foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

philosopher header

tad krayom 01พ่อทัศน์ กระยอม

ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สำเร็จได้เพราะ 5 พระ

พ่อทัศน์ กระยอม เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2471 เกิดที่บ้านโคกใหญ่ อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น เกิดมาไม่ได้ใช้นามสกุล “สุมัง” ตามพ่อแม่ เนื่องจากพ่อเป็นนักเลง ท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ กว่าจะพบกันก็ตอนแก่ ตอนเด็กๆ จึงต้องอยู่กับตาและยาย และใช้นามสกุล “กระยอม” ตามนามสกุลของตา

ตอนเด็กๆ เป็นคนมีอุปนิสัยหนีคน และไปบวชเณรตั้งแต่อายุ 7 ปี จนสอบได้นักธรรมตรี เมื่ออายุ 11 ปี ได้สึกออกมาเรียนต่อจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วสืบทอดวิชาหมอยา และหมอธรรมจากคุณตา แล้วอาศัยความรู้ทางยาและทางธรรมะ ขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากของคนจนในหมู่บ้าน เป็นที่เคารพยกย่องของคนในหมู่บ้าน ได้แต่งงานกับแม่ม่งจนมีลูกชายด้วยกันห้าคน ต่อมาภรรยาคนแรกเสียชีวิต จึงได้แต่งงานกับภรรยาคนใหม่กินอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข และมีลูกสาวด้วยกันอีก 5 คน

25 มิถุนายน 2510 พ่อทัศน์ได้พาชาวบ้านมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ติดกับโสกน้ำขาว และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านโสกน้ำขาว ตำบลก้านเหลือง อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ด้วยความที่เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต มีวิชาความรู้ด้านหยูกยา และธรรมะ ในการช่วยเหลือผู้คน ทำให้ชาวบ้านศรัทธา และพร้อมใจกันตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน และได้พาชาวบ้านพัฒนาบ้านเมือง เช่น ตัดถนนหนทาง โดยไม่ได้ใช้งบประมาณจนชาวบ้านรักใคร่ ยามใดที่เดินผ่านพ่อทัศน์เมื่อกำลังเกี่ยวข้าวจะมาช่วยทันที โดยไม่ต้องเอ่ยปากขอ หรือจ้างวาน

tad krayom 04

หลังจากเป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ 5-6 เดือน มีเจ้านายจากอำเภอหลายคนเข้าไปตรวจเยี่ยมท้องที่ เจ้านายบอกให้หาเหล้ามาให้กิน และสั่งให้นั่งดื่มเป็นเพื่อน พ่อทัศน์ก็ปฏิเสธโดยอ้างว่า เป็นหมอธรรม ต้องรักษาศีล ดื่มเหล้าไม่ได้ เจ้านายบอกว่าไม่เป็นไร นิมนต์หมอในใจไปนั่งรอข้างวงเหล้าก่อน แล้วค่อยนิมนต์มาเข้าตัวใหม่ก็ได้

ด้วยความกลัวร่วมกับความไม่รู้ว่า เจ้านายจะว่าอย่างไร? หรือจะมีอันตราย หรือเปล่าทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและคนในชุมชน ทำให้พ่อทัศน์ไม่กล้าขัดคำชักชวนของเจ้านาย เริ่มดื่มเหล้าจนติด เสื่อมลงเรื่อย ๆ เสียผู้เสียคนจนชาวบ้านเรียกว่า "ผู้ใหญ่ขี้เหล้า" เพราะติดเหล้า ไม่มีใครมาช่วยงานพ่อทัศน์อีกต่อไป

ความเสื่อมของสังคมเริ่มครอบงำ เมื่อพ่อทัศน์กลายเป็นผู้ใหญ่บ้านขี้เหล้า ที่กินเหล้าตามเจ้านายทุกครั้งที่เข้ามาตรวจหมู่บ้าน นอกจากเจ้านายแล้ว ลูกยุของเพื่อนๆ (ขี้เหล้า) ทำให้ตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ จากผู้ใหญ่บ้านไปลงสมัครเป็นกำนัน 2 ครั้ง หมดนาไป 2-3 ทุ่ง ความล้มเหลวทำให้เป็นหนี้ จึงไปทำไร่ข้าวโพดที่อื่น 2 ปี

ปี 2513 ในแผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 3 และ 4 พ่อทัศน์ได้พาตนเอง ครอบครัว และชุมชน ไปสู่บ่วงกรรมของหนี้สิน ด้วยการกู้เงิน ธกส. การขาดข้อมูล ขากการคิดวิเคราะห์ และเกิดความโลภ ทำให้นำเงินกู้ ธกส. มาใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายผิดวัตถุประสงค์ ทำให้จ่ายหนี้และดอกเบี้ยคืนไม่ได้ เป็นผลให้ลำบากมาก ยากจนข้นแค้น บางปีต้องไปขอทานข้าวมากิน

tad krayom 03

ชาวบ้านพากันทำบัญชีหางว่าว เรียกร้องให้ผู้ใหญ่บ้านกลับมาอยู่ในบ้านของตนเอง เมื่อกลับมาอีกครั้ง ได้คิดทบทวนเรื่องทั้งหมดที่ผ่านมาให้เชื่อมโยงกัน จึงคิดได้ว่า ตนเองเสียคนเพราะคนอื่นไปเชื่อคนภายนอก ละเมิดศีลธรรม ตั้งแต่วันนั้นจึงหยุดดื่มเหล้า ตั้งอกตั้งใจทำงานช่วยเหลือประชาชน พาชุมชมรวมกลุ่ม และเรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรมธนาคารข้าว ทำโอ่งน้ำ ทำส้วม ออมทรัพย์ เป็นต้น จนได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่น ได้รับการสนับสนุนให้ไปดูงานต่างประเทศ

จากประสบการณ์เป็นบทเรียน พ่อทัศน์ กระยอม จึงเปลี่ยนความคิดตนเอง โดยยึดหลักธรรมะ หลักอิทธิบาท 4 และหลักอัตตาหิ อัตตโน นาโถ "เลิกเชื่อคนอื่น หันมาเชื่อภูมิปัญญาชาวบ้าน" ลงมือทำการเกษตรแบบผสมผสาน ขุดสระน้ำ ปลูกกล้วยเป็นหลัก ปลูกไม้ผล และเลี้ยงสัตว์ รู้จักออม "ไม่ประมาทว่าเงินน้อย ไม่คอยแต่วาสนา" ให้ถือหลัก 5 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ และ พยายาม

วิ่งตามเงิน เดินเข้ากองไฟ วิ่งตามธรรมะ เย็นฉ่ำชื่นใจ "

เมื่อมองดูแผนพัฒนาประเทศตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึง 7 ที่เอาเงินเป็นตัวตั้ง และประสบความสำเร็จในการหลอกล่อให้คนอยากได้เงินเร็วๆ มากๆ และง่ายๆ พ่อแม่สมัยก่อนจะสอนให้ลูกหาอยู่หากิน เช้าขึ้นมาต้องไปไร่ไปนาหาผักหาปลา แต่ทุกวันนี้สอนให้ไปหาเงิน ตื่นเช้าขึ้นมาจึงนั่งรถซื้อของที่เอามาขายในหมู่บ้าน

อยากแต่จะไปแสวงโชคในกรุงเทพฯ ทิ้งลูกไว้ให้อยู่กับปู่ย่า-ตายาย คนที่อยู่บ้านก็ไม่ได้ตั้งใจอบรมสั่งสอนลูกหลาน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูที่โรงเรียน พอลูกโตก็ให้ลูกไปเป็นกรรมกรในเมือง วนเวียนกันอยู่แบบนี้ วิถีชีวิตแบบนี้อทำให้ครอบครัวแตกกระจาย ชุมชนล่มสลาย ลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเอง ละเมิดศีลธรรม และทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ

ปี 2532 พ่อทัศน์ และครอบครัวจึงเริ่มออกมาอยู่นา เพราะอยู่บ้านถูกชวนออกไปทำเรื่องอื่นหมดเวลาไปวันๆ การไปอยู่นาทำให้มีเวลามากขึ้นในการเรียนรู้จากธรรมชาติ เริ่มขุดสระด้วยมือ เพื่อกักเก็บน้ำ ผ่านไป 2-3 เดือน เริ่มกักเก็บน้ำได้เมื่อมีน้ำจึงเริ่มปลูกกล้วย 30 กอ ค่อยเป็นค่อยไป เรียนรู้จนเข้าใจแล้วเริ่มปลูกต้นไม้ และเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดที่กินได้ใช้ได้ แจกญาติพี่น้องได้ เหลือกินเหลือแจกก็ขายไปผสมผสานกัน พ่อทัศน์บอกว่า ที่ต้องปลูกกล้วยก่อน เพราะกล้วยเป็นต้นไม้ยืนต้น เมื่อโตขึ้นสามารถย้ายกล้วยไปปลูกที่อื่น ซึ่งนอกจากจะป้องกันโรคแล้วยังให้ผลผลิตระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ไม่ต้องลงทุน สามารถใช้หน่อขยายพันธุ์ได้ ระหว่างต้นกล้วยเสริมด้วยขิง ข่า ตะไคร้ พืชผักผลไม้ระยะสั้นๆ นับร้อยนับพันชนิด รวมทั้งปลูกไม้ยืนต้นหลากหลายพันธุ์ เช่น ขี้เหล็ก สะเดา ผักติ้ว กะท้อน ขนุน มะขาม ประดู่ มะค่า แดง จิก เป็นต้น

tad krayom 02

ค่อยๆ ถอยห่างออกจากพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าว ปอ มัน การวิ่งตามธรรมะ หรือธรรมชาติทำให้เกิดปัญหาและความสุขอย่างมาก ทั้งหมดเป็นทั้งไม้ยืนต้น ผักผลไม้ และไม้สำหรับใช้สอย นับได้เกือบ 60 ชนิดในผืนดิน 12 ไร่ "ทำไว้กิน เหลือกินแจก เหลือแจกขาย" เป็นข้อคิดที่พ่อทัศน์ฝากไว้ ผืนดิน 1 ไร่ สำหรับพ่อทัศน์จึงไม่ได้มีความหมายเพียงพื้นดิน 1,600 ตารางเมตร

พ่อทัศน์ กระยอม ได้ทดลองปลูกกล้วยจนมั่นใจ และฟันธงวิเคราะห์ให้ฟังถึงผลดีด้านเศรษฐกิจว่า "ลองปลูกกล้วยระยะห่าง 4 เมตร 1 ไร่ จะปลูกกล้วยได้ถึง 100 กอ พอเข้าปีที่ 2 กล้วย 1 กอ จะออกเครือได้อย่างน้อย 3 เครือ ไร่หนึ่งๆ จะมีกล้วยไม่น้อยกว่า 5 หวี ก็จะได้กล้วยไร่ละไม่น้อยกว่า 1,500 หวี หากขายได้หวีละ 5 บาท ก็จะได้เนื้อกล้วยถึงไร่ละ 7,500 บาท ซึ่งยังไม่รวมใบกล้วย ปลีกล้วย และหน่อกล้วย

อย่างไรก็ตาม หากปลูกกล้วยทั่วประเทศอย่างเดียวจำนวนมากๆ ก็จะเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดอีก จึงต้องเสริม ขิง ข่า ตะไคร้ และพืชผักผลไม้ระยะสั้นๆ รอบต้นกล้วยนับร้อยนับพันชนิด รวมทั้งระหว่างกล้วยแต่ละต้นหาไม้ยืนต้นที่หลากหลายทั้งผัก เช่น ขี้เหล็ก สะเดา ผักติ้ว ไม้ยืนต้นที่เป็นผลไม้ เช่น กะท้อน ขนุน มะขาม และไม้ยืนต้นที่เป็นไม้ใช้สอย เช่น ประดู่ มาคร่า แดง จิก กุง เป็นต้น สลับกันจะได้กล้วย 100 ต้น และต้นไม้ใหญ่ถึง 100 ต้นต่อไร่

เมื่อต้นไม้ยืนต้นโตขึ้นก็สามารถย้ายกล้วยไปปลูกที่อื่น การทำเช่นนี้นอกจากป้องกันโรคได้แล้ว ยังช่วยให้ได้ผลผลิตระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ไม่ต้องลงทุนเพาะพันธุ์กล้วย พันธุ์ต้นไม้ยืนต้นก็มีอยู่แล้วในพื้นที่ สามารถเอาหน่อ เอาเมล็ดพันธุ์จากไม้ยืนต้นที่แม่พันธุ์สวยและแข็งแรงมาเพาะกล้าไม้ไปปลูก ทำให้ไม่เสียเงินซื้อพันธุ์ไม้ เหลือขายก็ใช้วิธีเอาพันธุ์ดีมาต่อกิ่งหรือติดตาหรือเปลี่ยนยอดกับต้นตอ ในที่สุดก็ได้ผลผลิตพันธุ์ดีไว้รับประทาน เหลือขายรวมทั้งได้เนื้อไม้เป็นบำนาญชีวิตในระยะยาว"

ปราชญ์ชาวบ้าน - พ่อทัศน์ กระยอม 1

6 รู้ที่พึงมี ของพ่อทัศน์

  • รู้เรื่องที่คิด
  • รู้กิจที่ทำ
  • รู้คำที่พูด
  • รู้จุดประสงค์
  • รู้ตรงความจริง
  • รู้สรรพสิ่งทั้งปวง

ปราชญ์ชาวบ้าน - พ่อทัศน์ กระยอม 2

 

redline

backled1

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)