คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
วันเวลาเดินหน้าไม่เคยคอยใคร คิดจะทำสิ่งใดให้เร่งรีบกระทำให้เสร็จสิ้นนะครับ ทำไปล้มเหลวไม่เป็นท่าก็อย่าเพิ่งท้อแท้ ลุกขึ้นมาสู้ต่อ สักวันโชคและโอกาสจะเป็นของเราถ้าไม่ละความเพียรไปเสียก่อน ความเปลี่ยนแปลงย่อมเป็นนิรันดร์ ในขณะเขียนข่าวนี้เขากำลังถกเถียงกันจะเป็นรัฐบาล เฮาประชาชนก็ได้แต่หวังว่าจะได้คนดีมีฝีมือมาบริหารประเทศชาติ นโยบายขายฝันจะเป็นได้หรือไม่ต้องรอการพิสูจน์ในวันต่อๆ ไป เชื่อในตัวเราเองใครจะมาเป็นรัฐบาลพวกเราก็ยังคงมีภาระสะสางหนี้ ธกส. ทำไร่ ทำนา หากินสู้ด้วยตนเองต่อไป ไม่ขออะไรมากมาย แค่สินค้าไม่ขึ้นราคาไปมาก น้ำมันตรึงราคาไว้ได้ ให้พืชผลมีความอุดมสมบูรณ์ราคาดีมีตลาดจำหน่าย ราษฎรอย่างพวกเราก็ลืมตาอ้าปากได้แน่นอนครับ สำหรับเทศกาลงานประเพณี การท่องเที่ยวอีสานบ้านเฮาประจำเดือนนี้ก็มีดังนี้
จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ภายใต้ชื่องาน งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2566 โดยใช้ธีมงาน “122 ปี ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งานล้ำเทียนพรรษา” เบื้องต้นกำหนดจัดงาน ในวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง และบริเวณถนนเลียบแม่น้ำมูล เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทย
กำหนดกิจกรรมที่สำคัญในงาน อาทิ พิธีอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทาน กิจกรรมเยือนชุมชนชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมในการตกแต่งต้นเทียน การจัดทำต้นเทียนถ่ายทอดเรื่องราวเทศน์มหาชาติ ทั้ง 13 กัณฑ์ กิจกรรมถนนสายธรรม-สายเทียน การเวียนเทียนในวันเข้าพรรษา การจัดแสดงต้นเทียนพรรษา การแสดงประกอบเสียงแสงขบวนแห่เทียนภาคกลางคืน การประกวดและแกะสลักเทียน การจัดแสดงขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาที่สวยงาม การแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม การจำหน่ายสินค้าโอทอป พร้อมกิจกรรมอื่นๆ
กลับมาอีกครั้งกับความยิ่งใหญ่ตระการตา ของขบวนต้นเทียนพรรษา ขนาดใหญ่กว่า 10 - 15 เมตร สูงกว่า 6 เมตร ตกแต่งเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ที่งดงาม ทั้งประเภทแกะสลัก ประเภทติดพิมพ์ และประเภทโบราณ พร้อมขบวนแห่การแสดง การฟ้อนรำ ของชาวอุบลราชธานี กว่า 70 ขบวน ที่สวยงาม กิจกรรมต่างๆ มีดังนี้
๑๒๒ ปี งานประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี
วันที่จัดงาน : 30 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2566
สถานที่จัดงาน : ทุ่งศรีเมือง และบริเวณถนนเลียบแม่น้ำมูล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดสุรินทร์ และภาคเอกชน ได้กำหนด จัดงานมหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของจังหวัดสุรินทร์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติได้ทราบ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน
เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา ซึ่งจัดขึ้นแห่งเดียวในโลก พระเถระชั้นผู้ใหญ่ พร้อมด้วยพระสงฆ์ จำนวน 70 รูป นั่งหลังช้างจำนวน 36 เชือก เดินออกรับบิณฑบาตจากพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวที่ยืนอยู่บนอัฒจันทร์จำนวน 4 ซุ้ม ได้ทำบุญตักบาตรด้วยข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม ปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ ขอพรจากพระสงฆ์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวไทย
กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 กรกฏาคม - 1 สิงหาคม 2566 โดยในวันที่ 31 กรกฏาคม 2566 เป็นขบวนแห่เทียนพรรษาของเทศบาลเมืองสุรินทร์ และขบวนช้าง ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และในวันที่ 1 สิงหาคม 2566 เป็นกิจกรรมตักบาตรบนหลังช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
ตักบาตรบนหลังช้่าง สุรินทร์ 2565
วันที่จัดงาน : 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2566
สถานที่จัดงาน : ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)