foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pee ta kon header

ผีตาโขน

ผีตาโขน เป็นการละเล่นในงานบุญประเพณีใหญ่ที่เรียกว่า "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งเกี่ยวโยงกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย จัดเป็นงานบุญที่สำคัญเพราะอยู่ในฮีต 12 ตรงกับเดือน 7 แม้ว่าการจะมีการละเล่นผีตาโขนที่อื่นๆ ในอีสานบ้าง แต่ขบวนแห่ผีตาโขนจัดขึ้นที่บริเวณวัดโพนชัย และหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย นั้นเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด ว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้าง อีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรัก จึงพากันแห่แหนแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" และกลายเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เครื่องแต่งกายของผีตาโขนมีเอกลักษณ์ สีสันสดใส สะดุดตา มีการนำวัสดุท้องถิ่นอย่าง "หวดนึ่งข้าวเหนียว" มาตกแต่งเป็นหน้าตาผีและนำมาสวมหัว ลีลาท่าทางในการเต้นสนุกสนาน

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม การระลึกถึงวิญญาณผีบรรพชน ความศักดิ์สิทธื์ที่น่าเกรงขาม และการละเล่นที่นำพาให้เกิดความสนุกสนาน

ประเพณีเล่นผีตาโขน เป็นประเพณีที่ชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ถือปฏิบัติสืบต่อกันอย่างยาวนาน ผู้ที่สวมบทบาทเป็นผีตาโขนนั้นจะต้องสวมหน้ากากที่น่าเกลียดน่ากลัว ทำจากหวดนึ่งข้าวเหนียว แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส ออกเดินร่วมขบวนไปกับขบวนแห่ ซึ่งจะจัดร่วมไปกับงานบุญหลวง ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

pee ta kon 03

คำว่า “ผีตาโขน” นั้นสันนิษฐานได้อยู่ 2 ทาง คือ หนึ่ง มีที่มาจากเรื่องราวของ พระเวสสันดรชาดก ว่า เมื่อพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเสด็จออกจากป่า กลับคืนสู่เมืองนั้น บรรดาผีป่าและสิงสาราสัตว์ทั้งหลายต่างพากันแฝงเร้นมากับชาวบ้าน เพื่อรอส่งพระเวสสันดรกลับบ้านกลับเมือง จึงเรียกกันว่า "ผีตามคน" จนกระทั่งเพี้ยนเสียงมาเป็น ผีตาโขน

อีกทางหนึ่ง คือ เชื่อว่าประเพณีผีตาโขน เป็นการละเล่นเพื่อบวงสรวงบูชาดวงวิญญาณบรรพชน เนื่องจากชาวด่านซ้ายเชื่อกันว่า บรรพชนที่เสียชีวิตไปแล้วจะกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์หรือความหายนะกับบ้านเมืองได้ เพื่อให้เป็นที่พอใจของดวงวิญณาณบรรพชน ชาวบ้านจึงจัดให้มีการละเล่นผีตาโขนขึ้น เป็นสีสันแห่งการเฉลิมฉลองในงานบุญหลวงและโดยเฉพาะในพิธีอันเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง ตามฮีตเดือนสี่ (บุญผะเหวด) ของชาวอีสาน ซึ่งชาวด่านซ้าย ได้รวมเอางานบุญฮีตเดือนสี่ (บุญผะเหวด) ฮีตเดือนห้า (บุญสงกรานต์) ฮีตเดือนหก (บุญบั้งไฟ) และฮีตเดือนเจ็ด (บุญซำฮะ) มาจัดขึ้นพร้อมกันในช่วงเดือนเจ็ดของทุกปี ซึ่งมักจะอยู่ระหว่างปลายเดือนมิถุนายนถึงช่วงต้นเดือนกรกฏาคมของทุกปี

รายการทีวีชุมชน ตอน ผีตามคน

ชนิดของผีตาโขน

ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่ และผีตาโขนเล็ก

pee ta kon 01

  • ผีตาโขนใหญ่ จะมีลักษณะเป็นหุ่นที่ขึ้นรูปจากโครงไม้ไผ่สานที่มีขนาดใหญ่ แล้วห่อคลุมด้วยผ้าหรือกระดาษสี มีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดา ประมาณ 2 เท่า ประดับตกแต่งรูปร่างเป็นเพศชายและหญิงด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น มีการประดับอวัยวะเพศที่แสดงออกถึงความเป็นชายและหญิงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นตามความเชื่อในสมัยโบราณที่สื่อว่า อวัยวะเพศของมนุษย์จะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่ความคิดพิเรนหรือทะลึ่งของผู้ที่เข้ามาร่วมเล่นแต่อย่างใด การจัดงานแต่ละปีจะมีการทำผีตาโขนใหญ่เพื่อร่วมขบวนแห่เพียง 1 คู่ เท่านั้น คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปี หรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี

pee ta kon 02

  • ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วม เพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจ ใส่หน้ากากขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกายของผีตาโขน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วยส่วนประกอบของหัว หรือที่เรียกว่า หน้ากาก นั้น ทำด้วย "หวด" หรือภาชนะที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว ซึ่งเป็นส่วนด้านบนดูคล้ายหมวก ส่วนหน้านั้นทำจากโคนก้านมะพร้าว นำมาตัดปาดให้เป็นรูปหน้ากากและเจาะช่องตา จมูกนั้นทำจากไม้เนื้ออ่อน แกะให้เป็นรูปทรงต่างๆ ตามแต่จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โดยทำเป็นลักษณะยาว แหลมคล้ายงวงช้าง ส่วนเขานั้นทำจากปลีมะพร้าวแห้ง โดยนำส่วนประกอบต่างๆ มาเย็บติดเข้าไว้ด้วยกัน และทาสีสันวาดลวดลายไปบนด้านหน้าของหน้ากากนั้นๆ หลังจากนั้นจะเย็บเศษผ้าติดไว้บริเวณด้านบน (หลัง) เพื่อให้คลุมส่วนคอของผู้ใส่ไปจนถึงไหล่

ประเพณีบุญหลวงและการละเล่น ผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย

การแต่งกาย และการละเล่นผีตาโขน

ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้ จะแต่งกายด้วยผ้าสีสันสดใสให้คล้ายผีและปีศาจ ใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลัก และมีการตกแต่งวาดลวดลายลงบนหน้ากากเป็นรูปผีต่างๆ ให้ดูน่ากลัว มีการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู และนำเอาหวดนึ่งข้าวเหนียวมาสวมศีรษะ โดยกดด้านล่างหวดให้เป็นรอยบุ๋มเหมือนหมวก แต่งแต้มด้วยสีสันต่างๆ ให้ดูน่ากลัว หงายปากหวดขึ้นเพื่อสวมลงบนศีรษะ ส่วนชุดจะใช้เศษผ้าหลากสีมาเย็บต่อกันเป็นชุดยาวสวมคลุมทั้งตัว

pee ta kon 05

นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์ประกอบในการละเล่นอีก 2 ชิ้น คือ “หมากกระแหล่ง” หรือกระดึงแขวนคอวัว นำมาแขวนเอว ใช้เขย่าให้เกิดเสียงดังเวลาเดิน และ “อาวุธประจำกาย” ของผีตาโขน ซึ่งหลักๆ คือ ดาบไม้ ซึ่งไม่ได้เอาไว้รบกันแต่เอาไว้ควงหลอกล่อ และไล่จิ้มก้นสาวๆ ซึ่งก็จะร้องวิ๊ดว้ายหนีกันจ้าละหวั่น ทั้งอายทั้งขำ แต่ไม่มีใครถือสา เพราะเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา

pee ta kon 06

เหตุที่วิ่งหนีเพราะปลายดาบนั้นแกะสลักเป็น รูปอวัยวะเพศชาย หรือ “ปลัดขิก” แถมยังทาสีแดงให้เห็นอย่างเด่นชัด การเล่นแบบนี้ไม่ถือเป็นเรื่องหยาบ หรือลามก แถมยังสร้างสีสันความสนุกสนานให้กับชาวบ้าน และผู้ที่มาร่วมงานประเพณีเป็นอย่างมาก เพราะมีความเชื่อกันว่า หากเล่นตลกและนำอวัยวะเพศชายหญิงมาเล่นมาโชว์ในพิธีแห่และงานบุญบั้งไฟ จะทำให้พญาแถนพอใจ ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์

pee ta kon 07

การเล่นผีตาโขนนั้นจะเล่นกันเฉพาะในงาน ประเพณีบุญหลวง ที่จะจัดขึ้นในเดือน 8 (ตามปฏิทินไทย) นิยมจัดงาน 3 วัน ด้วยกัน

วันแรก ชาวด่านซ้ายจะเรียกวันนี้ว่า วันรวม หรือ วันโฮม ชาวบ้านจะช่วยกันสร้างหออุปคุตต์ขึ้นก่อน ในบริเวณระหว่างลำน้ำหมันกับลำน้ำศอก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00 - 05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้า ขันแปด (พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้ เกิดความสุข สวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถา และให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถามว่า "ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่" ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า "ไม่ใช่"

พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า "ใช่ นั่นแหละ พระอุปคุตต์ที่แท้จริง" เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้วก็นำใส่พาน แล้วนำขบวนกลับไปที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับ หรือ อยู่ตามที่ต่างๆ ก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแหล่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้เสียงดัง

pee ta kon 03

วันที่สอง จะเป็นพิธีอัญเชิญพระอุปคุตต์เข้ามาประดิษฐานภายในวัด ด้วยเชื่อกันว่า การอัญเชิญตัวแทนพระอุปคุตต์เข้ามาประดิษฐานในวัด จะช่วยป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้นในงานได้ ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หาม ตามด้วย เจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียมกับบริวาร ชาวบ้านและเหล่าผีตาโขนเดินตามเสด็จไปรอบเมือง ในวันนี้จะมีพิธีจุดบั้งไฟบูชา ขบวนแห่ผีตาโขนออกมาร่ายร่ำ ประกอบเครื่องดนตรีพื้นเมืองอย่างสนุกสนานไปตลอดเส้นทางจนกระทั่งถึงวัด เป็นการแสดงการเซิ้งผีโขน

ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็น ผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมด และนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่

pee ta kon 04

วันที่สาม จะเป็นวันประกอบพิธีทางศาสนา และอุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด ฟังเทศน์มหาชาติ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัด

pee ta kon 08
ผู้เขียนเมื่อไปเยือนพิพิธภัณฑ์ผีตาโขน วัดโพนชัย อำเภอด่าซ้าย จังหวัดเลย

ปัจจุบัน ประเพณีเล่นผีตาโขน นอกจากจะเป็นประเพณีที่ชาวด่านซ้ายช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนแล้ว ประเพณีนี้ยังช่วยกระตุ้นในเรื่องของการท่องเที่ยว นำเม็ดเงิน ชื่อเสียงมาสู่จังหวัดเลยเป็นประจำทุกปี

เที่ยวงานผีตาโขน ประเพณีที่มีหนึ่งเดียวในโลก | ตะลอนข่าวสุดสัปดาห์

ประเพณีการละเล่นผีตาโขน นี้ ในทางฝั่งประเทศเพื่อนบ้านของเรา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเมืองปากลาย และเมืองไชยะบุรี เรียกการละเล่นนี้ว่า "บุญแห่ผีโขน - ບຸນແຫ່ຜີໂຂນ" จึงขอนำมาเสนอให้ทุกท่านได้เห็นความเหมือนและความต่างดังนี้

ເລາະລຸຍລາວ EP18 ຊາຍຜູ້ສືບທອດຜີໂຂນ

เรียนรู้เรื่องราวชาวอีสาน : อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)