสิริมงคลตลอดการจัดงาน นอกจากนี้ยังมีการประกวดแห่เรือทางน้ำ ที่จังหวัดมุกดาหารยังคงอนุรักษ์ ประเพณีดังกล่าวเอาไว้

สถานที่จัดงาน : ริมฝั่งแม่น้ำโขง หน้าตลาดอินโดจีน จังหวัดมุกดาหาร

ช่วงเวลาจัดงาน : 2 – 6 ตุลาคม 2560

 

งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม

fire boatประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติใน เทศกาลออกพรรษาทำกันในวันขึ้น 15 คํ่า หรือ แรม 1 คํ่า เดือน 11 ตามแม่นํ้าลำคลอง "เรือไฟ"หรือภาษาถิ่นเรียกว่า "เฮือไฟ" นี้เป็นเรือที่ทำด้วยต้นกล้วย ท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5 - 6 วา ข้างในบรรจุขนม ข้าวต้มผัดหรือสี่ง ที่ต้องการบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อน จะปล่อยเรือไฟซึ่งเรียกว่า "การไหลเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเฮือไฟ" พิธีและกิจกรรม ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟชาวคุ้ม วัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วย ต้นกล้วยไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีรูปร่างลักษณะ เหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่า สวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อ ความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีปโคมไฟอยู่ได้ ทนทาน เมื่อถึงวันงานก็จะมีขบวนสนุกสนานสวย งามด้วย ตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟจะสุดอยู่ที่แม่น้ำโขงทางทิศใต้มีการทำพิธีกรรมทางศาสนา การ กล่าวคำบูชารอยพระพุทธบาท

สถานที่จัดงาน : จังหวัดนครพนม

ช่วงเวลาจัดงาน : 28 กันยายน – 6 ตุลาคม 2560

 

ประเพณีบุญแห่กระธูป

hae kratoob"ประเพณีแห่กระธูป" ที่ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ในประเพณีบุญออกพรรษาของทุกปี ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกระธูปโดยจะตีเกราะเคาะขอลอ ให้ชาวบ้านออกไปรวมตัว ณ จุดนัดหมาย (อาจเป็นศาลากลางบ้านหรือบ้านผู้ใหญ่บ้าน) ไปพันกระธูป ซึ่งกว่าจะเป็นธูปจุดไฟได้ต้องผ่านกระบวนการยาวนานพอสมควร เพราะมันไม่ใช่ กระธูปหรือธูปที่วางขายตามตลาด แต่มันเกิดมาจากการขยี้เอามาจากกาบมะพร้าวจนร่วงออกมาเป็นผง แล้วพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มอีกทีด้วยกระดาษสีหรือกระดาษแก้วหลาก สีสัน ก่อนที่จะนำไปมัดเข้ากับดาวก้านตาล(สานจากใบตาลหรือใบลาน) จากนั้นจึงนำไปมัดห้อยกับก้านธูปที่เป็นเสมือนคันเบ็ด ทำไว้มากๆ เสร็จแล้วจึงจะนำเข้าไปเสียบเข้าไปรูรอบปล้องไม้ไผ่ ทำเป็นชั้นขึ้นไปเหมือนฉัตร ประดับตกแต่งงดงาม ก่อนที่จะนำออกไปจุดในวันเวียนเทียนออกพรรษา

งานบุญจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าด้วยการทำบุญตักบาตร นำขบวนแห่ต้นกระธูปวนรอบตลาด ในเขตเทศบาลตำบลหนองบัวแดง จากนั้นนำต้นกระธูปไปตั้งสมโภชน์ที่วัดบ้านราษฏร์ดำเนิน บริเวณร้านประทีปหน้าพระอุโบสถ ลักษณะของร้านเป็นสี่เสาทำด้วยไม้ไผ่สูงประมาณ 1 เมตร พื้นร้านจะสานเป็นตาสี่เหลี่ยมแซมด้วยกาบกล้วย เสาแต่ละต้นถูกประดับประดาด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นกระธูป และไต้น้ำมัน ในตอนกลางคืนจะมีการแสดงฟ้อนรำ การละเล่นของแต่ละ หมู่บ้าน ควบคู่ไปกับ การจุดกระธูปบูชาพระรัตนตรัยเป็นเวลา 3 คืน ได้แก่ ขึ้น 14 ค่ำ ชาวบ้านเรียกว่า จุดไต้น้ำมันน้อย ขึ้น 15 ค่ำ เรียกว่า จุดไต้น้ำมันใหญ่ และคืนข้างแรม 1 ค่ำ เรียกว่า ไต้น้ำมันล้างหางประทีป

สถานที่จัดงาน :  จังหวัดชัยภูมิ

ช่วงเวลาจัดงาน : 5 ตุลาคม 2560

 

 

บั้งไฟพญานาค 

banfai payanakมหัศจรรย์แห่งลุ่มน้ำโขงบั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในลำน้ำโขง เฉพาะที่จังหวัดหนองคายเท่านั้น และเจาะจงปรากฏให้เห็นในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เว้นแต่ปีใดมีเดือนแปดสองหนตามปฏิทินทางจันทรคติ บั้งไฟพญานาคจะปรากฏให้เห็นเป็นจำนวนมากในคืนแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี 

สถานที่จัดงาน : ริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย

ช่วงเวลาจัดงาน : 5 ตุลาคม 2560

 

 

 

งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

prasart puengจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา ระหว่างวันขึ้น 12 - 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ในตอนกลางคืนของวันขึ้น 13 ค่ำ ก่อนวันทำการแห่ขบวนปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มต่างๆ จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ประดับโคมไฟหลากสีมาตั้งประกวดแข่งขันกัน ณ สนามมิ่งเมือง เพื่อให้ประชาชนได้ชมความสวยงามอย่างใกล้ชิด สำหรับวันขึ้น 14 ค่ำ จะเป็นวันแห่ขบวนปราสาทผึ้งที่ตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงามของคุ้มวัดต่าง ๆ แห่ไปตามถนนในเขตเทศบาลไปสู่วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารปราสาทผึ้งที่แต่ละขบวนนำมาจะมาตั้งไว้เป็นพุทธบูชา ณ บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุม ด้วยความศรัทธาของชาวอีสานที่เชื่อว่าในเทศกาลออกพรรษาพระพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อมาโปรดเวนัยสัตว์ในโลกมนุษย์ให้พ้นทุกข์

สถานที่จัดงาน : จังหวัดสกลนคร

ช่วงเวลาจัดงาน : 1 - 5 ตุลาคม 2560

 

จุดไฟตูมกา ออกพรรษายโสธร

toomka yasothon3จังหวัดยโสธร ขอเชิญเที่ยวงาน “จุดไฟตูมกา ออกพรรษายโสธร” ประเพณีเก่าแก่แห่งเดียวในไทยของชาวบ้านทุ่งแต้ ยโสธร ชมความระยิบระยับงดงามตระการตาในยามค่ำคืน ของแสงไฟตูมกานับหมื่นดวง ที่จุดบูชาพระรัตนตรัยในช่วงออกพรรษา ชมการฟ้อนเพลินใจ ไฟตูมกา ด้วยนางรำนับพันคน ชมการสาธิตการแกะไฟตูมกา และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย พบกัน 28 กันยายน ถึง 4 ตุลาคม หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร และ 5 ตุลาคม ที่บ้านทุ่งแต้ อำเภอเมือง ยโสธร 

สถานที่จัดงาน :  จังหวัดยโสธร

ช่วงเวลาจัดงาน : 28 กันยายน - 5 ตุลาคม 2560

 

ประเพณีทอฝ้ายเป็นสายบุญ จุลกฐิน

julakatin2560ประเพณีจุลกฐิน หรือ กฐินแล่น ในภาษาทางอีสาน จัดขึ้นทุกปีในช่วงหลังวันออกพรรษาหรือแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เพื่อร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีโบราณอันดีงามของท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี จุลกฐินเป็นกฐินที่ต้องทำด้วยการรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว และเสร็จตามกำหนดเวลาพระวินัยบัญญัติ จึงถือเป็นประเพณีโบราณที่เชื่อว่าจะได้รับอานิสงส์มาก มีความเป็นสิริมงคลในชีวิต ในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น นิทรรศการความรู้เรื่องบุญกฐิน ซุ้มฐานการเรียนรู้เรื่องการทอผ้า การทำอาหารคาว-หวาน (ทำข้าวต้ม เผาข้าวหลาม ปิ้งเข้าโป่ง ฯลฯ) การแข่งขันการทำพานหมากเบ็ง การแข่งขันดนตรีพื้นเมือง การจ่ายผญา การสวดทำนองสรภัญญะ และปีนี้จัดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ "งานของพ่อ" กิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยให้สืบทอดต่อไป

สถานที่จัดงาน : วัดไชยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงเวลาจัดงาน : 1 - 3 พฤศจิกายน 2560

 

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)