foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

april festival header

เดือนห้า "เมษายน" ปีนี้คือสิซุ่มเย็นกันหลายอยู่ ย้อนหว่า "ประเพณีสงกรานต์" บ้านเฮาได้รับรองจาก UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัฒนธรรมไทยมาแล้ว ดังนี้:

  • ปี 2561 > “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand)
  • ปี 2562 > “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage)
  • ปี 2564 > “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand)

songkran 2024 01

การจัดงานประเพณีสงกรานต์ก็คงจะครึกครื้น คึกคักกันทั่วประเทศ มีข่าวออกมาว่าจะรดน้ำกันให้ฉ่ำเย็น ตั้งแต่วันที่ 1-21 เมษายน รวม 21 วัน (อุต๊ะ! ย้านสังคังขึ้นเด้หวา จริงๆ แล้วบ่แม่นพร้อมกันทั่วประเทศ 21 มื้อเด้อพี่น้อง จะมีการจัดกิจกรรมกระจายกันไปตามจังหวัดต่างๆ รอดูตารางที่ทางภาครัฐจะออกมาก่อน) แต่ที่แน่ๆ เทศกาลสงกรานต์จริงๆ ก็ยังเป็นวันที่ 13-14-15 เมษายน เหมือนเดิม (แต่ทางรัฐบาลประกาศให้หยุดเพิ่มจากวันที่ 12-16 เมษายน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว) สำหรับเทศกาลงานประเพณีในเดือนเมษายนปีนี้มีดังนี้

  • งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน 2567
  • สงกรานต์อีสานม่วนซื่น หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2567

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง

จังหวัดบุรีรัมย์ จัดงาน "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง" เป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนเมษายน ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยไฮไลท์สำคัญของงานคือ การชมพระอาทิตย์ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บานของปราสาทพนมรุ้ง ยามพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง โดยจะเกิดขึ้นแค่ 4 ครั้ง ในหนึ่งปีเท่านั้น

  • ครั้งที่ 1 พระอาทิตย์ขึ้น🌞 3 - 5 เมษายน 2567 และ 🌄พระอาทิตย์ตก🌄 5-7 มีนาคม 2567
  • ครั้งที่ 2 พระอาทิตย์ขึ้น🌞 8-10 กันยายน 2567 และ 🌄พระอาทิตย์ตก🌄 5-6-7 ตุลาคม 2567

phanom rung 2024

เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามรอยอารยธรรมขอม และเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน แสดงถึงเอกลักษณ์ทรงคุณค่าของท้องถิ่น และศิลปะวัฒนธรรมที่ต้องอนุรักษ์และสืบสานสู่อนุชนรุ่นหลัง บอกเล่าเรื่องราวของสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกของจังหวัดบุรีรัมย์ และมรดกของชาติ อันทรงคุณค่าอย่างน่าภูมิใจ สู่สายตานักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ

สำหรับปีนี้กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5 -7 เมษายน 2567 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกิจกรรมประกอบด้วย พิธีบวงสรวงมหาเทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิต ณ เขาพนมรุ้ง ขบวนอัญเชิญพระศิวะมหาเทพ ขบวนสัตว์พาหนะเทพผู้พิทักษ์ประจำทิศทั้ง 10 ทิศ ขบวนเสด็จพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี ขบวนแห่สักการะ “น้อมจิตบังคม พนมรุ้งนาฏการ” จากนางรำทั้ง 23 อำเภอ มากกว่า 500 คน ที่บรรจงแต่งกายด้วยชุดที่สวยงามร่วม(มีการแสดงทั้ง 3 วัน) ขบวนการแสดง พร้อมทั้งมีการแสดง แสง สี เสียง กิจกรรมโฮปบายดินเนอร์ ตลาดอารยธรรมวนัมรุง ผลิตภัณฑ์โอทอป ตลาดสินค้าโบราณของพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นของชาวจังหวัดบุรีรัมย์

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งประจำปี 2566

ช่วงเวลาจัดงาน : 5-7 เมษายน 2567
สถานที่จัดงาน : ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

เทศกาลสงกรานต์อีสาน

มหาสงกรานต์อุบลราชธานี ดอกไม้ สายน้ำ ฮางฮด รดน้ำ 5 พระแก้ว

songkran ubon 2567 01

เทศบาลนครอุบลราชธานี ขอเชิญเที่ยวงาน ”มหาสงกรานต์อุบลราชธานี ดอกไม้ สายน้ำ ฮางฮด รดน้ำ 5 พระแก้ว“ ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน 2567 ณ บริเวณหน้าศาลหลักเมือง ตามกำหนดการโดยสังเขป ดังนี้

วันที่ 12-16 เมษายน 2567

  • ชุ่มฉ่ำกับถนนดอกไม้และสายน้ำ
  • อิ่มอร่อย กับ เทศกาลอาหาร “อุบลแซ่บโพด”
  • และชมการแสดงดนตรีพื้นบ้านทุกวัน

วันที่ 12 เมษายน 2567

  • เวลา 09.00-14.00 น. การประกวดตบประทาย
  • เวลา 17.00 น. พิธีเปิดประเพณีสงกรานต์ ”มหาสงกรานต์อุบลราชธานี ดอกไม้ สายน้ำ ฮางฮด รดน้ำ 5 พระแก้ว“ ณ บริเวณหน้าศาลหลักเมือง

songkran ubon 2567 02

วันที่ 13 เมษายน 2567

  • เวลา 06.30 น. พิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์-สามเณร จำนวน 73 รูป
  • เวลา 08.30 น. พิธีอัญเชิญพระแก้ว 5 องค์ แห่รอบเมือง(เก่า)เพื่อให้สาธุชนสรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล ณ บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม
  • เวลา 18.00 น. ชมการประกวดเทพีสงกรานต์จำแลง อุบลราชธานี

วันที่ 14 เมษายน 2567

  • เวลา 08.00 น. พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ณ บริเวณศาลหลักเมืองร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ไทยและวันผู้สูงอายุแห่งชาติประจำปี 2567 สวมใส่ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง

วันเวลาจัดงาน : 12-16 เมษายน 2567

สถานที่จัดงาน : บริเวณหน้าศาลหลักเมือง ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

สงกรานต์แก่งสะพือ 2566

ตั้งแตมีการระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา เขื่อนปากมูล ก็เก็บกักน้ำในระดับที่ท่วมแก่งสะพือกันมาทุกปี ในปี 2566 ที่ผ่านมา ทางจังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่ดูแลเขื่อนปากมูล ได้ตกลงทำการปล่อยน้ำเพื่อลดระดับการเก็บกักลง ให้เห็นแก่งสะพืออีกครั้ง เป็นเวลา 9 วัน นับจากวันที่ 9-17 เมษายน

songkran kaeng sapue 2

ในปี พ.ศ. 2567 นี้ก็คงจะปฏิบัติตามแนวเดิม สำหรับการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ในอดีต แก่งสะพือ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี นักท่องเที่ยวจะพาครอบครัวมาเล่นสาดน้ำ และลงเล่นน้ำที่แก่งสะพือจำนวนหลายพันคน แต่เมื่อเกิดการระบาดของไวรัสวิด-19 ทำให้พ่อค้าแม่ค้าได้รับผลกระทบ เพราะหน่วยงานไม่สามารถจัดงานส่งเสริมประเพณีเล่นสาดน้ำสงกรานต์คลายร้อน เหมือนที่เคยจัดเป็นประจำได้ แต่ปีนี้เราได้เห็นแก่งสะพือที่ทำความสะอาดกำจัดตะไคร้น้ำ กันลื่น เพื่อให้สามารถเล่นน้ำสงกรานต์ได้อย่างที่เคยเป็นมา

ใครเคยมีความหลัง ณ ที่แห่งนี้ ก็พากันไปร่วมงาน "เทศกาลมหาสงกรานต์แก่งสะพือ" กันได้เลย ดำเนินการจัดงานโดยเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน บริเวณแก่งสะพือ  ซึ่งมีกิจกรรมมากมายทั้ง การประกวดเทพีสงกรานต์, การประกวดแต่งกายสวยงาม, การประกวดก่อเจดีย์ทราย, สรงน้ำพระรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุ, การแข่งขันบักขั่ง, การประกวดหนูน้อยคนเก่ง, การประกวดตำส้มตำลีลา, การแข่งขันเส็งกลองขนาดเล็ก/ขนาดใหญ่, การประกวดเดี่ยวพิณ เดี่ยวแคน, การแข่งขันประกอบอาหารพื้นถิ่น (หนังกบ), การแข่งขันกินซาลาเปา, การประกวด Miss Queen แก่งสะพือ  พาลูกหลานไปย้อนรอยความหลังสมัยพ่อ-แม่จีบกันใหม่ๆ ได้เลย มีอาหารอร่อยบริการ รวมทั้งของฝากมากมาย

songkran kaeng sapue 1

กำหนดการจัดงาน : 12-16 เมษายน 2567

สถานที่จัดงาน : ณ บริเวณลานแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

เทศกาลดอกคูนเสียงแคน และถนนข้าวเหนียว

จังหวัดขอนแก่น มีมติเห็นชอบจัดงานการเตรียมจัดงานประเพณีสุดยอด สงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูนเสียงแคน และถนนข้าวเหนียว ประจำปี 2567 ได้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 15 เมษายน 2567  โดยแบ่งการจัดงานเป็น 2  พื้นที่ คือ

  • พื้นที่บริเวณบึงแก่นนคร  ระหว่างวันที่ 8 – 15 เมษายน 2567    เป็นการจัดงานเกี่ยวกับการส่งเสริม วัฒนธรรมประเพณี การละเล่น การแสดงกิจความเป็นพื้นบ้านวิถีอีสาน  อีกทั้งเน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน   อาทิ  ประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูนเสียงแคน และถนนข้าวเหนียว ประจำปี 2567 พร้อมชมการแสดงคอนเสิร์ต การประกวด COVER DANCE การประกวดธิดาดอกคูนเสียงแคน พิธีอัญเชิญพระพุทธพระลับจากวัดหนองแวง พระอารามหลวง ไปยังวัดธาตุพระอารามหลวง  /การประกวดตบประทาย  ฟรีคอนเสิร์ตหมอลำ และการออกร้านจำหน่ายสินค้า ณ  บึงแก่นนคร
  • พื้นที่บริเวณศาลหลักเมืองขอนแก่น และถนนข้าวเหนียว (ถนนศรีจันทร์)  ระหว่างวันที่ 12 – 15 เมษายน 2567 ภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมประเพณีที่ร่วมสมัย แต่ยังคงความเป็นอีสานอยู่ด้วยการส่งเสริมทำนุบำรุงพระศาสนา วัฒนธรรมประเพณี   อาทิ  พิธีทำบุญตักบาตรวันสงกรานต์ สรงน้ำพระพุทธรูป  รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ กิจกรรมโฮมบุญโฮมญาติ ขบวนแห่พระพุทธพระลับ (พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น) และขบวนแห่สงกรานต์ จากวัดธาตุพระอารามหลวงไปยังศาลหลักเมือง เนรมิตพื้นที่บริเวณลานจอดรถศาลหลักเมือง ให้เป็น “เกาะวัฒนธรรม” โดยจะมีการประดิษฐานพระพุทธพระลับ พระพุทธอภัยมงคลสมังคี และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จาก 20 คุ้มวัดในเขตเมืองขอนแก่น  รำวงย้อนยุคของพี่น้องประชาชน 4 เขต 95 ชุมชน  กิจกรรมวันข้าวเหนียวครอบครัวเดียวกัน การเล่น Human Wave คลื่นมนุษย์ไร้แอลกอฮอล์   พร้อมสนุกสุดเหวี่ยงไปกับการแสดงคอนเสิร์ตที่เวทีต่างๆ ในถนนข้าวเหนียว   

นอกจากนี้ ยังมีงานสงกรานต์ในจังหวัดต่างๆ อีกมากมาย ที่เต็มไปด้วย "ถนนข้าว..." ในหลายๆ จังหวัด ก็ไปเที่ยวชมตามสถานที่ใกล้ๆ ได้เลยครับ

Songkran isan 2566

ตำนานสงกรานต์ที่น่ารู้ : ประเพณีสงกรานต์ที่ควรรู้ | ธง ธุง ทุง ตุง เครื่องประกอบพิธีกรรม | ฮีตเดือนห้า บุญฮดสรง

isan province

Free Free! บริการท่านด้วยความเต็มใจ

หากแฟนานุแฟนของเว็บไซต์อีสานบ้านเฮา มีข่าวสารการจัดงานบุญประเพณีในท้องถิ่นของท่าน อยากจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ก็แจ้งมายังทีมงานได้ครับ ผ่านทางอีเมล์ webmaster @ isangate.com หรือผ่านทาง Inbox ใน Fanpage Facebook : IsanGate ก็ได้เช่นเดียวกันครับ ขอรายละเอียด วันเวลา สถานที่จัดงาน กิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ ถ้ามีภาพประกอบด้วยก็จะดีเยี่ยมครับ (ภาพของงานปีก่อนๆ หรือการประชุมเตรียมงาน) บริการท่านฟรีๆ ครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)