foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

oldie categories

Charles F Keyes 01รู้จักกับ ดร.ชาร์ลส เอฟ ไคส์

ดร.ชาร์ลส เอฟ ไคส์ (Keyes, Charles F.) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ได้รับทุนฟูลไบรท์ มาเป็นอาจารย์แลกเปลี่ยนที่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ได้ชื่อว่า มิตรสนิทของชาวไทย ซึ่งนอกจากจะทำการศึกษาวิจัยเรื่องราวต่างๆ ของชนชาวไทยแล้ว ยังได้บันทึกภาพประวัติศาสตร์ในอดีตของประเทศไทยไว้มากมาย ซึ่งท่านจะเห็นได้ในบรรดาภาพเก่าเล่าอดีตจังหวัดต่างๆ (โดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามที่ได้ไปใช้ชีวิตกับครอบครัวชาวบ้านที่นั่น)

งานเขียนของอาจารย์ ดร.ชาร์ลส เอฟ ไคส์ สะท้อนความสนใจหลักของอาจารย์ใน 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ชาติพันธุ์ ศาสนา และความทันสมัย โดยเน้นศึกษาในแนวทางมานุษยวิทยาการตีความ ที่ได้รับอิทธิพลจากสํานักคิดเวเบอร์เรี่ยนค่อนข้างมาก ผสมผสานกับการวิเคราะห์ชุมชนชาวนาในระดับจุลภาค  เชื่อมโยงกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการเมืองในระดับชาติ ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่ริเริ่มโดยสํานักคอร์แนลในช่วงทศวรรษที่ 1950

Charles F Keyes 02

พระสงฆ์ และ Charles Keyes ไปหาผู้ชายชาวบ้านที่เถียงนาในฤดูเก็บเกี่ยว บ้านหนองตื่น อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

งานเขียนในระยะต้นๆ ในช่วง 2 ทศวรรษแรก เกี่ยวกับ "สังคมชาวนาในภาคอีสานและรัฐไทย" อาจารย์ไคส์ได้เสนอภาพแนวโน้มของปัญหาความขัดแย้ง เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐไทย อาจต้องเผชิญในช่วงของการพัฒนาสังคมไทยไปสู่ความทันสมัย อาจารย์ไคส์เสนอให้พิจารณา ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคอีสาน จากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ระหว่างรัฐไทยกับประชาชนในภูมิภาคอีสาน ตลอดช่วงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ความขัดแย้งนี้ยังมีส่วนช่วยสร้างอัตลักษณ์ทางเลือกที่หลากหลายของคนอีสาน

Charles F Keyes 04

หนังสือผลงานของ ดร.ชาร์ลส เอฟ ไคส์ ที่ผมอยากอ่าน (แต่ยังไม่มีในมือเลย)

บางครั้ง พวกเขาเลือกที่จะแสดงตัวกับชุมชนและภูมิภาคในท้องถิ่น บางครั้งก็แสดงอัตลักษณ์เชื่อมโยงกับชาวลาวในประเทศลาว และบางครั้งก็แสดงตัวตนผูกพันกับวิถีความเป็นไทย ที่มีฐานมาจากวัฒนธรรมไทยภาคกลาง การแสดงออกในเรื่องความเป็นภูมิภาคนิยมของชาวอีสาน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งแยกดินแดนทางการเมือง การปกครองให้เป็นของกลุ่มตนเอง แต่ต้องการให้รัฐไทยเกิดการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และให้การยอมรับสถานภาพความแตกต่างทางวัฒนธรรมของพวกเขา ในการดํารงอยู่ร่วมกันภายใต้รัฐไทย อาจารย์ไคส์ยังให้ข้อคิดในเรื่องพุทธศาสนาว่า อิทธิพลต่อความคิดและวิถีปฏิบัติของผู้คนในสังคมไทยอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะในสังคมชาวนาในภาคอีสานมีลักษณะความเป็นชุมชนศีลธรรม

งานเขียนในระยะหลังของอาจารย์ไคส์ ได้สะท้อนภาพผลการเปลี่ยนแปลงสังคมชาวนา ไปสู่ความทันสมัยในรอบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการผนึกผสานสังคมเศรษฐกิจชาวนา เข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก การศึกษาแห่งชาติ การปฏิวัติทางเทคโนโลยี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ชาวนาได้เรียนรู้แนวคิด และมีประสบการณ์เกี่ยวกับความทันสมัยจากชีวิตประจําวันของพวกเขา นอกจากนี้ การพัฒนายังก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคมในภาคอีสานที่โดดเด่น 2 เรื่อง คือ ผู้ประท้วง และแรงงานอพยพ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ไคส์เห็นว่า ความเป็นชุมชนท้องถิ่นในภูมิภาคอีสานจะยังคงดํารงอยู่ ไม่ถูกกลืนหายไปในกระแสของการพัฒนาภูมิภาคและชาติไทยไปสู่ความทันสมัย

และนี่เป็นประวัติชีวิตบางส่วนของท่าน ที่ทางหอภาพยนตร์แห่งชาตินำมาเสนอ

ดร.ชาร์ลส เอฟ ไคส์ มิตรสนิทของชาวไทย

Charles F Keyes 03

Thailand: Buddhist Kingdom as Modern Nation-State by Keyes, Charles F

Impermanence: An Anthropologist of Thailand and Asia by Charles F. Keyes

RIP Professor Charles F. Keyes

เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความเปิดเผยว่า ศาสตาจารย์ ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ได้เสียชีวิตแล้วในวัย 84 ปี ท่านเป็นศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาผู้มีคุณูปการอย่างมากต่อการศึกษาสังคมวัฒนธรรมไทย และด้านอีสานศึกษา จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยคอร์เนล ดำรงตำแหน่งเป็น ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาระหว่างประเทศ ประจำมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)