foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

october festival header

วันเวลาไม่เคยคอยใคร นี่ก็ล่วงเลยมาพอสมควรแล้วตั้งแต่เริ่มวันเข้าพรรษา มาบัดนี้เข้าสู่ตุลาคมซึ่งก็ได้เวลาครบ 3 เดือนเป็นวันออกพรรษาอีกครั้ง กิจกรรมงานบุญประเพณีอีสานบ้านเฮาที่ขาดไม่ได้ในช่วงนี้ก็มีมากมาย อาทิ การตักบาตรพระทางเรือในฤดูน้ำหลาก การแห่ปราสาทผึ้ง การไหลเฮือไฟ การแข่งขันเรือยาวหรือการส่วงเฮือ เป็นต้น เฉพาะในอีสานบ้านเฮาประเพณีที่ขึ้นชื่อได้แก่

  • งานประเพณีออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2566 จังหวัดหนองคาย วันที่ 27-28 ตุลาคม 2566
  • งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ประจำปี 2566 จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 20-30 ตุลาคม 2566
  • งานประเพณีจุดไฟตูมกา จังหวัดยโสธร ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม 2566
  • งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและแข่งขันเรือยาว ประจำปี 2566 จังหวัดสกลนคร ระหว่าง 23-29 ตลาคม 2566

งานประเพณีออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก

ชาวจังหวัดหนองคาย ขอเชิญชมการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม จากตำนานบั้งไฟพญานาค สู่ความเชื่อ ความศรัทธา ปฐมบทแห่งคืน 15 ค่ำ เดือน 11 ผสมผสานจินตนาการและการสร้างสรรค์ เล่าขานเรื่องราวผ่านนาฏกรรมอีสาน ชุด “ประทีปนาคา บูชาพระสัพพัญญู“ ในงานประเพณีออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก

prateep naka 2566

 

เริ่มตั้งแต่บริเวณ  วัดหายโศก ลานวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำโขงหน้าวัดลำดวนถึงพระธาตุหล้าหนอง ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญภายในงานประกอบ พิธีบวงสรวงและรำบูชาพญานาค การแสดง แสง สี เสียง จากนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย พิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนาง พิธีบวงสรวงพระธาตุกลางน้ำ พิธียกฉัตรพระธาตุหล้าหนอง (พระธาตุกลางน้ำจำลอง) กิจกรรมตักบาตรเทโวโรหนะ กิจรรมถนนอาหาร กิจกรรมถนนคนเดิน กิจกรรมแข่งเรือประเพณี กิจกรรมลอยกระโป๋ไฟบูชาพระแม่คงคา กิจกรรมชกมวยแมกไม้มวยไทย และกิจกรรมอื่นๆ 

โดยมีการแสดงของนักเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย ต่อด้วยการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม ภายใต้ชื่อ ประทีปนาคา บูชาพระสัพพัญญู ซึ่งหมายถึงลูกไฟขององค์พญานาคที่พ่นขึ้นมาจากใต้น้ำหรือเมืองบาดาลเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า  ในวันออกพรรษา การแสดงประกอบไปด้วย 4 องค์ เป็นการเล่าเรื่องราวความเป็นมาของหนองคาย แต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยองค์ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องการเกิดแม่น้ำโขง องค์ที่ 2 กล่าวถึงวิถีชีวิตของคนลุ่มแม่น้ำโขง ที่เชื่อเรื่องพญานาค โดยการแสดงเกี่ยวกับพญานาคทั้ง 4 ตระกูล อันประกอบไปด้วย ตระกูลวิรูปักขะ ตระกูลฉัพพะยาปุตตะ ตระกูลกัณหาโคตะมะ ตระกูลเอราปะถะ ผูกร้อยเรียงไปกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดหนองคาย มีพระสุก พระเสริม พระใส และพระธาตุหล้า  ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ล้มลงไปในแม่น้ำโขงเนื่องจากตลิ่งถูกกระแสน้ำกัดเซ่าะ และเชื่อว่ามีพญานาคเป็นผู้เฝ้ารักษา องค์ที่ 3 เป็นตำนานกล่าวถึง บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นความเชื่อเรื่องของการเกิด บั้งไฟพญานาค และองค์ที่ 4 เป็นประเพณีออกพรรษาจังหวัดหนองคาย

วันที่จัดงาน : 27-28 ตุลาคม 2566

สถานที่จัดงาน : ณ ลานวัฒนธรรมริมโขง หน้าวัดลำดวน จังหวัดหนองคาย

งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม

fire boat“ประเพณีไหลเรือไฟ” เป็นพิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ โดยมีความเชื่อว่า การไหลเรือไฟเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธองค์ประทับไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที ครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในพิภพของนาคใต้เมืองบาดาล รวมทั้งความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาคในลำน้ำโขง การระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา ขอขมาลาโทษต่อแม่น้ำ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในแม่น้ำ และยังถือเป็นการลอยเคราะห์ลอยโศก ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข มีโชคมีลาภ

นอกจากนั้นในตำนานยังเล่าขานกันว่า ในแม่น้ำโขงเป็นที่สิงสถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น พญานาค เจ้าพ่อเหล็กซีด้ามแตก เจ้าพ่อคำแดง เจ้าพ่อหมื่น เจ้าพ่อสัมมะติ เจ้าพ่อสิบสอง ต้องทำการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อให้ท่านปกปักรักษาบ้านเมือง ประชาชนให้มีความสงบสุขร่มเย็น ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และขอให้มีโชคลาภ การทำมาหากินให้มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง

fire boat 2566 1

การจัดงานไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม ประจำปี 2566 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-30 ตุลาคม 2566 (รวม 11 วัน 11 คืน) โดยมีกิจกรรมไฮไลท์ในคืนวันออกพรรษา วันที่ 29 ตุลาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ไหลเรือไฟจาก 12 อำเภอ จำนวน 12 ลำ

ทั้งนี้​ จังหวัด​นครพนม​ได้กำหนดให้มีกิจกรรม​ในทุกค่ำคืน​ ได้แก่​

  • การไหลเรือไฟโชว์​คืน​ละ​ 1-2​ ลำ​
  • การปล่อยกระทงสายวันละ​ 25,000 ดวง​
  • การแสดงศิลป​วัฒนธรรม​ท้องถิ่น​ การจัดทำเรือไฟโบราณ​
  • การแสดงซุ้มวิถีคนทำเรือไฟของ​ 12​ อำเภอ​ และมหกรรม​สินค้า​ OTOP​ คาราวาน​สินค้า​
  • การแสดงมหรสพ​ตามประเพณี

วันที่จัดงาน : 20-30 ตุลาคม 2566

สถานที่จัดงาน : ณ เลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร และศาลากลางจังหวัดนครพนม

งานประเพณีจุดไฟตูมกาออกพรรษายโสธร 

toomka yasoการจุดไฟตูมกาเป็นประเพณีของชาวบ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร มีมาแต่ช้านานกว่า 200 ปีพร้อมกับการก่อตั้งหมู่บ้าน แต่เมื่อช่วง 50 ปี ที่ผ่านมาประเพณีดังกล่าวได้เลือนหายไป เนื่องจากมีความเจริญและมีไฟฟ้าเข้ามาใช้ในชุมชน ภายหลัง พระครูปริยัติ พลากร เจ้าอาวาสวัดบูรพา กลับมาอยู่วัดบ้านเกิด จึงพาญาติโยมฟื้นฟูประเพณีนี้ขึ้นมามาตั้งแต่ปี 2548 รวม 13 ปี และปัจจุบัน ชาวบ้านทุ่งแต้ ได้เริ่มรื้อฟื้นการจุดไฟตูมกาในช่วงวันออกพรรษาให้กลับมาอีกครั้ง เพื่อให้ชาวบ้าน นักเรียนและเยาวชน ได้ร่วมกิจกรรมเป็นการสืบสานการจุดไฟตูมกาในช่วงวันออกพรรษา

จังหวัดยโสธร จึงได้มีการเตรียมการจัด งานประเพณีจุดไฟตูมกา ในคืนวันออกพรรษาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอันดีงาม ภายใต้ชื่อ "จุดไฟตูมกา ออกพรรษายโสธร" ขึ้น ชมการสาธิตการแกะสลักไฟตูมกา การแห่ต้นไฟตูมกา การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจากโรงเรียนต่างๆ ชมการรำไฟตูมกา โดยนางรำจากทุกหมู่บ้านในอำเภอเมืองยโสธร จำนวนกว่า 1,000 คน การประกวดไฟตูมกาประเภทต่างๆ การแสดงรำวงย้อนยุคจากชุมชนทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร และชมความระยิบระยับงดงามตระการตา ในยามค่ำคืนของแสงไฟตูมกานับหมื่นดวง

toomka yaso 2566 1

วันที่จัดงาน : 27-29 ตุลาคม 2566

สถานที่จัดงาน : ณ วัดบูรพาบ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและแข่งขันเรือยาว

จังหวัดสกลนคร งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง และแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ จัดขึ้นในช่วงออกพรรษา ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี มีการจัดการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ บริเวณหนองหาร และในตอนกลางคืนของวันขึ้น 13 ค่ำ ก่อนวันทำการแห่ขบวนปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มต่างๆ จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งสวยงามประดับโคมไฟหลากสีมาตั้งประกวดแข่งขันกัน เพื่อให้ประชาชนได้ชมความสวยงามอย่างใกล้ชิด

prasart pueng 2566

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนคร ถือเป็นประเพณีงานบุญสำคัญ และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสกลนคร ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งจะจัดขึ้นในช่วงเดือน 11 หรือช่วงออกพรรษา ในงานแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนคร ชาวบ้านจากทุกหมู่บ้านจะมีการจัดทำปราสาทซึ่งสร้างมาจากขี้ผึ้งเป็นส่วนประกอบหลัก จากนั้นจะมีการจัดขบวนแห่อย่างสวยงาม อันประกอบไปด้วยการแสดงพื้นบ้าน การแต่งกายพื้นเมือง การรำมวย หรือกระทั่งการฟ้อนภูไทย

จากนั้น ทุกขบวนแห่ปราสาทผึ้งของแต่ละหมู่บ้านจะนำปราสาทผึ้งไปทอดถวาย ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาเป็นเวลานานในภาคอีสาน แต่จะเป็นที่รู้จักมากและแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยมีจุดประสงค์ของประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกัน ระหว่างความเชื่อในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับ และการทำบุญใหญ่ในช่วงออกพรรษา ซึ่งเป็นงานบุญที่มีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่าจะได้รับอานิสงส์มาก

prasart pueng 2566 2

โดยในวันที่ 26-27  ตุลาคม 2566  จะมีพิธีเปิด/ปิดการแข่งขันเรือยาว ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ และในวันที่ 28 ตุลาคม 2566 มีพิธีปล่อยขบวนแห่ประสาทผึ้ง (ปราสาทผึ้งโบราณ / ปราสาทผึ้งประยุกต์/ ปราสาทสร้างสรรค์) ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 การประกวดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง การแสดงปราสาท  ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

วันที่จัดงาน : 23-29 ตุลาคม 2566

สถานที่จัดงาน : ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จังหวัดสกลนคร และวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)