คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
กะโซ้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิดน้ำออกจากบ่อ หรือที่นา ในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องจักรประเภทเครื่องสูบน้ำ การวิดน้ำจากนา จากบ่อ หรือจากสระน้ำ จะใช้ภาชนะที่มีขนาดจุน้ำให้มากพอสมควร ทำการตักน้ำออกทิ้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือความล่าช้า และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อแขน จึงได้มีการคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยในการวิดน้ำขึ้น โดยอาศัยหลักของแรงเหวี่ยงของแขน ทำให้สามารถวิดน้ำได้เร็วขึ้น และออกแรงน้อยลง นั่นคือ กะโซ้ นั่นเอง (คนโบราณกะฮู้จักการใช้แรงตามกฎฟิสิกส์คือกันเด้อ)
ตัวกะโซ้ ทำมาจากการสานด้วยไม้ไผ่ เพื่อให้มีน้ำหนักเบา มีคันสำหรับจับและดันส่งแรงในการวิดน้ำ กะโซ้ในภาคอื่นจะมีชื่อเรียกแปลกออกไป เช่น โชงโลง ชงลง หรือ พงน้ำ ซึ่งก็อันเดียวกับ กะโซ้ คันโซ้ ในภาคอีสาน ที่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการวิดน้ำ เพื่อทำการเพาะปลูกพืชพรรณต่างๆ หรือวิดน้ำจับปลาไว้เป็นอาหาร
กะโซ้ ชงโลง หรือ โพง เป็นเครื่องวิดน้ำ โดยการโพงน้ำจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง จึงมักเรียกว่า “โพง” เครื่องวิดน้ำ พื้นบ้านชนิดนี้มีใช้ทุกภาคของประเทศ รูปแบบอาจแตกต่างกันไปบ้างตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่รูปแบบหลักๆ และลักษณะการใช้งานจะเหมือนกันแทบทั้งสิ้น
สมัยทิดหมูยังน้อย กะเคยแบกกะโซ้ไปสาปลาข้อน กับอีพ่ออยู่นาอยู่เด้อ บางทีกะเห็นพ่อไปสาน้ำจากหัวไฮ่ปลายนาเข้าใส่ตากล้า ไปหาปลาในหนองยามน้ำขอดกะใช้กะโซ้ สมัยสู่มื้อนี้สะดวกกว่าหลาย ย้อนเพิ่นมีเครื่องสูบน้ำน้อยใหญ่มาใช้แทน
กะโซ้ น. โชงโลง โชงโลง เรียก กะโซ้ คันโซ้ ก็ว่า สานด้วยไม้ไผ่ มีคันจับใช้วิดน้ำเข้านา หรือวิดน้ำในหนองเพื่อจับเอาปลา อย่างว่า ตกตาว่าได้จับคันโซ้ลงหนองสาสาด ซิฟาดให้แห้งเอาปลาต้มใส่งาย (ผญา). long-handled scoop-shaped basket suspended from a tripod used for scooping water over a dike.
กะโซ้ น. ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง ตัวเล็ก รูปร่างคล้ายคันโซ้ อาศัยอยู่ในน้ำ เรียก แมงกะโซ้ แมงคันโซ้ แมงปอ ก็เรียก. a type of small water insect shaped similar to water-scoop basket. "
ฐานข้อมูลจากหนังสือ : สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ดร.ปรีชา พิณทอง
กะโซ้ หรือ ชงโลง มีสองชนิดคือ ชนิดที่สานด้วยไม้ไผ่ และชนิดที่ทำด้วยไม้จริง กะโซ้ทั่วไปจะมีรูปร่างคล้ายช้อน หากเป็นกะโซ้ไม้ไผ่มักจะสานทึบทั้งหมด เพื่อไม่ให้น้ำรั่ว กะโซ้จะมีด้ามไม้ไผ่ผูกติดอยู่กลางปาก ด้ามกะโซ้จะมีทั้งแบบยาวและแบบสั้น หากเป็นด้ามสั้นจะใช้วิดน้ำโดยใช้มือข้างหนึ่งจับที่ด้ามกะโซ้ค่อนไปข้างหน้า มืออีกข้างหนึ่งจับด้ามกะโซ้ที่ยื่นพ้นออกไปจากตัวกะโซ้ค่อนไปข้างหน้า มืออีกข้างหนึ่งจับด้ามโพงที่ยื่นพ้นออกไปจากตัวกะโซ้เล็กน้อยวิดน้ำโดยการแกว่งกะโซ้จ้วงตักน้ำแล้วสาดไปข้างหน้า
กะโซ้ มีลักษณะคล้ายเรือครึ่งท่อน แต่มีลักษณะเล็กกว่า วัสดุที่นำมาทำกะโช้ใช้ผิวไม้ไผ่มาจักเป็นตอก และมักจะสานเป็นลายสองหรือลายสาม ที่ปลายขอบจะเหลาไม้ไผ่หนาประมาณครึ่งเซนติเมตร แล้วใช้ไม้ไผ่ประกบตอกที่สานในส่วนปลายขอบ เพื่อให้มีความคงทนถาวร ไม่หลุดลุ่ยได้ง่าย ไม้ไผ่ที่ใช้สำหรับประกบนั้นจะมัดด้วยหวาย ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า การขอดหัว หรือ การขอดหัวแมลงวัน เป็นการผูกมัดเงื่อนหวายให้แน่นวิธีหนึ่ง
กะโซ้ มีด้ามยาวๆ ทำด้วยไม่ไผ่เช่นกัน ไม้ไผ่ส่วนปลายที่ติดกับปากกะโซ้ ใช้ไม้จริงค่อนข้างเหนียว สมัยโบราณนิยมใช้ไม้ข่อย เจาะรูที่ไม้ไผ่แล้วใช้ไม้ข่อยสอดรูให้ได้พอดิบพอดี มีลักษณะเหมือนไม้กางเขน ใช้หวายผูกมัดไม้ข่อยอีกครั้ง ส่วนปลายบนอาจจะทำในลักษณะค้ำยันด้วยไม้ไผ่สามเส้า ชาวบ้านเรียก ขาหยั่ง หรือ ห่างฮะ เอาปลายเชือกมัดหลักที่ค้ำยันนั้น เวลาโพงน้ำหรือวิดน้ำจะจับด้ามกะโซ้ตักน้ำสาดไปข้างหน้า ช่วยทุ่นแรงมากกว่าและใช้ได้นาน
ใช้ไม้ไผ่ความยาว 80 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ผ่าเป็นชิ้นๆ จักเป็นตอกกว้าง 2 เซนติเมตร หนาครึ่งมิลลิเมตร นำมาสานลายสองให้ความกว้างยาวตามต้องการและม้วนก้นใส่ขอบ ใช้หวายถักรอบขอบเข้ากับก้านไม้ไผ่แข็ง นำคันกะโซ่ ซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ยาวประมาณ 2.50 เมตร มาติดใช้หวายถักมัดและดึงรั้งขอบของกระโซ้ทั้งสองด้านให้หุบเข้าหากัน
กะโซ่ : เครื่องมือหาปลา ตำนานที่จะเลือนหายไป
โดยทั่วไปสำหรับคนถนัดมือขวา ให้ใช้มือซ้ายจับที่คันบริเวณด้านขอบในตัวกระโซ้ มือขวาจับคันด้านนอกตักน้ำจากที่ต้องการ ใช้มือขวาเป็นแรงส่งดันเทน้ำไปยังอีกฟากหนึ่ง หรืออาจใช้วิธีการทำขาหยั่ง 3 ขา สูงจากพื้นดินประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร ขาด้านบนไขว้ทับกัน ด้านล่างถ่างออกให้มึความกว้างมากกว่าตัวของกะโซ้พอสมควร ใช้เชือกผูกขาหยั่งด้านบนตรงกลางห้อยลงมา ผูกตรงบริเวณกลางขอบในของกะโซ้ ผู้ใช้ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ปลายคันของกระโซ้ปักดิ่งลงไปตักน้ำแล้วเหวี่ยงเททิ้งไปข้างหน้า วิธีนี้จะผ่อนแรงกว่าวิธีแรกมาก ชาวบ้านเรียกว่าการทำ ขาหยั่ง หรือ ห่างฮะ
ปัจจุบัน การใช้กะโซ้วิดน้ำเพื่อการเกษตรหรือการจับสัตว์น้ำ มักไม่ค่อยใช้กันเหมือนในอดีตแล้ว เพราะมีเครื่องสูบน้ำเข้ามาใช้แทนที่ บางสถานที่ยังมีการใช้กะโซ้อยู่บ้าง แต่กะโซ้สมัยใหม่แทนที่จะสานด้วยไม้ไผ่ ก็จะใช้กระป่อง แกลลอนพลาสติก หรือปี๊บ ทำเป็นกะโซ้ใช้วิดน้ำแทนได้
กะโซ่ : หาปลา วิดน้ำแบบโบราณ
กงพัด น. ระหัด พัดลม เครื่องวิดน้ำเข้านา เรียก กงพัด กงหัน ก็ว่า คนโบราณอีสานเมื่อต้องการน้ำในแม่น้ำขึ้นมาทำนาก็ใช้กงพัดหรือกงหัน ดึงเอาน้ำขึ้นมา เรียก หมากปิ่น ก็ว่า อย่างว่า เชื่อกงหันลมต้องปิ่นหันลิ่นลิ่นปานคนหมุน(กลอน). waterwheel, windmill. "
ฐานข้อมูลจากหนังสือ : สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ดร.ปรีชา พิณทอง
กงพัด หมายถึง ระหัดวิดน้ำเข้านา โดยใช้ไม้ทำเป็นรางระหัดให้น้ำไหลผ่าน ซึ่งมีใบระหัด (ภาษาอีสานเรียกว่า แป้นพัดน้ำ) เป็นตัวกวาดน้ำให้ขึ้นมาตามรางระหัด เมื่อขณะที่ชาวนาใช้เท้าถีบคันฉุดล้อจะหมุนฉุดคันระหัดเลื่อนไป โดยกวาดน้ำให้ไหลขึ้นไปตามรางระหัดด้วย (ในภาคกลางทำนาเกลือใช้ระหัดชนิดเดียวกัน ต่างแต่ใช้กังหันลมฉุดให้ลากใบระหัดกวาดน้ำไหลเข้านาเกลือ)
กงพัด ในภาษาอีสานนั้นยังหมายถึง กงพัดน้ำในพิธีฮดสรงพระ ด้วย
IR ระหัดวิดน้ำ
กงพัด เป็นเครื่องมือใช้ในการวิดน้ำเข้านา ทำจากไม้กระดาน มีกลไกซับซ้อนกว่าเครื่องมือพื้นบ้านอื่นๆ ประกอบด้วย
วิธีใช้งาน
นำกงพัดไปวางให้ด้านท้ายลงแช่ในน้ำ โดยให้ส่วนหัวไปพาดกับคันนาที่จะชักน้ำเข้า ชาวนาจะใช้เท้าถีบคันฉุด (เหมือนถีบจักรยาน) คันฉุดจะลากใบระหัดให้เคลื่อนที่ ส่วนแป้นพัดน้ำจะกวาดเอาน้ำให้ไหลขึ้นไปตามรางน้ำของระหัด หากถีบคันฉุดเรื่อยๆ น้ำจะไหลเข้านาเรื่อยๆ
ระหัดวิดน้ำ หรือที่ในภาคอีสาน เรียกว่า "หลุก" เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดน้ำมาใช้ในการเกษตร ระหัดวิดน้ำทำจากไม้ไผ่เกือบทั้งหมด
พัดทดน้ำ มรดกจากบรรพบุรุษ : รายการซีรีส์วิถีคน ThaiPBS
ส่วนประกอบของระหัดวิดน้ำ มีองค์ประกอบหลัก 14 อย่าง คือ
ปัจจุบัน ระหัดวิดน้ำ ยังพบอยู่บริเวณน้ำลำตะคอง ใช้หนาแน่นมากบริเวณต้นน้ำและกลางน้ำในเขตอำเภอปากช่อง สีคิ้ว และสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ยังพบในบริเวณลำปะทาว ในพื้นที่ ตำบลนาเสียว นาฝาย และบ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ประโยชน์ของระหัดวิดน้ำ
ระหัดวิดน้ำลำตะคอง ร่องรอยของกาลเวลายังคงเคลื่อนไหว
เห็นอย่างนี้แล้ว ระหัดวิดน้ำ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่ภาครัฐและเอกชน ควรหันกลับไปพิจารณาและพัฒนาต่อยอดต่อไป แทนการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
Amazing Primitive Water Pumping System And Machinery New Technology
วิวัฒนาการของเครื่องมือการเกษตรจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)