foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

หลังเข้าพรรษามาถึงใน เดือนกันยายน และตุลาคม ปีนี้ มีวันเทศกาลพื้นถิ่นเกิดขึ้นซึ่งมักจะทำให้เกิดความสับสน มีลูกหลานรุ่นหลังไม่เข้าใจจำผิด จำถูก สลับกัน รวมทั้งมีความสงสัยว่า ประเพณีทั้งสองนี้แตกต่างกันอย่างไร ก็เลยขอเอาบทความเดิมที่เขียนไว้เมื่อ 7 ปีก่อนมานำเสนอกันอีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันได้ปฏิบัติตามแนวของบรรพบุรุษ สืบสานประเพณีดั้งเดิมนี้เอาไว้สืบไป

บุญข้าวประดับดิน - บุญข้าวสาก

ฮีต หรือ ขนบประเพณีอีสาน ในเดือนเก้าและเดือนสิบ นั้นแตกต่างกันอย่างไร? อันไหนจัดก่อน-หลัง ซึ่งคนอีสานรุ่นโบราณที่คลุกคลีอยู่กับ "ฮีต-คอง" ต่างๆ อาจจะไม่ได้แปลกใจ สงสัย หรือสับสน แต่สำหรับเยาวชนรุ่นหลังนี่มีมากกว่าร้อยละ 90 ที่ไม่รู้จักมาก่อน ไม่เข้าใจ ก็เห็นว่าทำเหมือนๆ กันหรือคล้ายๆ กัน คือ การอุทิศส่วนกุศลต่างๆ ให้กับญาติ บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ และสัมภเวสีต่างๆ วันนี้ได้รับคำถามมาทางอีเมล์ว่า "อยากให้เปรียบเทียบบุญประเพณีทั้งสองนี้ว่า แตกต่างกันอย่างไร?"

kao radabdin kao sag

ฮีตเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน

ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนเก้าแล้วเป็นกลางแห่งวัสสกาล ฝูงประชาชนชาวเมืองก็เล่า เตรียมตัวพร้อม พากันทานยังเข้าประดับดินกินก่อน ทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมอยู่ภาย ทำจั่งซี้บ่ย้ายเถิงขวบปีมา พระราชาในเมืองก็จงทำแนวนี้ ฮีตหากมามีแล้ววางลงให้ถือต่อ จำไว้เด้อ พ่อเฒ่าหลานเว้ากล่าวจา "

บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ เปรต (ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเรียกเป็น เผต) หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดิน ได้แก่ ข้าวและอาหารคาวหวาน พร้อมหมากพลู บุหรี่ที่ห่อด้วยใบตอง กล้วย นำไปวางไว้ตามใต้ต้นไม้ แขวนไว้ตามกิ่งไม้ ตามบริเวณกำแพงวัดบ้าง (คนอีสานโบราณเรียกกำแพงวัดว่า ต้ายวัด) หรือวางยายไว้ตามพื้นดิน เรียกว่า "ยายห่อข้าวน้อย"(ยาย ภาษาอีสานหมายความว่า การวางไว้เป็นเป็นระยะๆ) พร้อมกับเชิญวิญญาณของญาติมิตร นำภัตตาหารไปถวายแด่พระภิกษุ สามเณร แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย โดยหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไปให้ด้วย [ อ่านเพิ่มเติม ]

ฮีตเดือนสิบ บุญข้าวสาก

ฮีตหนึ่งนั้น เมื่อเทิงเดือนสิบแล้วทายกทอดบวยบาน เบิกพลีทำทานต่อมาสองซ้ำ ข้าวสลากนำไปให้สังโฆทานทอด พากันหวังยอดแก้วนิพพานพุ้นพ้นที่สูง ฝูงหมู่ลุงอาว์ป้าคณาเนือง น้อมส่งศรัทธาลงทอดไว้ทานให้แผ่ไป อุทิศให้ฝูงเปรตเปโต พากันโมทนานำสู่คนจนเกลี้ยง "

บุญข้าวสาก หรือ บุญเดือนสิบ เป็นการจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่างๆ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติ พี่น้อง บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำสลากไว้ที่สำรับข้าวปลาอาหารนั้น ซึ่งจะมีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะบริจาคทานให้แก่ผู้ใด โดยบอกชื่อผู้ที่จะมารับส่วนกุศลด้วย [ อ่านเพิ่มเติม ]

kao sag 01

ความเหมือน คือ การนำข้าวปลาอาหารไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับทั้งคู่ ความต่าง คือ ข้าวประดับดิน เป็นการให้ที่ไม่เฉพาะเจาะจง เน้นไปที่เปรต หรือสัมภเวสี อสูรกายที่ไร้ญาติ ไม่มีผู้อุทิศส่วนกุศลให้ นำไปวางตามโคนต้นไม้ หรือกำแพงวัด ส่วน ข้าวสาก (สลาก) นั้น จะนำข้าวปลาอาหารเป็นสำรับไปถวายพระโดยเฉพาะเจาะจงว่าจะอุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ใคร โดยใคร นั่นเอง

ส่วนพี่น้องอีสานเชื้อสายเขมร ส่วย กูย ทางสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ จะมีประเพณีเดียวกันนี้ชื่อ ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญ และปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับเป็นพันๆ ปี ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นความรัก ความผูกพัน ความกตัญญูรู้คุณ ของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ และชุมชน โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นลูก หลาน ญาติ พี่น้องที่ไปประกอบอาชีพ หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้ หรือไกลจะต้องเดินทางกลับมารวมญาติ เพื่อทำพิธีแซนโฎนตา เป็นประจำทุกปี แซนโฎนตา เป็นภาษาเขมร

  • แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวง
  • โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ปู่ย่า ตายาย หรือ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

ประเพณีแซนโฎนตา จึงหมายถึง ประเพณีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ที่นับได้ว่าเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยเชื้อสายเขมร มีการสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน [ อ่านเพิ่มเติม ]

ประเพณีเดือนสิบในภูมิภาคอื่น

เฉพาะบุญเดือนสิบนี้จะมีทำกันในทุกภาค เช่น ในภาคกลางจะเรียก ประเพณีถวายสลากภัต คือ การถวายอาหารแด่ภิกษุโดยวิธีการจับสลาก ใช้ในกรณีที่หาอาหารได้ยาก แต่ปัจจุบันแม้จะมีอาหารสมบูรณ์แล้วก็ยังนิยมทำบุญตามประเพณีอยู่ ผลที่ปรากฏคือคนมาร่วมงานทำบุญกันมาก เป็นงานบุญที่รวมคนได้เป็นอย่างดี ได้เห็นฝีมือการตกแต่งต้นสลากภัตที่สวยงาม เป็นการอนุรักษ์ช่างฝีมือพื้นบ้านและชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกัน

kan tuay slag 1

ภาคเหนือ เรียก “ตานก๋วยสลาก” เป็นประเพณีเนื่องในพระพุทธศาสนา ที่กระทำสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ในภาคเหนือจะเรียกประเพณีต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น มีทั้ง ตานสลาก กิ๋นข้าวสลาก กิ๋นก๋วยสลาก กิ๋นสลาก แต่ก็ล้วนหมายถึงประเพณีเดียวกัน แม้จะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปบ้างก็ตาม

ประเพณีตานก๋วยสลากมักทำกันตั้งแต่เดือน 12 เหนือ ถึงเดือนยี่เหนือ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านหยุดพักจากทำนา พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่ในวัดเพราะอยู่ในช่วงเข้าพรรษา ผลไม้มากและกำลังสุก เช่นส้มโอ ส้มเกลี้ยง กล้วย อ้อย และยังเป็นช่วงที่ข้าวเปลือกหรือข้าวสารของใกล้หมดยุ้งฉาง จึงเป็นโอกาสอันเหมาะสม โดยมีความเชื่อว่าการตานก๋วยสลาก นอกจากจะเป็นการทำบุญแก่ญาติผู้ล่วงลับแล้ว ยังเป็นการทำทานสงเคราะห์แก่คนยากไร้ ซึ่งถือว่ามีกุศลแรง

งานประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ โดยเฉพาะชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่าได้รับการปล่อยตัวมาจากภูมินรกที่ตนต้องจองจำอยู่ เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยก่อไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากภูมินรกในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ มีจุดประสงค์เพื่อให้มาขอส่วนบุญส่วนกุศลจากลูกหลาน ญาติ พี่น้องที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังภูมินรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี แต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13 ถึง 15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ ส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายนของทุกปี บ้างก็เรียกว่า ประเพณีชิงเปรต

ching prate 01

ชิงเปรต เป็นประเพณีของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็น "วันรับเปรต" หรือ วันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมัน และฝากกลับเมืองเปรต ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั้นคือ "วันส่งเปรต" กลับคืนเมือง เรียกกันว่า วันสารทใหญ่

ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนยืนยันว่า การชิงเปรต ไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่า เป็นการได้บุญ เพราะเชื่อกันว่าหากลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนั้น

sat duen 10

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)