foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

prawat header

teach 1

26. จาริกสู่ตะวันตกครั้งที่ 2

ในครั้งแรกของการไปเผยแผ่พุทธธรรมยังต่างประเทศ ชาวอังกฤษบางคนเรียนถาม หลวงพ่อว่า "ชีวิตของพระเป็นอย่างไร?... ทำไมชาวบ้านถึงได้เลี้ยงดู โดยที่พระไม่ได้ทำอะไร?"

หลวงพ่อตอบแบบอุปมาว่า...

...ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก มันเหมือนกับนกที่อยากรู้เรื่องของปลาในน้ำ ถึงปลาบอกความจริงว่า อยู่ในน้ำเป็นอย่างไร นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้ ตราบใดที่นกยังไม่เป็นปลา "

พวกเขาเหล่านั้นพอใจในคำตอบของหลวงพ่อมาก หลังจากกลับสู่เมืองไทยแล้ว ในปี พ.ศ. 2520 หลวงพ่อจึงได้รับหนังสือจาก บี.บี.ซี. แห่งประเทศอังกฤษ ติดต่อขอเข้าถ่ายทำภาพยนต์เกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ วัดหนองป่าพง ตอนท้ายของหนังสือติดต่อฉบับนั้น มีข้อความอยู่ประโยคหนึ่ง ซึ่งเขาเน้นว่า "หวังว่าท่านอาจารย์ คงจะเป็นปลาที่เห็นประโยชน์ (เกื้อกูล) แก่นก"

The Mindful Way ภาพยนตร์สารคดี ที่ BBC เข้ามาถ่ายทำเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในเมืองไทย
และได้เข้าไปถ่ายทำชีวิตความเป็นอยู่ และข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุ วัดหนองป่าพง ตุลาคม 2520

ในต้นเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2520 สำนักข่าวต่างประเทศ (BBC) ได้เข้ามาถ่ายทำภาพยนต์สารคดี เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ข้อวัตรปฏิบัติ และกิจวัตรประจำวันของพระกรรมฐานที่วัดหนองป่าพง หลังจากนั้น ไม่นาน หนังสารคดีเรื่องนี้ก็ได้แพร่หลายสู่สายตาของคนค่อนโลก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ทางมูลนิธิกิจการสงฆ์แห่งอังกฤษได้ติดต่อนิมนต์หลวงพ่อ ให้จาริกไปเผยแพร่ธรรมะที่ประเทศอังกฤษอีกครั้ง

The Buddha Comes to Sussex เป็นภาพยนตร์สารคดี ที่ BBC ถ่ายทำในขณะที่ หลวงพ่อชา สุภัทโท
และหลวงพ่อโรเบิร์ต สุเมโธ จาริกไปเผยแผ่พระธรรม ยังประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2520

หลวงพ่อกับพระอาจารย์ปภากโร จึงได้เดินทางสู่ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522 การไปอังกฤษครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศมากขึ้นกว่าครั้งแรกหลายเท่า และหลวงพ่อยังได้ไปดูสถานที่ซึ่งมีคนถวาย เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักสาขาถาวร

สถานที่แห่งใหม่เป็นป่าธรรมชาติของเมืองหนาว อยู่ใกล้ทะเลสาบ มีคฤหาสน์โบราณอยู่หลังหนึ่ง ต่อมาพระชาวตะวันตกศิษย์ของหลวงพ่อได้ย้ายจากแฮมป์สเตท กลางกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นที่พักแห่งแรก ไปอยู่สำนักใหม่ที่หมู่บ้านชิตเฮิร์ต เมืองปีเตอร์ฟิลด์ มณฑลซัสเซกซ์ตะวันตก ปัจจุบันนี้มีชื่อว่า วัดป่าจิตตวิเวก

jitvivek

หลวงพ่อพักอยู่ที่ซัสเซกซ์ระยะหนึ่ง แล้วเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา กับพระอาจารย์ปภากโร ได้ไปพักที่ สำนักกรรมฐานของนายแจ๊ค คอร์นฟิลด์ (อดีตพระสุญฺโญ) ซึ่งเป็นศิษย์เคยบวชอยู่ที่ วัดหนองป่าพง ระยะเวลาเก้าวันที่หลวงพ่อพักอยู่ที่สำนักนั้น ได้อบรมกรรมฐานแก่ชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับความสนใจจากพวกเขาเหล่านั้นมาก

หลวงพ่อเล่าถึงประสบการณ์ครั้งหนึ่ง ในอเมริกาให้ญาติโยมฟังว่า...

"อาตมาเคยไปสหรัฐ เขาให้ไปพูดในบ้านชาวคริสต์ ก็พูดตามภาษาเรานั่นแหละ เมื่อพูดจบลง คริสต์แก่ๆ คนหนึ่งถามว่า...

ท่าน... ศาสนาพุทธอยู่เมืองไทย แต่ทำไมขโมยเยอะ? "

ใช่... จริง.. ยอมรับร้อยเปอร์เซนต์เลย.. แต่ว่าขโมยเหล่านั้นไม่ใช่ศาสนา มันเป็นคน คนเป็นขโมย ไม่ใช่ศาสนาเป็นขโมย... คนที่สอนศาสนาก็ไม่ให้ทำอย่างนั้น... ศาสนาก็ไม่ให้ทำอย่างนั้น แต่คนทำ.. ไม่ใช่ศาสนาทำ.. เขาตบมือให้เหมือนกัน

อาตมาจึงถามบ้างว่า สหรัฐมีขโมยหรือเปล่า? เขาไม่อยากตอบเหมือนกัน เพราะขโมยก็เยอะเหมือนกัน"

หลวงพ่อได้แนะนำหลักการปฏิบัติ และสนทนาตอบปัญหาธรรมแก่ผู้สนใจในสถานที่หลายแห่งในอเมริกา ซึ่งเป็นที่ยอมรับและซาบซึ้งแก่ชาวต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากพำนักอยู่ที่อเมริการะยะหนึ่ง หลวงพ่อได้เดินทางย้อนกลับมาอังกฤษ ได้อยู่ดูแลการเคลื่อนย้ายสำนักจากที่เก่าคือ วิหารแฮมป์สเตท ไปยังสำนักใหม่ที่มณฑลซัสเซกซ์ตะวันตก

หลวงพ่อใช้เวลาในการไปเผยแผ่ธรรมะครั้งนี้สองเดือน แล้วได้กลับสู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2522

people

การเดินทางไปประกาศสัจธรรม ในต่างประเทศของหลวงพ่อทั้งสองครั้งนั้น ทำให้หลักธรรมปฏิบัติของพุทธศาสนา ได้เผยแผ่ออกไปอย่างกว้างไกล ยังผลให้มีสำนักปฏิบัติธรรม ที่มีลักษณะคล้ายวัดป่าในเมืองไทยเกิดขึ้นหลายแห่งในซีกโลกตะวันตก เป็นสถานที่ฝึกหัดปฏิบัติ และ ให้หลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามแก่ผู้คนในถิ่นนั้น

ปัจจุบันมีสำนักสาขาของวัดหนองป่าพง ในต่างประเทศกว่าสิบแห่ง ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เพื่อสืบเจตนารมณ์ของหลวงพ่อ ดังที่ท่านเขียนไว้ในสมุดบันทึก ตอนจาริกสู่ต่างประเทศว่า

ต้องยอม เสียสละทุกอย่างให้แก่พระศาสนา เพื่อประชาชนเป็นจำนวนมาก
ในเวลานี้ ดอกบัวกำลังจะบาน ในทิศตะวันตกอยู่แล้ว..."

redline

arr 1larr 1uarr 1r

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)