คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของชาวอีสาน ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และความเชื่อทางศาสนาของชาวอีสานมาช้านาน โดยเชื่อว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลปักดำทำนา จะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาพญาแถนบนฟากฟ้า เพื่อขอให้พญาแถนซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "เทพแห่งฝน" ได้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้สรรพสิ่งบนผืนโลกได้ดำเนินวีถีชีวิตไปตามครรลองที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะผู้คนบนผืนดินอีสาน ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทำใร่ทำนามาช้านาน ต้องอาศัยข้าวและพืชผลทางการเกษตร ในการหล่อเลี้ยง ดำรงชีวิตมาโดยตลอด น้ำฝนจากฟ้าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ คืองานประเพณีแห่ และจุดบั้งไฟจึงถูก สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นความหวัง และกำลังใจ ของชาวอีสานมาโดยตลอด งานประเพณีบุญบั้งไฟจะจัดขึ้นเป็นประจำปีทุกปี ชมขบวนแห่บั้งไฟ และการจุดบั้งไฟแสน และบั้งไฟหมื่น ชมวิถีของคนทำบั้งไฟ และบรรยากาศการทำบั้งไฟ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดให้คงอยู่สืบไป
ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย
ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย
หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้ นั่นเอง
ภายในงานนักท่องเที่ยวจะได้พบกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟเอ้) การประกวดแห่กาพย์เซิ้งบั้งไฟ การสาธิตและร่วมการแกะลายบั้งไฟ การแสดงรถบั้งไฟโบราณ การประกวดเวทีกองเชียร์บั้งไฟ การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ การแสดงแสงสีสื่อผสม ตำนานพญาคันคาก (ตำนานบุญบั้งไฟยโสธร) ชมการเตรียมและฝึกซ้อมการรำของขบวนบั้งไฟของคุ้มวัดต่างๆ การจุดบั้งไฟปฐมฤกษ์และบั้งไฟเสี่ยงทาย การจุดโชว์บั้งไฟแฟนซี (บั้งไฟติดร่มมีควันสี) การแข่งขันบั้งไฟติดร่มแฟนซี และบั้งไฟขึ้นสูง และการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ "OTOP ของดียโสธร"
วันที่จัดงาน : 11 - 13 พฤษภาคม 2561
สถานที่จัดงาน : หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร, ลานวิมานพญาแถน (อาคารพญาคันคาก) และบริเวณสวนสาธารณะพญาแถน จังหวัดยโสธร
วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราว กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่
สำหรับพี่น้องชาวจังหวัดเลย จะมีงาน "นมัสการพระธาตุศรีสองรัก" จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหกของทุกปี มีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นสิริมงคล ให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง และทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล โดยพิธีกรรมเริ่มจาก พิธีทำบุญตักบาตร พิธีล้างธาตุ พิธีคาราวะธาตุ พิธีทำขวัญนาค พิธีบูชาธาตุ พิธีถวายต้นผึ้ง พิธีสรงน้ำ พิธีสู่ขวัญ พิธีเวียนเทียน จุดบั้งไฟ
วันที่จัดงาน : 29 พฤษภาคม 2561
สถานที่จัดงาน : ในทุกจังหวัดทั่วอีสานและประเทศไทย
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)