foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

prawat header

relax

13.

ใกล้ฤดูเข้าพรรษา หลวงพ่อเดินธุดงค์มาถึงวัดป่าแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในป่าช้า เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีพระหลวงตาพำนักอยู่กับพระลูกวัดหลายรูป

วันนั้น เมื่อกล่าวธรรมปฏิสันถารกันพอสมควร หลวงตาสมภารวัดปรารภถึงภูมิจิตกับตัวเองว่า "ผมหมดความโกรธแล้ว"

หลวงพ่อรู้สึกแปลกใจมาก เพราะคำพูดเช่นนี้ไม่ค่อยได้ยินใครกล่าวบ่อยนักในหมู่ผู้ปฏิบัติ จึงอยากพิสูจน์ให้รู้ชัด และช่วงนั้นจวนเข้าพรรษาแล้ว หลวงพ่อตัดสินใจขอจำพรรษาด้วย

แต่ไม่ง่ายเสียทีเดียว หลวงตาไม่ไว้ใจใครง่ายๆ เหมือนกัน เพราะหลวงพ่อเป็นพระแปลกหน้า และยังจรมาผู้เดียว ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่าจะมาดีหรือร้ายอย่างไร หลวงตากับพระ ลูกวัดจึงปฏิเสธไม่ยอมให้พำนักด้วย แต่ผ่อนผันให้ไปจำพรรษาที่ป่าช้านอกเขตวัด

ครั้นถึงวันเข้าพรรษา หลวงตาให้พระไปนิมนต์หลวงพ่อมาจำพรรษาด้วย เพราะได้รับคำทักท้วงจากพระรูปหนึ่งว่า "พระมีพรรษามากขนาดนี้ ให้จำพรรษานอกเขตวัดเห็นจะไม่เหมาะ บางทีท่านอาจเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ได้ ไม่ควรประมาท"

แม้จะได้ร่วมจำพรรษาในสำนัก แต่หลวงตากับลูกศิษย์ก็ตั้งกติกากีดกันหลวงพ่อไว้ หลายอย่างคือ

  • ไม่ให้รับประเคนของจากโยม ต้องคอยรับจากพระรูปอื่นส่งให้
  • ไม่ให้ร่วมอุโบสถสังฆกรรม ให้บอกปริสุทธิเท่านั้น
  • เวลานั่งฉันอาหาร ให้นั่งต่อท้ายพระพรรษาน้อยที่สุดของสำนัก

กติกาทั้งสามข้อนี้ หลวงพ่อยินดีปฏิบัติตามทุกอย่าง แม้ท่านจะมีพรรษาสิบแล้วก็ตาม ท่านกลับพิจารณาน้อมเอาประโยชน์จากข้อกีดกันนั้น โดยให้คติแก่ตนเองว่า "หลวงตากับคณะ กำลังทดสอบเรา และการนั่งหัวแถวหรือท้ายแถว ก็ไม่แปลกอะไร เหมือนกับเพชรนิลจินดา จะวางไว้ที่ไหนก็มีคุณค่าเท่าเดิม และการปฏิบัติตามกติกานี้ จะช่วยลดทิฐิมานะของเราให้เบาบางลงด้วย"

การจำพรรษาร่วมกับหลวงตา ผ่านไปด้วยความสงบ เพราะหลวงพ่อวางความรู้สึกนึกคิดได้ถูกและเป็นปกติ จึงพากเพียรภาวนาอย่างสม่ำเสมอ พยายามพูดน้อย เมื่อได้ยินใครพูดสิ่งใด ก็น้อมมาพิจารณาเป็นปัญญาแก้ไขตัวเอง และเฝ้าสังเกตเลือกเอาแต่สิ่งที่ดีงามจากข้อวัตรปฏิบัติที่มีอยู่ในสำนัก เพื่อถือเอาเป็นบทเรียน

ขณะเดียวกัน หลวงตาและคณะก็จับตามองหลวงพ่ออย่างไม่ให้คลาดสายตาเช่นกัน แต่ ท่านวางเฉย ไม่แสดงกิริยาอาการใดๆ โต้ตอบ กลับคิดขอบคุณเขาว่า

เขาช่วยไม่ให้เราเผลอไปประพฤติบกพร่อง เปรียบเหมือนมีคนมาช่วยป้องกันความสกปรก ไม่ให้แปดเปื้อนแก่เรา "

ในพรรษานั้น หลวงพ่อทำความเพียรภาวนาสม่ำเสมอ เคารพกฏกติกาอย่างไม่บกพร่อง พระเณรร่วมสำนักเริ่มยำเกรงท่านมากขึ้น

เช้าวันหนึ่ง ชาวบ้านนำข้าวหมากมาถวาย หลวงตากับพระลูกวัดทุกรูปฉันกันอย่างเอร็ดอร่อย ส่วนหลวงพ่อเพียงแต่รับประเคนแล้ววางไว้ข้างๆ หลวงตาสังเกตดูอยู่จึงถามว่า

"ท่านชา ไม่ฉันข้าวหมากหรือ... ทำไมล่ะ ?"

"ไม่ฉันครับ... ผมว่ากลิ่นและรสมันไม่เหมาะแก่พระเท่าไหร่"

หลวงตาได้ฟังก็หน้าเสีย... ฉันอาหารแทบไม่รู้รส

อยู่ต่อมาวันหนึ่งในกลางพรรษา หลวงตาพาพระเณรลงเรือไปเก็บฟืนมาไว้ใช้ เมื่อถึงไร่ร้าง ริมน้ำ พระลูกวัดพากันขึ้นไปขนฟืนมากองไว้ที่ฝั่งห้วย หลวงพ่อทำหน้าที่ขนลงเรือ

ขณะจัดเรียงฟืน หลวงพ่อสังเกตเห็นไม้พะยุงท่อนหนึ่ง มีรอยถากเป็นทรงกลมยาว ประมาณ 2 เมตร ท่านคิดว่าไม้ท่อนนี้ต้องมีเจ้าของแน่ หากขนลงเรือจะมีความผิดเป็นการลักทรัพย์ ทำให้ขาดจากการเป็นพระได้ จึงไม่ยอมแตะต้อง

พอได้เวลาจวนกลับ หลวงตาเดินมาถึง เห็นไม้ท่อนนั้นถูกทิ้งอยู่ริมตลิ่ง จึงร้องถามว่า

"ท่านชา... ทำไมไม่ขนไม้ท่อนนี้ลงเรือ ?"

"ผมเห็นว่าไม่เหมาะครับ มันคงมีเจ้าของ เพราะมีรอยถากไว้"

เมื่อหลวงพ่อตอบเช่นนี้ หลวงตาชะงักงันอยู่ชั่วครู่ แล้วจึงแกล้งร้องบอกแก้เก้อให้พระเณรรีบลงเรือ โดยทิ้งไม้ท่อนนั้นไว้ริมฝั่งนั่นเอง

ความผิดพลาดของหลวงตา ผู้มีทีท่าว่าเป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัด ส่งเสริมให้คุณค่าของหลวงพ่อสูงขึ้นตามลำดับ เพราะหลวงพ่อไม่ซ้ำเติม หรือดูหมิ่นเหยียดหยามใคร กลับเก็บตัว ภาวนาอยู่เงียบๆ เช่นเดิม

หลังจากนั้นหลายวัน ชาวบ้านมาเผาข้าวหลามข้างโรงครัว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกุฏิหลวงพ่อ หลวงพ่อกลับจากบิณฑบาตก็ขึ้นกุฏินั่งพักผ่อน สักครู่หนึ่งเห็นหลวงตาเดินผ่านไปทางโรงครัว ขณะนั้นไฟลุกไหม้กระบอกข้าวหลามจนเกรียม เพราะไม่มีใครคอยพลิกกลับ

หลวงตามองซ้ายมองขวานึกว่าไม่มีใครเห็น จึงพลิกกระบอกข้าวหลามเสียเอง หลวงพ่อนั่งอยู่ที่หน้าต่างจึงเห็นการกระทำนั้น

ครั้นถึงเวลาฉัน ชาวบ้านนำข้าวหลามมาถวาย พระเณรฉันกันหมด แต่หลวงพ่อรับแล้ว วางไว้เฉยๆ หลวงตาฉันไปได้สักพัก ก็เหลือบตาสำรวจกิริยาการขบฉันของลูกศิษย์ตามความเคยชิน แต่สายตาต้องสะดุดหยุดลงทันที เพราะเห็นหลวงพ่อไม่ยอมฉันข้าวหลาม

จึงถามเบาๆ ว่า "ท่านชา ฉันข้าวหลามหรือเปล่า ?"

"เปล่าครับ" หลวงพ่อตอบ

คราวนี้หลวงตาถึงกับสะอึก แล้วพูดอย่างอายๆ ว่า "ผมต้องอาบัติแล้ว"

(พระจับอาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ถ้าของที่จับยังไม่เคลื่อนที่ต่อมา มีคนมาประเคน ในภายหลัง หากพระผู้จับฉันอาหารนั้นเป็นอาบัติ ส่วนพระรูปอื่นฉันได้ แต่ถ้าทำให้ของเคลื่อนที่ไป แม้มีผู้มาประเคนใหม่ หากพระรับมาฉันก็เป็นอาบัติด้วยกันทุกรูป)

หลวงตานึกรู้ทันทีว่า หลวงพ่อต้องเห็นตนพลิกกระบอกข้าวหลามแน่ จึงสารภาพผิดออกมา

ครั้นฉันอาหารเสร็จ หลวงตาเข้ามาขอแสดงอาบัติด้วย แต่หลวงพ่อพูดว่า "ไม่ต้องก็ได้ ครับ ให้พยายามสำรวมระวังต่อไป"

หลวงตากับพระเณรรู้สึกทึ่ง และนึกนิยมในอัธยาศัยของหลวงพ่อมากขึ้น ทั้งที่พวกตนพยายามกีดกันรังเกียจด้วยความไม่ไว้ใจ แต่พระอาคันตุกะรูปนี้ กลับหนักแน่นและใจสูงยิ่งนัก จึงตกลงกันว่าให้ล้มเลิกกติกากีดกันนั้น

แต่หลวงพ่อตอบด้วยนิสัยที่เคารพต่อกฎระเบียบว่า "ทำอย่างนั้นคงไม่เหมาะครับ ขอให้ถือ ตามกติกาเดิมที่ตั้งไว้ดีกว่า เพื่อความสงบเรียบร้อยต่อไป"

ต่อจากนั้นมา พระทุกรูปได้ให้ความสำคัญ และเคารพยำเกรงต่อหลวงพ่อมาก ความรู้สึกอคติ ที่มีต่อกันถูกทำลายลงด้วยคุณธรรม

แล้ววันหนึ่ง กาลเวลาได้พิสูจน์คำพูดของหลวงตาที่ว่า "ผมหมดความโกรธแล้ว" ให้ได้ประจักษ์ข้อเท็จจริงขึ้นมา ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ศีล (ความประพฤติ) จะพึงรู้ได้ เมื่ออยู่ร่วมกันนานๆ"

wat nong papong 01

ท้ายพรรษา พายุฝนพัดกระหน่ำติดต่อกันหลายวัน ท้องทุ่งนาแปรสภาพเป็นทะเลสาบขนาดย่อม ชาวบ้านต่างเดือดร้อนกันทั่วหน้า และวุ่นวายไปถึงวัวควาย เพราะไม่มีที่อยู่และหญ้าจะกิน

วัดหลวงตาตั้งอยู่ที่บนดอน จึงรอดพ้นจากภัยน้ำท่วม วัวควายของชาวบ้านจึงมุ่งหน้า มากินหญ้าริมรั้ววัดประทังชีวิต บางตัวกินเพลินหลงเดินลึกเข้าเขตสำนัก หลวงตาไม่ชอบใจ จึงให้พระเณรไล่ออกไปบ่อยๆ

เจ้าวัวน่าสงสารตัวหนึ่งถูกไล่ต้อนออกไปแล้ว แต่ด้วยความหิวจึงยื่นคอลอดรั้วกลับเข้ามากินหญ้าอีก หลวงตาซึ่งถือไม้รอท่าอยู่แล้วก็ตรงรี่เข้าไปตีวัวหลายที วัวตัวนั้นร้องด้วยความเจ็บปวด รีบมุดหัวกลับไป แต่กว่าจะหลุดไปได้ ก็ลิ้มรสไม้ตะพดหลวงตาเสียหลายตุ๊บ

หลวงพ่อยืนดูอยู่เงียบๆ นึกสงสารวัวอย่างจับใจ เพราะสิ่งที่พวกมันควรได้จากวัด คือ ความสุขจากเมตตาจิตของสมณะ แต่นี่กลับเป็นความไร้น้ำใจจากนักบวชผู้ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า

เราหมดความโกรธแล้ว! "

redline

arr 1larr 1uarr 1r

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)