foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

philosopher header

ทำเกษตรมีแต่จน ทำแล้วมีแต่หนี้... จริงหรือ...?

วันนี้มีตัวอย่างดีๆ จากเกษตรกรตัวจริง เสียงจริง มาเล่าสู่กันฟังว่า ถ้าเอาเข้าจริงทำด้วยความรู้ มีสติ คิดพิจารณาก่อนจะลงมือ การเป็นเกษตรกรนั้นแสนจะมั่งมีขนาดไหน รวยทั้งอาหาร รวยเงิน และรวยความสุข นี่คือหนึ่งตัวอย่างดีๆ ที่ทุกคนสามารถเลียนแบบเอาเยี่ยงอย่างได้

Kampan Laowong 02นายคำพันธ์ เหล่าวงษี

ปราชญ์เกษตร สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2559

คำพันธ์ เหล่าวงษี เป็นชาวอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ชีวิตเคยทำมาหลายอาชีพ ตั้งแต่รับจ้างตามโรงงาน เพราะร่ำเรียนสายอาชีพในแผนกช่างกลโลหะ และเข้ามาทำงานในโรงงานที่กรุงเทพฯ จนได้พบว่า รายได้ในแต่ละเดือนไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่มี จึงหันกลับมาเปิดโรงกลึงที่บ้านเกิด โดยนำที่นาไปจำนองมาเป็นทุน แต่สุดท้ายก็เป็นหนี้สินจนต้องตัดสินใจขายที่นาทั้งหมดเพื่อชำระหนี้

และได้ทบทวนบทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พร้อมศึกษาแนวพระราชดำริ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้คำพันธ์ หันกลับมาทำการเกษตร ตามแนวพระราชดำริ ในปี พ.ศ. 2541 โดยดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณ คือ ทำตามสภาพของตนเอง ทำจากน้อยไปมาก จากง่ายไปยาก พึ่งพาตนเอง เน้นความพอเพียง ใช้เหตุผลในการวางแผนการดำเนินชีวิต โดยพิจารณาตามหลักการว่าจะทำอะไร ช่วงไหน อย่างไร เท่าไหร่ และแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในครอบครัว พร้อมทั้งมีการวางแผนรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ทั้งด้านการใช้จ่ายโดยมีการเก็บออม วางแผนด้านการเกษตร โดยคิดหาวิธีกักเก็บน้ำในช่วงแล้ง ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อป้องกันความเสี่ยง มีการศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองอย่างสม่ำเสมอ

ส่งผลให้ครอบครัวมีอยู่มีกิน พึ่งพาตนเองได้ จากการต้องดิ้นรนออกไปรับจ้างหาเงิน ปรับเปลี่ยนเป็นการสร้างรายได้ให้เกิดในพื้นที่การเกษตรของตนเอง ปลูกพืชผักสวนครัวหลากหลายชนิดไว้บริโภค แลกเปลี่ยนในชุมชน แจกจ่าย เมื่อเหลือจึงนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และทุกคนในครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน ไม่ต้องออกไปดิ้นรนต่างถิ่น ทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว

Kampan Laowong 01

ผลจากความไม่ย่อท้อในการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ช่วง 1-3 ปีแรก ครอบครัวมีความพออยู่พอกินมีผลผลิตเหลือขาย เริ่มมีเงินออม และในปีที่ 6 สามารถชำระหนี้สินได้หมดสิ้น สร้างบ้านอยู่อาศัยได้เพิ่ม อีก 3 ปีต่อมาก็สามารถซื้อที่ทำการเกษตรเพิ่มได้อีก 7 ไร่ และส่งลูกเรียนได้ทุกคน นอกจากนั้น นายคำพันธ์ ยังเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เอื้ออาทร ไม่มัวเมาอบายมุข ประกอบสัมมาอาชีพโดยไม่เบียดเบียนใคร ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนในชุมชน อุทิศตนในการทำงานให้กับสังคมด้วยการเป็นผู้นำ และผู้ร่วมในการพัฒนาด้านต่างๆ เป็นอาสาสมัครครูบัญชี เป็นศูนย์อบรมผู้มีจิตอาสาพัฒนาสังคมที่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

จากวันนั้นถึงปัจจุบันเกือบ 20 ปี ที่ผ่านมา เขาประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร จนสามารถปลดหนี้ และสร้างชีวิตใหม่ สร้างครอบครัว จนได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง ทั้งคนในจังหวัด และรวมถึงเป็น "ศูนย์เรียนรู้" ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้สนใจทั่วประเทศ จนกระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พิจารณาและประกาศคัดเลือกให้ได้รับรางวัล สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2559 และเข้ารับโล่รางวัลพระราชทาน เมื่อวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2559

นายคำพันธ์ เป็นผู้คิดค้นผลงานสร้างองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง เช่น ศึกษาและคิดค้น โมเดล 1 งาน 1 แสน โดยผสมผสานกับองค์ความรู้ เทคนิคการทำเกษตรกรรมยั่งยืนแบบผสมผสาน ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ ให้แก่เกษตรกรที่ต้องการทำการเกษตรตามหลักการพึ่งพาตนเอง สามารถนำไปปฏิบัติตามได้จริง ศึกษาองค์ความรู้ในการทำนาอินทรีย์ต้นทุนต่ำ ด้วยวิธีการปลูกข้าวแบบต้นเดียว ที่นอกจากจะลดต้นทุนในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกรแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตที่ได้ จัดตั้งตลาดชุมชนหรือตลาดสีเขียวแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้กับสมาชิกในชุมชน สร้างให้เกิดความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผ่านกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา เป็นต้น

Kampan Laowong 05

นายคำพันธ์ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมีความโดดเด่นในเรื่อง การปลูกข้าวอินทรีย์ โดยการนำเอา "ข้าวพันธุ์หอมมะลิแดง พันธุ์หอมนิล พันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ พันธุ์ข้าวเหนียวดำ" ผ่านกระบวนการผลิต แล้วนำมาแปรรูปเป็น ข้าวกล้องและข้าวกล้องงอก โดยกระบวนการผลิตทั้งหมดมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปอเทือง การไถกลบตอซัง เพื่อเตรียมความพร้อมของแปลงนา หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพตามช่วงระยะเวลาของต้นข้าว ช่วงหว่านข้าว ช่วงข้าวตั้งท้อง และก่อนการเก็บเกี่ยว สามารถเพิ่มได้ตามความเหมาะสม

ด้านการดูแลรักษาจะเน้นการจัดการระบบน้ำ การควบคุมน้ำในแปลงนาให้เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคแมลงศัตรูพืช ส่วนมากไม่ได้รับผลกระทบต่อผลผลิต และเสียหายน้อยเนื่องจากไม่ได้ใช้สารเคมี จึงทำให้ต้านทานโรคได้ ในส่วนของการตลาดจะเป็นการขายตรงสู่ผู้บริโภค ผ่านการขายในตลาดนัดของกลุ่มภายในชุมชน หน่วยงานราชการ และในจังหวัดที่จัดขึ้นเป็นประจำ โดยผลิตภัณฑ์จะเป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้บริโภค ทำให้มีตลาดรองรับที่แน่นอนและสามารถกำหนดราคาได้ เคล็ดลับและข้อแนะนำในการปลูกข้าวอินทรีย์ คือต้องหมั่นปรับปรุงบำรุงดิน ดูแลเอาใจใส่ในการเพิ่มแร่ธาตุอาหารในดินก่อนทำนา และการคัดเมล็ดพันธุ์ควรเป็นพันธุ์แท้ หรือแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ในการแปรรูปต้องตากข้าวให้แห้งก่อนการจำหน่าย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขึ้นรา

นายคำพันธ์ เล่าว่า เนื่องจากตัวเองมีที่ดินไม่มาก มีพื้นที่ทำการเกษตรเพียง 6 ไร่ เมื่อตัดสินใจทำการเกษตร เขาได้ไปศึกษาการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ก็พบว่า จะต้องเริ่มสร้างความมั่นคงให้ที่ดินที่จะทำการเกษตรเสียก่อน ซึ่งก็คือ แหล่งน้ำ จึงได้เริ่มขุดบ่อน้ำโดยใช้พื้นที่ 2 ไร่ อีก 1 ไร่ ทำที่อยู่อาศัย และอีก 1 ไร่ ปลูกข้าวเพื่อที่จะเป็นแหล่งอาหารของครอบครัวเพื่อลดรายจ่าย และพื้นที่ที่เหลือใช้สำหรับประกอบอาชีพ ที่มีทั้งการปลูกไม้ผล ปศุสัตว์ ประมง และพืชผักสวนครัว

“เหนือบ่อน้ำผมทำเป็น คอกหมู เล้าไก่ เมื่อมันขี้ก็จะลงไปเป็นอาหารปลา มีปลาหลายชนิดและกบ ซึ่งเป็นเงินที่สะสมในธนาคาร จับขายก็ได้เงิน ในพื้นที่บกหรือพื้นที่สวนจะปลูกผัก ไม้ผลหลากหลายชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาดในพื้นที่ เป็นรายได้รายวัน สำหรับมูลสุกรที่ได้มาก็นำไปทำปุ๋ยคอก ทั้งหมดทำให้ผมมีทั้งอาหารที่พอกิน ถ้าเหลือก็นำไปจำหน่าย และที่สำคัญผมได้วัตถุดิบการเกษตรชั้นดีคือ ปุ๋ยคอก ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญเกือบ 20-30% ของสินค้าเกษตรแต่ละตัว”

Kampan Laowong 03

แต่ที่น่าพิศวง คือ การสร้างรายได้ให้ 1 งาน 1 แสนบาทได้อย่างไร เพราะจากเนื้อที่ทำการเกษตร คิดอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้ผลผลิตจำนวนมากและก่อให้เกิดรายได้ขนาดนั้น

นายคำพันธ์ เล่าว่า เดิมนั้นปลูกผัก ปลูกมะนาว มะละกอ ขาย ก็มีรายได้เพียงเลี้ยงครอบครัว จึงมาคิดว่าทำอย่างไรจะต่อยอดสร้างรายได้เพิ่ม จึงไปอบรมการติดตา ตอนกิ่งการทาบกิ่ง ไปเรียนรู้จากศูนย์ถ่ายทอดของกระทรวงเกษตรฯ บ้าง ของปราชญ์ชาวบ้านในที่อื่นๆ บ้าง และกลับมาเริ่มต้นทำใหม่ โดยการหัดพัฒนาสายพันธุ์พืชผลที่ปลูกและมีความถนัด เหตุที่เขาต้องคิดและพัฒนาตัวเองอย่างนั้น เนื่องจากส่วนมากเกษตรกรจะมีที่ดินน้อย และขาดแหล่งน้ำ การที่เขาทำและประสบความสำเร็จ ทำให้กลายเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรด้วยกัน

“ในที่ดินแต่ละ 1 งาน หรือ 100 ตารางวา ผมจะมีการปลูกทั้งผัก ไม้ผล พืชสวนครัว และเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งไก่ หมู ซึ่งจะคละกันไปทุกอย่างจะปลอดสารพิษ และมีการทำปุ๋ยใช้เอง เพราะฉะนั้นใน 1 งาน ผมจะมีพืชผักสวนครัว กลุ่มพืชเหล่านี้ ผมเรียกว่า เป็นพืชที่สร้างรายได้เข้าบ้านรายวัน ทั้งพริก มะเขือ ผักสวนครัว ที่รองรับตลาดความต้องการในชุมชน โดยเฉพาะมะเขือ ที่ได้มีการพัฒนาจนได้มะเขือยักษ์ เป็นที่ต้องการของตลาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นิยมนำไปทำซุปมะเขือ เป็นต้น หรือผักทั่วไป คนมาซื้อกันเยอะ เพราะที่สวนผมไม่มีการใช้สารเคมีมาเกือบ 15 ปีแล้ว ส่วนไม้ผล ปลา กบ เป็นเงินสะสมในธนาคาร สิ้นปีหรือผลผลิตออก ผมจะมีเงินก้อนมาเก็บเข้าธนาคาร”

นายคำพันธุ์ เล่าว่า เกษตรกรไทยจำนวนมากเลือกที่จะขายผลผลิต ซึ่งหมายถึงเขาต้องมีที่ดินหลายสิบไร่ ที่จะสามารถขายสินค้า เช่น มะละกอ เป็นร้อยกิโลกรัม หรือข้าวเป็นสิบๆ เกวียน เพื่อจะได้เงินก้อน และแน่นอนว่าต้องใช้เงินมากเพื่อลงทุนใหม่ ทุกครั้งเมื่อเริ่มการผลิต เช่น เริ่มปลูกข้าว เริ่มปลูกมัน เพราะขาดการสร้างธนาคารของครัวเรือน เพราะฉะนั้นทางรอดของเกษตรกรไทย คือ ต้องหัดเรียนรู้และทำมากกว่า 1 อาชีพ 

Kampan Laowong 06

“ต้องทำแบบเกษตรผสมผสาน และยึดเอาแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ มาใช้ในการวางแผนจัดการที่ดิน เอาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในครอบครัว และต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเอง เช่น มะละกอ ผมจะปลูกไม่มาก แต่ทั้งหมดจะเป็นต้นที่ผมคัดพันธุ์พัฒนาพันธุ์เอง แต่ละต้นจะดูแลอย่างดี ให้ออกลูกแล้วไม่เกินต้นละ 5 ลูก เมื่อได้ที่ ผมเก็บเมล็ดมาเพาะต้นขาย ซึ่งทุกคนก็ยอมรับว่ามะละกอสวนผมดี ดังนั้นมะละกอแต่ละลูกของผมจะทำรายได้ให้กับผมไม่น้อยกว่า 1,000 บาท/ลูกจากเพาะเมล็ดไม่ใช่แค่ขายลูกไปกิน”

ไม้ผลที่เลือกมาปลูกนั้น ย้ำว่า ต้องเป็นไม้ที่ตลาดต้องการในพื้นที่ จะได้ไม่เสียเงินค่าขนส่งเพื่อไปขายนอกพื้นที่ เช่น มะรุม ที่เขาขายได้ทั้งฝักสด เมล็ดแห้ง และยังสามารถขายกิ่งพันธุ์ ไม้แต่ละต้นจึงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเขาได้อย่างน่าพอใจ เช่นเดียวกับ มะนาว ที่จะเน้นขายกิ่งพันธุ์มากกว่าขายผล สิ่งเหล่านี้เขาบอกว่าได้มาจากการศึกษาเรียนรู้และเป็นการต่อยอดรายได้

“ไม้ผลผมปลูกประมาณ 30 ชนิด ทุกชนิดผมขายกิ่งพันธุ์ ไม่ได้ขายเป็นผล มะม่วง มะนาว ผมตอนกิ่งขายทั้งหมด  เช่น มะนาวแต่ละฤดูสามารถทำรายได้เกือบ 5 หมื่นบาท จากการขายกิ่งพันธุ์เพียงอย่างเดียว ทำให้แต่ละปีเขามีรายได้ จากการทำการเกษตรไม่ต่ำกว่า 3-4 แสนบาท/ปี”   

Kampan Laowong 04

ในขณะที่แปลงนา นายคำพันธ์ ถือเป็นต้นแบบที่ดีของการลดต้นทุนการผลิต โดยนาที่เขาทำจะเป็นการปลูกแบบข้าวต้นเดียว ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและลดต้นทุนการผลิตชนิดที่กระทรวงเกษตรฯ ควรจะเอาไปเป็นต้นแบบ

“การทำนามีต้นทุนเพียง 800 บาท/ไร่จากค่าไถ 400 บาท/ไร่ และค่าแรงที่คิดกันเองในครัวเรือน โดยการทำนาจะเริ่มจากการปรุงดิน ที่จะปลูกปุ๋ยพืชสด ที่จะไถกลบ ก่อนที่จะปล่อยน้ำสำหรับหว่านข้าว ซึ่งจะใช้เมล็ดพันธุ์เพียงครึ่งถึง 1 กิโลกรัม/ไร่เท่านั้น จากปกติที่ชาวนาทั่วไปจะใช้ถึง 30-50 กิโลกรัม/ไร่หลังข้าวอายุกล้าได้ 10-12 วัน จะนำมาปักดำกอละ 1 ต้น ด้วยระยะห่าง 40 คูณ 50 เซนติเมตรโดยทุกต้นที่ปักจะต้องมีเมล็ดข้าวติดอยู่เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงต้นกล้า สำหรับปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยเมล็ดชีวภาพที่ทำเองและเมื่ออายุข้าว 1 เดือนจะฉีดพ่นด้วยปุ๋ยฮอร์โมนที่หมักเองจากหอยเชอรี่และรกหมู ที่ได้จากคอกหมู และเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็จะใช้แรงงานในครัวเรือน ซึ่งผลผลิตที่ได้มากถึง 760 กิโลกรัม/ไร่”

ทั้งนี้ ข้าวที่ปลูก นายคำพันธ์ บอกว่า เขาเก็บพันธุ์ข้าวไว้เอง จึงเป็นพันธุ์ดี พันธุ์บริสุทธิ์ ซึ่งที่บ้านจะปลูกพันธุ์พื้นเมืองคือ ข้าวหอมนิล 1 ไร่สำหรับบริโภค ส่วนที่ดินอีก 5 ไร่ จะปลูก 3 สายพันธุ์ คือ ข้าวหอมนิล ข้าวหอมใบเตยและข้าวเหนียวสันป่าตอง เพื่อจำหน่าย ซึ่งมีผู้สนใจมารับซื้อถึงแปลง เนื่องจากเป็นข้าวปลอดสารเคมี และในฐานะเป็นอาสาสมัครครูบัญชีมาก่อน สะท้อนให้เห็นว่าเป็นคนที่มีวินัยทางการเงินระดับหนึ่งทีเดียว

วิถีไทย วิถีพอเพียง - คำพันธ์ เหล่าวงษี

นายคำพันธ์ เล่าว่า สิ่งที่ได้จากการเป็นเกษตรกร คือ 1. มีกินแน่นอน จากผลผลิตจากสวนเกษตร 2. มีรายได้ทุกวันจากการขายผลผลิต และ 3.มีความมั่นคงในอาชีพหากคนยังต้องกินต้องใช้สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพจะขายได้แน่นอน นายคำพันธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า

การทำเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีวันจน ผมพิสูจน์และทำสำเร็จมาแล้ว ”

ท่านที่สนใจอยากไปเยี่ยมชม ปรึกษาในเรื่องการทำเกษตรแบบพอเพียง ติดต่อที่

นายคำพันธ์ เหล่าวงษี
บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทรศัพท์ 089-618-4075, 061-582-2235

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)