คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
โหวด เดิมเป็นของเล่นของคนอีสาน ใช้แกว่งเล่นเหมือน "สนู" ต่อมาได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีของวงดนตรีพื้นเมือง ประเภทเครื่องเป่า สามารถเป่าหรือแกว่งให้เกิดเสียงดังได้
เครื่องดนตรีจากไม้ไผ่ แคน และ โหวด โหวด
โหวด เป็นชื่อเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ทำด้วยไม้ไผ่ (ชนิดหนึ่ง) แบบเดียวกับขลุ่ยแต่ประกอบด้วย ขลุ่ยต่างชนิดหลายเลาติดอยู่รอบแกน แต่ละเลาให้ระดับเสียงเพียง 1 ระดับ เวลาเป่าหรือแกว่งจะมีเสียงดัง "โหวดๆ" หรือ "หวูดๆ"
เดิมโหวดเป็นของเล่นของเด็กเลี้ยงควาย ชาวภาคอีสานทั่วๆ ไป ใช้เล่นในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ใช้เล่น 3 กรณี คือ
โหวดเสียงสวรรค์จากลำไผ่
คนโบราณมีความเชื่อว่า โหวด เกิดขึ้นมาหลายพันปีแล้ว ตามนิยายปรัมปราที่เล่าขานกันมา โหวดคนอีสานโบราณเชื่อกันว่า เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอให้ฝนหยุดตก ในที่นี้หมายถึงพระยาแถน ผู้ซึ่งประทานน้ำฝนให้ตกในเมืองมนุษย์ ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ความเสียหายกับผลิตผลได้ จึงเป็นผลให้ไม่เป็นที่นิยมเล่นโหวดในฤดูฝน (เพราะกลัวฝนแล้ง)
นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ หมอโหวดคนสำคัญ เป็นผู้คิดเอาโหวดประสมกับวงแคน ซุง และโปงลาง
การนำโหวดมาปรับปรุงใช้เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำขึ้นครั้งแรกโดยชาวอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด มี นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ เป็นหมอโหวดคนสำคัญ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) ปี พ.ศ. 2562) เป็นผู้คิดเอาโหวดประสมกับวงแคนและซุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511-2516 เรียกวงดนตรีชนิดนั้นว่า "วงโหวดเสียงทองหนองพอก" ต่อมาปี พ.ศ. 2517 จึงนำวงโปงลางเข้ามาประสมด้วย อันเป็นสาเหตุให้ต้องปรับปรุงมาตราเสียงของโหวดให้ตรงกับมาตราเสียงของโปงลาง คือมีระดับเสียงจากต่ำไปสูง จนแพร่หลายไปทั่วประเทศ และต่างประเทศจนถึงปัจจุบัน
การเรียนเป็นช่างทำโหวด จะเรียนรู้จากผู้รู้ โดยหลักการส่วนใหญ่ๆ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยต้องอาศัยทักษะความชำนาญ ความแม่นยำในการฟังระดับเสียง และคิดค้นรูปแบบใหม่ๆ เพื่อพัฒนาให้ทันสมัย
ประกอบด้วยไม้ไผ่เฮี้ยหรือไม้ไผ่รวก และขี้สูด (รังของแมลงจำพวกแมงน้อย แมงน้อยนี้ชอบทำรังตามจอมปลวกหรือตามโพรงไม้ รังของมันมีน้ำหวานปั้นเอาน้ำหวานออก เรียก ขี้สูดแมงน้อย แมงน้อยไม่มีเหล็กไน ต่อยคนไม่เป็น)
ได้แก่ มีดอีโต้ (สำหรับตัดลำไม้ไผ่) มีดตอก (สำหรับเจียน ตกแต่ง) ไม้สำหรับปรับระดับเสียง และน้ำมันก๊าด (สำหรับล้างทำความสะอาด)
ขั้นตอนการทำโหวด
ขนาดของโหวดแต่ดั้งเดิมนั้นนิยมทำกันอยู่ 3 ขนาด คือ 1) ขนาดเล็ก มีลูกโหวด 3-7 ลูก 2) โหวดกลาง มีลูกโหวด 9 ลูก 3) โหวดใหญ่ มีลูกโหวด 11-13 ลูก
ความยาวของลูกโหวดในแต่ละลูกนั้นจะสั้นยาวแตกต่างกัน ลูกที่ยาวที่สุดประมาณ 25 เซนติเมตร ลูกต่อมายาวลดหลั่นกันลงมา จนถึงลูกที่สั้นที่สุด ประมาณ 6 เซนติเมตร คนโบราณเรียกลูกโหวดลูกที่ยาวที่สุดว่า "ลูกโอ้" ลูกที่เหลือไม่ปรากฎชื่อ ในปัจจุบันจะเรียกชื่อลูกโหวดตามระดับเสียงโน้ตสากล คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
โหวดพื้นเมืองมี 5 บันไดเสียง คือ โด เร ฟา ซอล ลา แต่ในปัจจุบันมีการปรับระดับเสียงให้ครบทั้ง 7 เสียง เพื่อให้สามารถนำไปบรรเลงประกอบวงดนตรีสากลได้ ทางดนตรีหรือลายโหวดประกอบการแสดงส่วนมากเป็นลายที่แต่งขึ้นใหม่ โดยอาศัยทำนองจากลายแคน จากทำนองหมอลำ จากทำนองสรภัญญะบ้าง
โหวดมี 3 ประเภท คือ
สอนการเป่าโหวด
สอนการเป่าโหวด ลายเต้ยโขง โดย อ.สิงห์เฒ่า ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)