คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
น้องเป็นสาวขอนแก่น ยังบ่เคยมีแฟน บ้านอยู่แดนอีสาน... น้องเป็นสาววัยอ่อน ได้แต่นอนตะแคง ยามเมื่อแลงฝันหวาน... จะมีชายใด ไผเดต้องการ จะมีชายใด ไผเดต้องการ... หมายปองน้องนั่น แม้ต้องการ จะคอย"
เพลง "สาวอีสานรอรัก" ที่ขับร้องโดย อรอุมา สิงห์ศิริ ดังกระหึ่มทั่วบ้านทั่วเมือง จากนามปากกาของนักประพันธ์เพลงที่ชื่อ สุทุม ไผ่ริมบึง ทำให้มีการถามหาว่า คนแต่งเป็นไผ คือบ่เคยได้ยินชื่อมาก่อนนะ วันนี้จะพาท่านมารู้จักกับผู้อยู่เบื้องหลังเพลงดังและสร้างนักร้องอีสานมากมายหลายคนให้มีชื่อเสียง
สุมทุม ไผ่ริมบึง หรือ "กัวราซ่า" นับเป็นอาจารย์ใหญ่อีกท่านหนึ่งของวงการเพลงลูกทุ่งหมอลำอีสาน ประพันธ์เพลงดังมากมาย ชื่อและนามสกุลจริงคือ นายแสนคม พลโยธา เกิดเมื่อวันที่่ 15 เมษายน พุทธศักราช 2492 เกิดที่บ้านหนองบะ ตำบลโคกสง่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรคนที่่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของคุณพ่อที พลโยธา และคุณแม่พุฒ พลโยธา ทางครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นชาวนา จบชั้นประถมที่บ้านเกิด เข้ากรุงเทพฯ มาหางานทำและเรียนเทียบจนสอบได้วุฒิระดับ ม.ศ.3 ที่ โรงเรียนวัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
ปีพุทธศักราช 2516-2517 ไปทำงานรับจ้างขับรถให้้ฝรั่งในค่าย KM6 ที่่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วงเหตุุการณ์์ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2516 เป็นการเริ่มต้นชีวิตศิลปะครั้งแรกที่่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ขณะที่ทำงานในประเทศลาว สุมทุม ไผ่ริมบึง ได้ไปฉายแววศิลปินให้ พลโทแพงสี พนาเพชร นายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ค่ายโพนเค็ง นครหลวงเวียงจันทน์ ได้เห็น ก็เลยให้การสนับสนุนให้เป็นนักร้อง ได้บันทึกเสียงเพลง คณะผัวเผลอ กับเพลง เสน่ห์สาวโต้รุ่ง ร้องเอง/แต่งเองกลายเป็นเพลงฮิตที่ประเทศลาว โดยใช้ชื่อนักร้องว่า "กัวราซ่า" จากนั้นก็ได้สร้างงานเพลงต่อเนื่องมาอีกหลายเพลง จนเดินทางกลับมาอยู่เมืองไทย ก็ได้ก้าวเข้าสู่วงการเต็มตัวในฐานะคนเขียนเพลง มากกว่าบทบาทของคนร้องเพลงที่เคยทำ
ผลงานเพลงสร้างชื่อเพลงแรก "สาวอีสานรอรัก" ขับร้องโดย อรอุมา สิงห์ศิริ ที่ สุมทุม ไผ่ริมบึง แต่งกลายเป็นเพลงสร้างชื่อให้ทั้งตัวผู้ร้อง และผู้แต่งได้แจ้งเกิดในเมืองไทยพร้อมๆ กัน กลายเป็นเพลงประวัติศาสตร์ ดังลั่นวงการเพลง เป็นที่กล่าวขวัญมากที่สุดเพลงหนึ่งของเมืองไทย เป็นเพลงลูกทุ่งที่ได้รับคัดเลือกให้ได้ไปร่วมโชว์ มหกรรมเพลงระดับนานาชาติ
เพลง 'คิดถึงทุ่งลุยลาย, ลูกชายลุงอิน, ผัวสามสไตล์' ที่ เย็นจิตร พรเทวี ขับร้อง ก็ดังระเบิด คอเพลงยอมรับกันเป็นอย่างดี และเป็นผู้นำ เย็นจิตร พรเทวี มาสร้างเป็นนักร้อง ช่วงนั้นเย็นจิตรเป็นนักร้องในห้องอาหาร วาเลนไทน์ ในตัวเมืองขอนแก่น สุมทุมไปแอบซุ่มดูเป็นเดือน ก่อนชักชวนมาบันทึกเสียง เพลงที่เย็นจิตรร้องส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานเพลงของ สุมทุม ไผ่ริมบึง ทั้งสิ้นที่สร้างชื่อเสียงจนกลายเป็นนักร้องยิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้
“สาวจันทร์์กั้งโกบ” เป็นผลงานการประพันธ์เพลง "ลำเต้ยแนวประยุกต์์" ของ สุมทุม ไผ่ริมบึง ที่ทำให้ไอ้้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร “พรศักดิ์ ส่องแสง” มีชื่อเสีียงจนกลายเป็นนักร้องยิ่งใหญ่ กลายมาเป็นตำนาน เพลงโด่งดังเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถึงแม้นเขาจะเสียชีวิตไปแล้วก็ยังได้รับการกล่าวถึงอยู่่เสมอ
3
ในช่วงปีพุทธศักราช 2516-2541 นายแสนคม พลโยธา หรือสุมทุม ไผ่ริมบึง ประพันธ์์คำร้องและทำ นองเพลงมาแล้วไม่่ต่ำ กว่า 2,000 เพลง มีเพลงที่่เคยได้รับ รางวัลต่างๆ มากมาย เช่น
เต้ยสาวจันทร์กั้งโกบ - พรศักดิ์ ส่องแสง
จนเมื่อ ปี 2539 ก่อนที่ ครูสุมทุม ไผ่ริมบึง จะเสียชีวิต ตอนนั้น เย็นจิตร พรเทวี เดินสายแสดงอยู่ทางภาคอีสาน เธอเล่าว่า "พอรู้ว่า ครูไม่สบาย อยากเจอ เราก็รีบมาหาครูเลย พอมาถึงครูบอกว่า ไม่เป็นไรแล้ว และครูก็ยังทำท่ากำหมัดชกลมให้เราดูอีกด้วย เราก็ว่า ครูแข็งแรงดี พอรุ่งเช้าเท่านั้นแหละ ภรรยาครูที่เคยเป็นลูกน้องในวงของเรา ก็โทรศัพท์มาบอกว่าครูเสียแล้ว เราก็ยังย้ำว่าเสียได้ยังไง เมื่อวานยังดีอยู่เลย แต่เขาก็ยืนยันว่าครูเสียแล้วจริงๆ" เย็นจิตรเสียใจมากๆ ตลอดชีวิตของเย็นจิตร พรเทวี นอกเหนือจากพ่อ-แม่แล้ว ก็มี ครูสุมทุม ไผ่ริมบึง นี่แหละที่มีพระคุณกับเย็นจิตรอย่างมาก "เย็นจิตรจะไม่ลืมพระคุณของครูเลย ไม่ว่าครูจะอยู่ที่ไหนก็ตาม"
สุมทุม ไผ่ริมบึง ถึงแก่่กรรมเมื่อวันที่่ 21 มกราคม พุทธศักราช 2541 ขณะอายุุ 49 ปี
ด้วยเกียรติประวัติในการสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์์เพลงลูกทุ่ง และลููกทุ่งหมอลำอีสานที่ผ่านมา จนเป็นที่่ยอมรับเป็นแบบอย่างที่ดี มีประโยชน์และทรงคุณค่ายิ่งต่อสังคมและประเทศชาติ นายแสนคม พลโยธา หรือ สุมทุม ไผ่ริมบึง แม้ท่านจะถึงแก่กรรมไปแล้ว คุณูปการที่ได้ทำ ไว้สมควรและเหมาะสมอย่างยิ่งที่่จะได้รับการเชิดชููเกียรติเป็น อมรศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช ๒๕๖๖ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)