foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

heet m 08

บุญเดือนแปด

ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนแปดได้ล้ำล่วงมาเถิง ฝูงหมู่สังโฆคุณเข้าวัสสาจำจ้อย ทำตาม ฮอยของเจ้าพระโคดมทำก่อน บ่ทะลอนเลิกม้างทำแท้สู่ภาย แล้วจงพากันผ่ายหาของไปเททอด ทำทานไปอย่าได้คร้านเอาไว้หมู่บุญ สิเป็นของหนุนเจ้าไปเทิงอากาศ สู่สวรรค์บ่ฮ้อนด้วยบุญนี้ส่งไป

เพิ่นจึงตรัสบอกไว้ฮีตเก่าคองหลัง อย่าขาดได้ไปแท้สู่คน โอกาสนี้เพิ่นให้เที่ยวซอกค้นขุดก่นขุมบุญ เอาทุนไปภายหน้า เมื่อตายไปแล้วเป็นแนวนำเฮาขึ้นบันไดทองเทียวท่อง ขึ้นสู่ห้องชั้นฟ้าสวรรค์พุ้น อยู่เย็น ฝูงหมู่วิบากเว้นบ่มีว่าสิมาพาน เนาว์วิมานแสนทุกข์หายบ่มาใกล้ "

บุญเข้าพรรษา เป็นฮีตที่แปด หรือ จารีตประเพณี 8 ตามฮีตสิบสองของอีสาน บุญเข้าพรรษาของภาคอีสาน เป็นประเพณีทางพุทธศาสนาคล้ายคลึงกับทางภาคกลาง คือจะมีการทําบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝน สบง จีวร และ เทียนพรรษา หากแต่ในภาคอีสานจะจัดขบวนแห่เทียนอย่างยิ่งใหญ่ และมักมีการประกวดความสวยงามของเทียนจากแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งตกแต่ง สลักเสลาเทียนเป็นลวดลาย เรื่องราวทางพุทธศาสนาอย่างสวยงาม เมื่อแห่เทียนมาถึงวัดชาวบ้านจะรับศีล รับพรฟังธรรม ตอนค่ำจะเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ 

boon kao pansa 01

มูลเหตุของการเข้าพรรษา

เนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระภิกษุเที่ยวจาริกสอนธรรมไปตามหมู่บ้านต่างๆ ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูฝน ฤดูหนาว หรือฤดูร้อน แต่ในฤดูฝนนั้น ภิกษุได้เหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านเสียหาย สัตว์ตัวน้อยต่างๆ พลอยถูกเหยียบตายไปด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้ภิกษุต้องจําพรรษา 3 เดือน ในฤดูฝน โดยมิให้ไปค้างแรมที่อื่นใดนอกจากในวัดของตน ถ้าภิกษุฝ่าฝันถือว่า “ศีลขาดและต้องอาบัติทุกกฎ”

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วัน คือ

  • วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11
  • วันเข้าปัจฉิมพรรษา คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12

เมื่อเข้าพรรษาแล้ว หากภิกษุมีกิจธุระจำเป็นอันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่า จะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้

  1. เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
    2. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
    3. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
    4. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
    5. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
    6. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธา สามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
    7. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
    8. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
    9. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้

ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ หรือ อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ
แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้  " (ว่า 3 ครั้ง)

หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้ว ก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอารามนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

boon kao pansa 04

การทำพิธีกรรมของชาวบ้าน

เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนแปดตอนเช้า ญาติโยมก็จะนําดอกไม้ธูปเทียน ข้าวปลา อาหาร มาทําบุญตักบาตรที่วัด ตอนบ่ายจะนําสบงจีวร ผ้าอาบน้ำฝน เทียนพรรษา และดอกไม้ธูปเทียนมาถวายพระภิกษุที่วัด แล้วร่วมกันรับศีลฟังธรรมพระเทศนา พอถึงเวลาประมาณ 19.00 - 20.00 น. ชาวบ้านจะนําดอกไม้ธูปเทียนมารวมกันที่ศาลาโรงธรรม เพื่อรับศีลและเวียนเทียนจนครบสามรอบ แล้วจึงเข้าไปในศาลาโรงธรรมเพื่อฟังพระธรรมเทศนาจนจบ จากนั้นจะแยกกันกลับบ้านเรือนของตน ส่วนผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าก็จะพากันรักษาศีลแปดจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด อันเป็นวันเข้าพรรษา ซึ่งพระภิกษุจะต้องจําพรรษาในวัดของตนเป็นเวลาสามเดือน

ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้ เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขา ได้ทูลของพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ ได้มีผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์

ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี จึงนิยมนำผ้าอาบน้ำฝนไปถวายแด่พระสงฆ์ผู้จะอยู่พรรษา พร้อมกับอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นต่างๆ

boon kao pansa 02

แม้ในปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนไทยก็คงยังปฏิบัติกิจกรรมอย่างนี้อยู่ บางวัดมีการแจกฎีกานัดเวลา ประกอบพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าจำนำพรรษา และเครื่องใช้อื่นๆ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลของวัดใกล้บ้าน

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อิมานิ มะยังภันเต วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ
วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหาหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ "

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝน พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
สิ้นกาลนานเทอญ

boon kao pansa 03

เทียนพรรษา ในอดีตยังไม่มีไฟฟ้าใช้ไปทั่วทุกหนทุกแห่งอย่างเช่นปัจจุบัน พระสงฆ์และประชาชนทั่วไปก็ยังใช้วิธีการจุดขี้ไต้ ตะเกียง และเทียนให้แสงสว่าง เมื่อถึงคราวเข้าพรรษาประชาชนจึงร่วมใจกันหล่อต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ใช้ในการทำสังฆกรรมตลอดช่วงระยะเวลาเข้าพรรษา แต่ในปัจจุบันเทียนพรรษาใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีตอีกแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง ไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษา ซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าใช้จุดบูชาเท่านั้น  มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษา และจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อและแห่เทียนพรรษา แล้วนำไปถวายแด่พระสงฆ์ที่วัด

คำถวายเทียน
อิมานิ มะยัง ภันเต ปะทีปัง สะปะริวารัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกษุสังโฆ อิมานิ ปะทีปัง
สะปะริวารัง ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ "

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเทียนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์
ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเทียนและบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
สิ้นกาลนานเทอญ

 

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดี ที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิ วิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่า การเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง

ลำกลอนเดือนแปด บุญเข้าพรรษา ชุด ฮีดสิบสอง โดย ทองแปน พันบุปผา

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)