คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
หมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์ มีภูมิลำเนาอยู่ที่ บ้านหนองไม้ตาย ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้แต่งงานอยู่กินกับ กำนันคำดี บรรลุศิลป์ หมอลำจอมศรีเป็นหมอลำที่โดดเด่นไล่เลี่ยกันกับ หมอลำคูณ ถาวรพงษ์ และได้เดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อบันทึกแผ่นเสียงคู่กันให้กับ นาย ต. เง็กชวน เจ้าของห้างแผ่นเสียงตรากระต่าย เมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2483 เมื่อท่านบันทึกแผ่นเสียงในกรุงเทพฯ เสร็จเรียบร้อย ท่านพร้อมสามีได้ซื้อรถบรรทุก 6 ล้อกลับไปอุบลฯ ด้วย 1 คัน เพื่อรับจ้างบรรทุกของขนส่ง (แสดงให้เห็นว่าฐานะของท่านดีพอสมควร) แต่หลังจากนั้นไม่นานเกิดสงครามขึ้น (เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2) ทางการจึงได้มายึดรถบรรทุกของท่านไป ภายหลังสามีของท่านได้ไปเปิดร้านขายยา อยู่ในตลาดอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
หมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์ หมอลำหญิงเสียงดีของเมืองอุบลฯ สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นผู้ลำกลอนลำล่องของ (โขง) ด้วยทำนองลำยาวหรือลำล่อง (เอ๊ะทำไมพ้องกับคำว่า "Long" ของฝรั่ง? ซึ่งแปลว่า "ยาว")
“ลำยาว-ลำล่องโขง” ลำกลอนนี้มิใช่กลอนลำกลอนแรก ที่รังสรรค์ขึ้นโดยบรรพบุรุษชาวอีสาน เพื่อบรรยายสภาพทางภูมิศาสตร์ของสายน้ำโขง หากก่อนหน้านั้น “ลำล่องของ” ของ หมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์ ก็มีผู้กล่าวขวัญถึง ลำล่องหรือลำยาว เป็นการขับลำทำนองช้า เข้ากับเสียงแคนลายใหญ่ หรือลายเอ่ยน้อย มีระดับเสียงต่ำ ทำให้คนฟังเคลิบเคลิ้มคล้อยตาม เมื่อผสานกับถ้อยคำและเนื้อหาของบทกลอน บางคนถึงกับน้ำตาคลอด้วยออนซอน (ประทับใจ) ครวญคิดไปต่างๆ นานา คิดถึงอดีต ความรัก ความหลัง ความพลัดพราก อาลัยอาวรณ์
ด้วยประการฉะนี้ ลำล่อง หรือลำยาว จึงได้รับการวางตำแหน่งไว้สำหรับคั่น เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและเพื่อสร้างความประทับใจ ที่สำคัญ เมื่อหมอลำจะลาจากมิตรหมอแคนแฟนหมอลำ จะต้องใช้ลำล่อง หรือลำยาว เป็นการปิดฉากสั่งลา ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่า “ลำลา”
เหตุที่ได้ชื่อว่า “ลำล่อง” อาจเนื่องด้วยลีลาลำที่ลื่นไหล พรั่งพรู เหมือนการล่องตามกระแสน้ำ และเหตุที่ได้ชื่อ “ลำยาว” ก็อาจเนื่องเพราะเป็นลำที่มีความยาวอย่างยิ่ง ศิลปินลาว-อีสานเลือกใช้ “ลำยาว” หรือ “ลำทางยาว” ในการบรรยายเรื่องราวที่ต้องการให้รายละเอียดแก่ผู้ฟัง เช่น การบรรยายสภาพทางธรรมชาติ ประวัติบุคคล นิทานชาดก เป็นต้น เรียกว่าได้น้ำได้เนื้อและได้ “ม่วนซื่น” ไปพร้อมกัน
ลำล่องโขง - หมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์
หมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์ หมอลำหญิงเสียงดีของเมืองอุบลราชธานี สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นผู้ลำกลอนลำล่องของ (โขง) ด้วยทำนองลำยาวหรือลำล่อง ดังนี้
...โอนอ สิได้พรรณนาเรื่องลำโขงยาวย่าน
น้ำมันไหลมาจากเขาทิเบตใหญ่กว้างเหนือพุ้นล่วงลง
ฮ้อยคดฮ้อยโค้งลำโขงยาวย่าน
พอมาเหลียวเห็นก้ำเมืองหลวงพระบางแจ้งขางข่าย
เห็นแต่ภูเขาตั้งซ้ายล้ายเมืองนั้นอยู่กลาง
มันหากเป็นแบบนั้นตั้งแต่ก่อนปฐม
เป็นเมืองหลวงของลาวตั้งแต่คราวหลังพุ้น
เหิงนานล้ำหลายปีแถมถ่าย
จึงได้คึดค่อยย้ายเมืองก้ำเก่าหลัง
ลงมาตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่
คือเวียงจันทน์พันพร้าวคราวนั้นต่อมา...”
ลำล่องหรือลำยาว เป็นการขับลำทำนองช้า เข้ากับเสียงแคนลายใหญ่ หรือลายเอ่ยน้อย มีระดับเสียงต่ำ ทำให้คนฟังเคลิบเคลิ้มคล้อยตาม เมื่อผสานกับถ้อยคำและเนื้อหาของบทกลอน บางคนถึงกับน้ำตาคลอด้วยออนซอน (ประทับใจ) ครวญคิดไปต่างๆ นานา คิดถึงอดีต ความรัก ความหลัง ความพลัดพราก อาลัยอาวรณ์ ด้วยประการฉะนี้ ลำล่อง หรือลำยาว จึงได้รับการวางตำแหน่งไว้สำหรับคั่น เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและเพื่อสร้างความประทับใจ ที่สำคัญ เมื่อหมอลำจะลาจากมิตรหมอแคนแฟนหมอลำ จะต้องใช้ลำล่อง หรือลำยาว เป็นการปิดฉากสั่งลา ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่า “ลำลา”
เหตุที่ได้ชื่อว่า “ลำล่อง” อาจเนื่องด้วยลีลาลำที่รื่นไหล พรั่งพรูเหมือนการล่องตามกระแสน้ำ และเหตุที่ได้ชื่อ “ลำยาว” ก็อาจเนื่องเพราะเป็นลำที่มีความยาวอย่างยิ่ง ศิลปินลาว-อีสานเลือกใช้ “ลำยาว” หรือ “ลำทางยาว” ในการบรรยายเรื่องราวที่ต้องการให้รายละเอียดแก่ผู้ฟัง เช่น การบรรยายสภาพทางธรรมชาติ ประวัติบุคคล นิทานชาดก เป็นต้น เรียกว่าได้น้ำได้เนื้อและได้ “ม่วนซื่น” ไปพร้อมกัน (คำว่า ล่อง ในภาษาอีสาน กับ Long ภาษาอังกฤษ และ ยาว ในภาษาไทย ทำไมจึงพ้องคำและความหมายกันเช่นนี้)
จาก ลำล่องโขง หรือ ลำล่องของ แตกแขนงออกเป็น “ลำยาวล่องโขงในขวด” ของ หมอลำบุญเพ็ง ไฝผิวชัย และหมอลำแพงศรี แสนทวีสุข แล้วก็เป็น “ล่องขวาง” ของหมอลำมาลา สุดถนอม
จากลำล่อง-ลำยาว-ลำทางยาว-ลำลา ได้มีผู้สร้างจังหวะให้กระชับเข้า เพื่อสร้างความสนุกสนาน ตลกโปกฮา จึงกลายเป็นลาย หรือทำนองลำ เรียก “ลำเต้ย” หรือ “เต้ยโขง” และกลายเป็นลายแคน “ลายเต้ยโขง” (โน้ต : ล-ซ-มล-ซ-ดล-ซ-มล / ซม-ร-ดม-ร-ซม-ร-ดล-ด-รม-รด-ซล-ด-รม-รด-ซล)
หมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์ ท่านเสียชีวิตราวๆ ปี 2486 (ก่อนหมอลำคูณราวปีกว่าๆ) มีเรื่องเล่าพิศดารไว้ว่า พญาแถนจะจัดพิธีแต่งงานให้กับลูกสาว และประสงค์จัดให้จัดหมอลำสมโภชในงานด้วย จึงตามหมอลำจอมศรีมาพบ และถามว่าเคยลำกับใครบ้าง หมอลำจอมศรีตอบว่า "เคยลำกับหมอลำคูณ" ไม่นานหมอลำคูณก็ล้มป่วย และเสียชีวิตลงก่อนวัยอันควร เรื่องเล่านี้เป็นที่โจษจันกันทั่วภาคอีสานในสมัยนั้นเลยทีเดียว
ลำเว้าผู้สาว - หมอลำคูณ ถาวรพงษ์ และหมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)