คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
เครื่องบริขารสำหรับการจาริกธุดงค์
ต้นปี พ.ศ. 2489 หลวงพ่อ กับ พระถวัลย์ ญาณจารี ได้จาริกธุดงค์จากอุบลราชธานี มุ่งสู่ภาคกลาง เพื่อสืบเสาะหาครูอาจารย์ด้านการปฏิบัติ ท่านทั้งสองเดินทางรอนแรมมาเรื่อย กระทั่งผ่านดงพญาเย็นเข้าสู่เขตจังหวะสระบุรี ได้หยุดพักอยู่ที่บ้านยางคู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้น หลวงพ่อได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อเภา แห่งวัดเขาวงกฏ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นครูอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมปฏิบัติในเขตนั้น จึงตกลงกับเพื่อนแล้วเดินทางไปยังวัดเขาวงกฏ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หลวงพ่อเภาท่านมรณภาพไปเสียแล้ว คงเหลือแต่ท่านอาจารย์วรรณ ซึ่งเป็นศิษย์ดูแลสำนักแทน เมื่อพิจารณาสถานที่วัดเขาวงกฏ ก็พบว่า มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ จึงขอพำนักจำพรรษาที่นั่น
ในพรรษานั้น ได้มีโอกาสศึกษาข้อวัตรปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาวางแนวทางไว้ หลวงพ่อเคยเล่า ถึงปฏิปทาบางอย่างของหลวงพ่อเภาให้พระเณรฟังว่า... วันหนึ่งขณะหลวงพ่อเภานั่งสนทนาอยู่กับลูกศิษย์รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระมหาเปรียญ มีโยมผู้หญิงมากราบนมัสการและออกปากนิมนต์ ว่า... "หลวงพ่อ.. วันนี้ดิฉันขอนิมนต์หลวงพ่อไปเที่ยวด้วย จะไปไหมคะ" หลวงพ่อเภานิ่งเฉย ไม่พูดอะไร พระมหารูปนั้นก็นึกว่า หลวงพ่อเภาคงไม่รู้เรื่อง หรือคงไม่ได้ยิน จึงบอกว่า "หลวงพ่อๆ โยมถาม ได้ยินไหม? เขาจะนิมนต์ไปเที่ยวที่โน้น"
หลวงพ่อเภาก็ว่า "ได้ยิน" โยมผู้หญิงก็ถามอีกว่า "หลวงพ่อไปหรือเปล่าคะ" ท่านก็เฉย ไม่พูด ไม่ตอบ เลยไม่รู้เรื่องกัน เมื่อโยมผู้หญิงกลับไปแล้ว พระมหาก็ถามว่า.. "หลวงพ่อ โยมเรียนถาม ทำไมหลวงพ่อไม่พูด" หลวงพ่อเภาตอบว่า "โอ้ มหา ท่านรู้หรือเปล่า คนที่มาเมื่อกี้มีแต่ผู้หญิงทั้งนั้น จะชวนพระร่วมเดินทางด้วย.. นี่คุณจะไปรับปากกับเขาทำไม.. ให้เขาชวนข้างเดียวไม่เป็นอะไร เมื่อเราอยากจะไป... ก็ไป เพราะเราไม่ได้ชวนเขา เขาชวนเราข้างเดียว" (พระชวนผู้หญิง ร่วมเดินทางด้วยเป็นอาบัติปาจิตตีย์) ท่านมหาก็เลยนั่งคิด "อือ... เราเสียคนเหลือเกินนะ"
หลวงพ่อเล่าต่ออีกว่า ครั้งนั้นมีคนเอาเงินมาถวายหลวงพ่อเภา พอเขาเอาใส่ถาดมา ท่านก็ปูผ้าเช็ดหน้าไปรับ เมื่อเขาเอาถาดวางลงบนผ้า ท่านก็ปล่อยมือจากผ้าเช็ดหน้า... เงินก็ทิ้งไว้ที่เตียงนั้น ท่านรู้แล้วแต่ไม่สนใจลุกหนีไป คือในพระวินัยกล่าวว่า ถ้าเราไม่ยินดีในเงินนั้น ไม่บอก เขาก็ได้ เสร็จธุระแล้วก็ให้เป็นหน้าที่ของโยม แต่ถ้าหากว่าเรามีความยินดีก็ต้องบอกเขาว่า "โยม สิ่งนี้ไม่สมควรแก่พระ" ต้องห้ามเขาในสิ่งที่มันผิด (ภิกษุรับเอง ให้ผู้อื่นรับ ซึ่งเงินทอง หรือยินดีเงิน ทอง อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์)
และที่วัดเขาวงกฏ หลวงพ่อยังได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ชาวกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระธุดงค์ที่ชอบอยู่อย่างสันโดษตามป่าเขา มีความรู้แตกฉาน เชี่ยวชาญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ในวันหนึ่งหลังจากสนทนากันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกลับไปบำเพ็ญภาวนาตามปกติ ตอนกลางคืนหลวงพ่อชอบขึ้นไปเดินจงกรม และนั่งสมาธิที่บนเขา ประมาณสี่ทุ่มกว่าของคืนวันนั้น ขณะหลวงพ่อเดินจงกรมในความมืด ได้ยินเสียงผิดปกติเกิดขึ้นในป่าข้างทางจงกรม ในครั้งแรกหลวงพ่อคิดว่า คงเป็นเสียงงูหรือสัตว์ป่าออกหากิน แต่พอเสียงเดินคล้ายสัตว์ย่ำเท้าหนักๆ บนใบไม้แห้งเข้ามาใกล้ ก็ปรากฏเป็นเงาตะคุ่มดำของคนเดินออกมาจากป่า แล้วหยุดยืนอยู่ที่ เบื้องหน้า หลวงพ่อเพ่งดูจึงรู้ว่าเป็นท่านอาจารย์ชาวกัมพูชา จึงถามขึ้นว่า...
ปฏิปทาอันน่าสรรเสริญของท่านอาจารย์ชาวกัมพูชา ได้ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของหลวงพ่อตลอดมา การปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อที่วัดเขาวงกฏ ท่านพยายามแสวงหาอุบายหลายอย่าง เพื่อหาหลักการภาวนาที่ถูกกับจริตของตน วันหนึ่ง หลวงพ่อรำลึกถึงครั้งยังเป็นสามเณรอยู่ที่วัดก่อนอก เคยเห็นพระบางรูปมีลูกประคำห้อยคอ สำหรับใช้บริกรรมภาวนา จึงคิดอยากจะได้ มาทดลองใช้ดูบ้าง แต่ยังไม่รู้จะไปหาที่ไหน มองไปเห็นลูกตะแบกกลมๆ อยู่บนต้น พอจะใช้แทนกันได้
ครั้นจะปีนขึ้นไปปลิดเอาลงมาเองก็เป็นการผิดวินัยจึงได้แต่เพียงคิด ต่อมาไม่กี่วันลิงฝูงหนึ่งพากันมาหักกิ่งรูดลูกตะแบกเล่น หล่นลงมามากมาย ท่านจึงเก็บมาคิดจะร้อยเป็นพวง แต่ไม่มีด้ายจะร้อย จึงใช้วิธีถือในมือ เมื่อบริกรรมภาวนาจบบทหนึ่ง ก็หย่อนลูกตะแบกลงกระป๋องทีละลูก จนครบร้อยแปดครั้ง ทำอยู่เช่นนั้นสามวัน รู้สึกไม่ถูกจริตตนนัก จึงหยุดทำ พร้อมนึกขำตัวเองอยู่ ในใจว่า "เรานี่เหมือนพ่อค้านับลูกหมากขาย"
การบวชเรียนตั้งแต่วัยหนุ่มฉกรรจ์ ซึ่งเป็นวัยที่สภาพร่างกายมีความสมบูรณ์พร้อมต่อ พฤติกรรมทางธรรมชาติบางอย่าง ดังนั้น การเผชิญหน้ากับสัญชาติญาณอันรุนแรง จึงเป็นสิ่งที่ภิกษุทุกรูปจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับอุบายและปัญญาของแต่ละคนว่า จะสามารถฝ่าฟัน อุปสรรคนั้นได้อย่างไร ในพรรษาที่ 8 ที่วัดเขาวงกฏนี้ หลวงพ่อได้ทดลองค้นหาวิธีเอาชนะกาม ราคะหลายวิถีทาง ดังท่านเล่าว่า
นอกจากนั้น หลวงพ่อยังเล่าถึงความรู้สึกของท่าน ที่ถูกกิเลสมารหลอกล่อ จนเกือบถลำเข้าบ่วงของมันว่า...
การพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาวงกฏ หลวงพ่อได้ศึกษาคำสอนและข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ของหลวงพ่อเภา รวมทั้งได้ศึกษาพระธรรมวินัยจากหนังสือวิสุทธิมรรค และบุพสิกขาวรรณนา และได้รับคำแนะนำด้วยน้ำใจจากภิกษุชาวกัมพูชา ตลอดจนใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ เป็นหลักในการปฏิบัติ และในพรรษานั้น หลวงพ่อยังได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณกับตนเองว่า สิ่งใดที่ไม่บริสุทธิ์ และไม่ถูกต้องตามพระวินัย จะไม่เกี่ยวข้องและไม่ล่วงละเมิดเป็นอันขาด ดังคำกล่าวของท่านที่ว่า
บำเพ็ญจิตของตนอยู่เรื่อยไป ไม่ได้สงสัยในอาบัติทั้งหลายทั้งปวง ขนาดที่ว่าจิตของเรามันละอายแล้ว ไม่กล้าทำความผิดแล้ว ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ไม่ฆ่าสัตว์แม้แต่ตัวเล็กๆ มดตัวหนึ่ง.. ปลวกตัวหนึ่ง.. ถ้าจะเอามือไปบี้มัน หรือหากจะให้ฆ่าโดยเจตนา ถึงจะให้ตัวหนึ่งราคาหลายๆ หมื่น ก็ฆ่าไม่ได้ "
และเมือมาอยู่วัดหนองป่าพงแล้ว แม้ความเป็นอยู่ในสมัยแรกจะอัตคัดขัดสนมากเพียงใด หลวงพ่อมิเคยออกปากขอต่อผู้ใด (พระขอของจากคนมิใช่ญาติ มิใช่ปวารณาเป็นการผิดวินัย) รวมทั้งการปลูกสร้างเสนาสนะต่างๆ เช่น ศาลา โบสถ์ กุฏิ และอื่นๆ ก็ไม่กระทำในรูปแบบของการเรี่ยไร หรือตั้งตู้รับบริจาค คงปล่อยให้เป็นไปตามมีตามได้ ท่านจะเน้นความบริสุทธิ์ในความเป็นอยู่มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการเกี่ยวข้องกับปัจจัยเงินทอง หลวงพ่อเคร่งครัดต่อพระวินัย ข้อนี้มาก พระเณรในวัดหนองป่าพง จึงไม่มีเงินทองเป็นของส่วนตัว รวมทั้งไม่ให้ผู้อื่นรับหรือเก็บไว้เพื่อตน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)