คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
หมอสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางไปสอนศาสนาในเมืองจีน ได้พบว่า คนจีนได้เอาดนตรีแคนของไทยไปเลียนแบบทำเป็นดนตรีของจีน และเมื่อหมอสอนศาสนาเหล่านั้นกลับไปยุโรป ก็ได้เอาแบบฉบับของแคนไปปรับปรุงให้เป็นออร์แกนในเวลาต่อมา
ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยผู้หนึ่ง ท่านได้เขียนเล่าประวัติเครื่องดนตรีไทยว่า "เมื่อตอนที่ผมอยู่นิวยอร์คนั้น ผมได้พบกับศาสตราจารย์ผู้หนึ่ง ซึ่งสนใจในการค้นคว้าเรื่องประวัติดนตรีมาก เขาบอกว่า ได้พบเครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลกแล้ว มีลักษณะเป็นกระบอกไม้ไผ่หลาย กระบอก เอามาผูกมัดเรียงกันเข้าไป ในแต่ละกระบอกมีลิ้นโลหะ
ถ้าเป่าลมเข้าไปในกระบอก ให้ลมผ่านลิ้นนี้แล้วจะเกิดเป็นเสียงดนตรีขึ้น เขาว่าได้พบและเชื่อแน่ว่า เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นดนตรีโบราณที่สุด แล้วเขาก็พยายามจินตนาการวาดรูปมาหลายรูปตามที่คาดคิดว่า ของจริงคงจะมีรูปร่างลักษณะอย่างนั้น ผมดูแล้วขำแทบตาย เพราะรูปร่างที่เขาวาดนั้นพิลึกกึกกือ มิใช่น้อย เลยบอกเขาไปว่าอย่าเสียเวลาเลยจะดูให้เห็นของจริงๆ เครื่องดนตรีชนิดนี้เขาเรียกว่า "แคน" ถ้าอยากเห็นก็ไปเมืองไทยเถอะ จะเอาสักกี่ร้อยกี่พันก็ยังได้"
จากบันทึกที่ท่านศาตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ได้บันทึกไว้นี้ ผนวกเข้ากับนิทานปรัมปราที่กล่าวมาแล้ว ทำให้มีความเชื่อได้สนิทใจว่า "แคน" คือ เครื่องดนตรีโบราณของไทย ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอ้ายลาว ในยุคน่านเจ้า เพราะว่าได้มีการค้นพบเครื่องดนตรีชนิดนี้ในแถบ มณฑลยูนาน และยังเชื่อกันว่า แคนเป็นเครื่องดนตรีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 2 พันปีขึ้นไป และที่ว่าแคน เป็นเครื่องดนตรียุคน่านเจ้า แท้ที่จริงแล้วอาจจะมีก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำไป ดังนั้นจึงน่าจะมีเหตุผล เพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า แคน คือ เครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลก
สำหรับชาวอีสานแล้ว ตั้งแต่เกิดมาก็ได้เห็นแคน และได้ยินเสียงอันไพเราะดั่งนกการเวก ด้วยท่วงทำนองที่หลากหลายมานานแล้ว จนได้ชื่อว่า เป็นเมืองหมอแคน แดนหมอลำ แน่แท้ นั่นเอง
แคน เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะมาก การเป่าแคนใช้มือทั้งสองข้าง บังคับเสียงทำ ให้เสียงแคนที่ออกมานั้น มีทั้งทำนองเพลง เสียงประสาน เสียงสอดแทรก แสดงถึงอารมณ์ และ ความรู้สึกต่างๆ อย่างพร้อมมูลทีเดียว มีความสมบูรณ์ขนาดที่ว่า ถ้าใช้เครื่องดนตรีอื่นๆ บรรเลง ก็ต้องใช้หลายเครื่องทีเดียว แต่แคนเพียงเต้าเดียวก็สามารถทำได้ ยิ่งถ้าได้นักเป่าแคนที่มีความ สามารถ มีความชำนิชำนาญ สามารถเป่าท่วงทำนองต่างๆ ซึ่งตามภาษาพื้นบ้านอีสานเรียกว่า "ลายแคน" ก็ยิ่งจะเพิ่มความไพเราะ ซาบซึ้งจับใจมากยิ่งขึ้น จนยากที่จะหาเครื่องดนตรีอื่นๆ มาเทียบได้
แคน เป็นเครื่องดนตรีสำคัญของชาวอีสาน ทำจากไม้กู่แคน แคนหนึ่งอันเรียกว่า แคนหนึ่งเต้า มีส่วนประกอบของแคน มีดังนี้
ทีวีชุมชน - คุณแคน
วิถีไทย ตอน วิถีคนทำแคน
การประกอบส่วนต่าง ๆ ให้เป็นแคน เริ่มจากเมื่อเตรียมลูกแคน และเต้าแคนเรียบร้อยแล้ว นำลูกแคนทั้งหมดสอดเข้าไปในเต้าแคนตามลำดับ เป็นคู่กัน
คู่ที่หนึ่ง ด้านซ้ายเรียกว่า โป้ซ้าย ด้านขวา เรียกว่า โป้ขวา
คู่ที่สอง ด้านซ้ายเรียกว่า แม่เวียงใหญ่ ด้านขวา เรียกว่า แม่เซ
คู่ที่สาม ด้านซ้ายเรียกว่า แม่แก่ ด้านขวา เรียกว่า สะแนน
คู่ที่สี่ ด้านซ้ายเรียกว่า แม่ก้อยขวา ด้านขวาเรียกว่า ฮับทุ่ง
คู่ที่ห้า ด้านซ้ายเรียกว่า แม่ก้อยซ้าย ด้านขวาเรียกว่า ลูกเวียง
คู่ที่หก ด้านซ้ายเรียกว่าสะแนนน้อย ด้านขวาเรียกว่า แก่นน้อย
คู่ที่เจ็ด ด้านซ้ายเรียกว่า เสพซ้าย ด้านขวาเรียกว่า เสพขวา
การแบ่งประเภทของแคน อาจแบ่งตามขนาด หรือแบ่งตามลักษณะการบรรเลงก็ได้ การแบ่งตามขนาดแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
แบ่งตามการบรรเลงแคนปัจจุบันมี 3 ลักษณะ คือ ประเภทแคนเดี่ยว ประเภทแคนวง และประเภทแคนวงประยุกต์
การเก็บรักษาแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ทำจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น วัสดุที่ใช้ประกอบแคนค่อนข้างบอบบาง มีโอกาสชำรุดเสียหายได้ง่าย แคนจะอยู่ในสภาพดี หากเจ้าของเป่าเสมอต้นเสมอปลาย ปริมาณลมเข้าออกเท่าๆ กันทำให้ปลายลิ้นแคนไม่โก่ง การเก็บรักษาแคนควรเก็บไว้ในกล่องที่แข็งแรง หรืออาจเก็บไว้ในถุงผ้าที่ปิดได้สนิท กันแดด และฝุ่นได้ ไม่ควรเอาแคนไปจุ่มน้ำเพื่อทำความสะอาด ลิ้นแคนจะเป็นสนิมได้ ควรใช้ผ้าสะอาดที่แห้งปัดฝุ่นหรือเช็ดลิ้น
ความไพเราะและอิทธิพลของเสียงแคนมีมากเพียงใดนั้น สามารถดูได้จากประเพณีการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานที่มีเครื่องดนตรี "แคน" มาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมทั้งจากนิทานพื้นบ้านต่างๆ ก็ได้กล่าวถึงมนต์เสียงแคนอยู่เช่นเดียวกัน
(เรื่องย่อ) ท้าวก่ำ มีรูปร่างอัปลักษณ์ เป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป แม้กระทั่ง มารดาของตนก็เกลียดชัง จึงเอาไปลอยแพล่องน้ำ พระอินทร์บนสวรรค์มีความสงสาร จึงเนรมิตส่งกาดำลงมาเป็นแม่นม คอยเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ท้าวก่ำจึงได้รับการขนานนามว่า "ท้าวก่ำกาดำ" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อท้าวก่ำกาดำเติบโตขึ้น ก็ได้อาศัยอยู่กับย่าจำนวน คนเฝ้าสวนของกษัตริย์ วันหนึ่ง ธิดาทั้งเจ็ดของกษัตริย์มาเที่ยวชมสวน ท้าวก่ำกาดำแอบดูนางทั้งเจ็ด แล้วเกิดผูกสมัครรักใคร่ นางลุน ธิดาคนสุดท้อง
ท้าวก่ำกาดำ มีความสามารถพิเศษในการร้อยดอกไม้ และเป่าแคน จึงได้ร้อยมาลัยดอกไม้เป็นสื่อความในใจ แล้วมอบให้ย่าจำนวนนำไปถวายนางลุน พอถึงเวลากลางคืน ก็เป่าแคนไปเที่ยวในเมือง เสียงแคนอันแสนไพเราะของท้าวก่ำกาดำ ในเวลากลางคืนที่เงียบสงัดนั้น ลอยลมไปไกล จนกษัตริย์และนางลุนได้ยินทุกคืน ด้วยเสียงแคนอันไพเราะนี้ กษัตริย์จึงได้รับสั่งให้ท้าวก่ำกาดำเข้าเฝ้า เพื่อถวายการเป่าแคน ท้าวก่ำกาดำมีความภูมิใจมาก ได้ตั้งใจเป่าแคนอย่างสุดฝีมือ เป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์และนางลุน ซึ่งเป็นอานิสงฆ์ส่งให้ท้าวก่ำกาดำพ้นเคราะห์ กาดำได้ชุบร่างขึ้นใหม่ให้เป็นชายรูปร่างงดงาม และในที่สุดก็ได้นางลุนมาเป็นคู่ชีวิตสมดังปรารถนา
เพื่อให้เห็นจริงเห็นจังถึงความไพเราะของเสียงแคน ที่ท้าวก่ำกาดำได้เป่าถวายกษัตริย์และนางลุนฟัง จึงขอนำคำกลอนลำอีสาน ที่ได้พรรณนาถึงความไพเราะของเสียงแคนมาบันทึกไว้ ดังนี้
ท้าวก็เป่า จ้อย จ้อย อ้อยอิ่ง กินนะรี บุญมี เลยเป่าแถลง ดังก้อง
เสียงแคนดังม่วนแม่ง พอล่มหลูด ตายไปนั้น ท้าวก็เป่า จ้อย จ้อย คือเสียงเสพ เมืองสวรรค์
ปรากฏดัง ม่วนก้อง ในเมือง อ้อยอิ่น เป็นที่ใจ ม่วนดิ้น ดอมท้าว เป่าแคน
สาว ฮามน้อย วางหลามาเบิ่ง เขาก็ปบ ฝั่งฟ้าว ตีนต้อง ถืกตอ
บางผ่อง ป๋าหลาไว้ วางไป ทั้งแล่นก็มี บางผ่อง เสื้อผ้าหลุด ออกซ้ำ เลยเต้นแล่นไปก็มี
ฝูงคนเฒ่า เหงานอน หายส่วง สาวแม่ฮ่าง คะนิงโอ้ อ่าวผัว
ฝูงพ่อฮ่าง คิดฮ่ำ คะนิงเมีย เหลือทน ทุกข์อยู่ ผู้เดียว นอนแล้ง
เป็นที่ อัศจรรย์แท้ เสียงแคน ท้าวก่ำ ไผได้ฟัง ม่วนแม่ง ใจสล่าง หว่างเว
ฝูง (คน) กินเข่า คาคอ ค้างอยู่ ฝูง (คน) อาบน้ำป๋าผ่า แล่นมา.... (นั่นละนา)
ลายสุดสะแนน - อ.บัวชัยศิลป์ แก้วแสนไชย
นี้คือความไพเราะของเสียงแคน ที่ปรากฏในวรรณคดีพื้นบ้านภาคอีสาน ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องแต่งที่มีคติธรรมสอนใจ ให้เกิดคุณธรรม คุณงามความดี โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นจริงเท่าใดนัก แต่ถ้าหากพิเคราะห์ให้ดีแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า "เสียงแคน" นั้นยังมีมนต์ขลังอยู่เสมอ และขอจบบทนี้ด้วย กลอนลำกำเนิดของแคนด้วยครับ
แคนนี้เป็นของเลิศล้ำเก่าแก่ แต่เดิมมา มื้อหนึ่งมีพระราชาเข้า ดงดอนนอนอยู่ในป่า กับทั้งอำมาตย์ไท้ พวกหมู่มนตรี ฝูงหมู่กวางฟานเม่น เห็นพระองค์โยงพ่าย แม่งหนึ่งไปฮอดเกี้ย ตีนตาดผาสูง เป็นขัวนัวคือเกี้ยว เขียมอารมณ์เป็นร่ม พระองค์เลยสะมิ่ง ง่วงเหง่าเหงานอน ฝูงหมู่เสนาเหง้า มนตรีน้อยใหญ แต่นั้น พระหนึ่งต้น ตนผ่านพารา ฟังยินเสียงกอย ๆ ร้องแกว ๆ กรวีก พ้อมด้วยเสียงนกเอี้ยง เฮียงฮ้องออหอ สัมมะปิเสียงห้าว วาวโวแววโว ฟังแล้วเลยสะม้อย อ้อยอิ่นในพระทัย ยินเสียงลมสะแวงต้อง นอนนันกรวีก พระองค์คิดแม่นแม่ง มักใคร่ในเสียง จึงได้หันตัดต้าน ถามขุนข้ามหาด ไผจักตกแต่งตั้ง ทำสิ่งเป็นเสียงได้นอ? เฮ็ดให้เป็นของใช้ ดนตรีสีเป่า ยังมีอำมาตย์ชั้น กวีเอกสาขา สองก็วางคำมั่น สัญญาเด็ดขาด พระองค็ก็พาไพร่โค้ง คืนสู่งกรุงสี มีสนมนั่งเฝ้า เรียงปางข้างเสิ่อ บัดนี้ จักกล่าวอำมาตย์เค้า ผู้รับอาสา คิดจนใจหลายมื้อ บ่มีหวนเห็นหุ่ง ลาวก็เข้าป่าไม้ ดงด่านอรัญญา แม่ง หนึ่งถึงแดนห้วย สวยลวยกล้วยป่า ได้ยินน้ำสะท้าน โตนตาดเสียงดัง ยินสะออนฝูงกะเบื้อ บินเฟือแคมฝั่ง พักหนึ่งลมล่วงเท้า อ้ออ่อนแคมชล เลยสะออนใจเฒ่า เหงาไปเซือบหนึ่ง แต่นั้นลมพัดป้าน อ้ออ่อนปลายกุด ผ่องก็แจง ๆ แจ้ แวแววโว่หว่อ อีกประสบครั้งนั้น วันบ่ายพอดี นกเขาทอง เขาตู้ คูขันก้องสนั่น ลาวก็สะส่วยหน้า ลุกนั่งฟังเสียง เสียงตอยาวตอสั้น ปนกันน้อยใหญ่ ่ เฒ่าเลยคิดซวาดรู้ วิธีแต่งดนตรี เดี๋ยวหนึงวันมัวค้อย ทดทะสูงแสงต่ำ เลยเล่าหายเหตุร้อน นอนพ่างภรรยา นกกาเวามันร้อง จองหองขายกอก ตัดเอาต้นไม้อ้อ สามคู่พอดี บ่อนหว่างทางกลางนั้น เจาะลงเป็นปล่อง เมื่อนั้นเฒ่าก็หาเอาไม้ มาทำเต้าเป่า พอเมื่อเฒ่าสร้างแล้ว ก็ลองเป่าฟังเสียง ทังแลนแจน ลันแจ้ อยากคือ เสียงกรวีก พอคิดแล้วเท่านั้น ตนพ่อเสนา เอาดนตรีให้ถวาย ภูวนัยดั่งว่า เฒ่าเลยนั่งตะแพยคู้ แล้งเป่าเอาถวาย เสียงดนตรีดั่งได้ แกว ๆ ก้อง แก้วก่อ พระราชาทรงตรัส " ใช้แคนแด่" เดี้ย ให้ท่านทำดีขึ้น ทูลถวายรายใหม่ ในกาลครั้งนั้น คุณพ่อเสนา ลาวจึงเพียรแปงสร้าง วางแปลนรูปใหม่ เฮ็ดไปถวายเทื่อนี้ 7 คู่ พอดี เพราะมันมีเสียงแก้ว แกว ๆ แจ้วแน่นแน่ ขุนก็ทำอีกครั้ง เป็นเทื่อที่สาม มีเสียงทองเสียงห้าว วาวแววแจ้วลั่นจั่น ลูกมันมีหมดเกลี้ยง 8 คู่งามขำ ทรงกระหายหัวย่าม เห็นงามแย้มพระโอษฐ์ มันได้มีแต่พุ้น สืบต่อกันมา คันบ่มีคำเว้า แคนไคไกลมอ อีกอย่างหนึ่ง ย่อน ดนตรีประเภทนี้ พาสว่างความอุก ชื่อว่าแคน แคน แล้ว หมดทั้งมวลมีแต่หม่วน |
แต่ครั้งศาสนาพระวิปัดสีเจ้า เที่ยวหาเซ็ดเนื้อในด้าวด่านไพร จรลีไปถึงเขตขวางเขากว้าง จนเวลาเที่ยงค้ายหายจ้อยเครื่องเสวย มีหมู่ยูงยางดกดู่แดงดวงดั้ว ลมพัดมาฮ่าว ๆ เย็นจ้าวหน่วงตึง อรชรลมโรย ล่วงโชยมาเต้า พร้อมอาศัยที่นั้นในฮั่นสู่คน เลยนิทรานอนหลับเซือบไปคราวน้อย จับอยู่เทิงหง่าไม้ไฮฮ้องส่งเสียง เสียง ออ ๆ อีๆ วี่แววแจวจี้ มีทั้งโอ่และโอ้ โออ้อยอิ่นออย ภูวไนยนอนหลับตื่นมาฟังแจ้ง เลยกระสันสว่างเศร้า เบาเนื้อห่างแคน ในสำเนียงของนก ที่บรรเลงนั้น พร้อมประกาศบอกชี้เชิญมิ่งช่วยฟัง ให้คือสำเนียงนกเป่าฟัง กันได้ เฮาพระองค์สิให้สินจ้างค่าพัน เข้ารับบัญชาทำถวาย ดั่งใจจงอ้าง ในโอกาสครั้งนั้น ตะเว็นส้วยอ่อนลง จรลีถึงเมืองนั่งปองเป็นเจ้า พระองค์กะยังอ่าวเอื้อเสียงนั้นอยู่บ่เซา หาตรึกตรองปัญญาท่าใดสิทำได้ เลยมุ่งออกจากฮ่องเฮือนย่าวห่าวไป เดินดุ่งคาคาวไกล เมื่อยแคนคาวแค้น มีสาขาหน่ออ้อ ซ่อซ้องทั่วดาน อยู่ในวัง มีแต่ปูปลาหอย ล่องลอยชมก้อน เฒ่าก็นั่งจ้อก้อ ลงหั่นเมื่อยเซา ปานคนกินสุราท่าเมาเยาย้อน ใจคนึงบ่แล้ว วิธีสร้างแต่งการ เสียงมันดัง วี วุด วู่ แวว แอว แอ้ เป็นเพราะปล้องไม้อ้อ ยาวสั้น บ่าข่ากัน ฝูงแมงอีกาเลน เผ่นบินมาฮ้อง ฝ่ายอำมาตย์ผู้นั้น นอนแล้วตื่นมา ฟังสำเนียงลมพัด เป่าตอลำอ้อ ทั้งเรไรต่างเชื้อ ประสมเข้าม่วนหู ตามดั่งองค์ภูมี มอบหมายมานั้น ลาวจึงไต่ต้าว คืนเข้าสู่นคร จนเวลาสูนสาง สว่างมายามเช้า ลาวก็ชอกได้พร้า ประดาเข้าสู่ไพร ทั้งเหลา ซี แทง เลาะ ข้อเสียงหมดเกลี้ยง เจาะรูแพงส่องแล้ว เลยเหน็บลิ้นตื่มแถม เฮ็ดคือนมผู้เฒ่า เป็นเป้าอยู่กลาง มีสำเนียง ออแอ วี่แวแววแว คันว่าแม่น ผิด ก็มีเสียงเล็กน้อยพอสิได้ค่าพัน เลยไววาเมือฮอด โฮงพระยาเจ้า ทางมหาราชเจ้า จึงจำเฒ่าเป่าดู ทำท่าไกวหัว หาง ย่างจำเอา ไว่ ๆ เอาบ่น้อ สำนี้ พระองค์เจ้าว่าจั่งใด๋ ขุนเจ้ายังปุนแปงเฮ็ดเกิดเป็นปานนี้ เฮาก็ยังสิให้สินจ้างค่าพัน ก็จึงอำลา คืนคอบเฮือน เร็วฟ้าว ประดิษฐ์ใหญ่ขึ้นหน้า จะแจ้งยิ่งทว องค์พระภูมี ตรัสว่า "แคน ๆ" แล้ว เฮ็ดมาถวายอีกแม้ ให้ดีกว่าเทื่อหลัง มีทั้งงาม จบดี ครบ กระบวน ควรย่อง เสี้ยงทุ้มยู้ก็พ่องนั้น หันขึ้นวึ่นเสียง ขุนเมือง นำเมื่อถวาย ทอดพระกรรวันท้าย โปรดว่า "แคนแท้แล้ว" คราวนี้ท่านขุน ย่อนว่าราชาตรัส ว่า "แคนแคน แล้ว" ก็แม่นกรวีกร้อง ของแท้อีหลี พาให้หายความทุกข์ ยากแคนแสนแค้น เพิ่นจึงม้วนใส่หั่น คำนั้นว่า "แคน" …………… |
……… จากบทความ หนังสือสูจิบัตร งานอนุรักษ์ส่งเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแคน
การประกวดเป่าแคนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ปี 2541 |
สารคดี สีสันมหรสพ : แคนข้ามโขงสัมพันธ์ไทยลาว
ประวัติความเป็นมาของแคน | แคนเครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลก | แคนที่กล่าวถึงในพงศาวดาร | ทำนองแคน หรือลายแคน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)