คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
หลาม เป็นการทำอาหารให้สุกโดยใช้อุปกรณ์คือ กระบอกไม้ไผ่ ส่วนประกอบหลักได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลาไหล เครื่องในสัตว์ เป็นต้น เครื่องปรุงน้ำพริกคล้ายกับแกง ไม่นิยมใส่ผัก ใส่น้ำเปล่า เล็กน้อย ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า เกลือ และน้ำปลา แต่งกลิ่นด้วยผักอีตู่ (แมงลัก) ผักขา (ชะอม) ผักแขยง เป็นต้น ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน บรรจุในกระบอกไม้ไผ่สด นำไปเผาไฟให้สุก จะมีกลิ่นหอม รับประทานกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยนักแล
นอกจากนี้ มีการนำข้าวเหนียวใหม่ผสมกับน้ำกระทิ น้ำตาล เกลือเล็กน้อย บรรจุลงใน กระบอกไม้ไผ่ยอดอ่อน นำไปเผาไฟจะได้ ข้าวหลาม ซึ่งนิยมทำรับประทานกันมากหลังฤดูเก็บ เกี่ยวข้าวหรือโอกาสพิเศษต่างๆ
หมก เป็นการปรุงอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำหมก ได้แก่ ปลาซิว (ปลาเล็กปลาน้อย) ฮวกกบ (ลูกอ๊อด) ปลาชนิดต่างๆ เขียดน้อย กบ ไก่ เป็นต้น หมก บางชนิดใส่หน่อไม้สด ต้มขูดฝอยเป็นหลัก อาจใส่เนื้อสัตว์เล็กน้อยหรือไม่ใส่ก็ได้ ส่วนผสมน้ำพริก หมกได้แก่ พริกสด หัวหอม ตะไคร้ โขลกละเอียด ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า เกลือ น้ำปลา ผสมทั้งหมด ให้เข้ากัน ตักใส่ใบตอง ห่อและกลัดด้วยไม้กลัด นำไปนึ่งหรือปิ้งไฟให้สุก หรืออาจนำส่วนผสมใส่ ลงในหม้อปิดฝา ตั้งไฟอ่อนๆ ก็ได้
ผักที่นิยมใส่หมกได้แก่ หน่อไม้ขูด หรือหัวปลีหั่นฝอยก็ได้ (โดยเฉพาะหมกไก่ จะใส่หัวปลีหั่นฝอย) ผักแต่งกลิ่นจะใช้ผักอีตู่ (ใบแมงลัก) รสชาติที่ได้รับจะเกิดจากความสามารถของผู้ปรุงโดยตรง ในการคาดคะเนปริมาณเครื่องปรุงให้พอเหมาะ เพื่อไม่ให้มีรสเผ็ด เค็มเกินไป
อ่อม (แกงอ่อม) เป็นการปรุงอาหารที่มีเนื้อสัตว์และผักหลายชนิดเป็นส่วนประกอบหลัก เครื่องปรุงประกอบด้วย
วิธีการทำ นำเครื่องปรุงน้ำพริกละลายน้ำเล็กน้อย ตั้งไฟให้เดือด จึงใส่เนื้อสัตว์และผักต่างๆ ลงไป เมื่อเนื้อสัตว์และผักสุกปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ไม่ปรุงรสเปรี้ยวและหวาน จะมีลักษณะ คล้ายแกงเลียงภาคกลาง
บางครอบครัวนิยมใส่ข้าวคั่วหรือข้าวเบือ (ข้าวสารเหนียวแช่น้ำโขลกให้ละเอียด) การใส่ข้าวคั่วจะใส่เมื่อปรุงรสและผักสุกได้ที่แล้ว ใส่ข้าวคั่วแล้วจึงยกลง ส่วนข้าวเบือจะใส่ไปพร้อมเครื่องปรุง น้ำพริก ขณะละลายน้ำตั้งไฟปรุงและคนให้เดือดสม่ำเสมอ
อ๋อ/อู๋ เรียกชื่อต่างกันตามท้องถิ่น แต่วิธีการปรุงเหมือนกัน อ๋อ/อู๋ มีลักษณะคล้ายอ่อม แต่น้ำน้อยกว่า กล่าวคือ การอ๋อ หรือ อู๋ นิยมทำกับพุงปลา ไข่ปลา ปลาตัวเล็ก หรือเครื่องในสัตว์ เป็นต้น วิธีการทำให้นำพุงปลา ไข่ปลา หรืออื่นๆ ใส่หม้อ ผสมเครื่องปรุงน้ำพริก (คล้ายอ่อม) และ น้ำปลาร้า อาจใส่ผักที่ให้รสเปรี้ยวเช่น ใบมะขามอ่อน ใบติ้ว นำเครื่องปรุงที่ผสมแล้วทั้งหมดยกขึ้น ตั้งไฟ ปิดฝาให้เครื่องปรุงสุก แต่งกลิ่นด้วยใบอีตู่เช่นเคย
อ๋อ/อู๋ นอกจากใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลักแล้ว อาจใช้ผัก เช่น หน่อไม้ต้มขูดฝอย สำหรับอ๋อ/อู๋ เป็นส่วนประกอบหลักแทนเรียกว่า อู๋หน่อไม้ หากจะเพิ่มปลาเนื้ออ่อนและน้ำกระทิ บ้างเล็กน้อย จะทำให้อู๋หน่อไม้มีรสชาติที่อร่อยสุดแสนทีเดียว
วัตถุดิบที่ใช้ปรุงได้แก่
|
ทำให้สุกโดยวิธีต้ม
อ๋อ/อู๋ |
โดยวิธีนึ่ง ปิ้ง ต้ม
หมก |
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)