foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

forecast 2 4 66

ฤดูร้อนและร้อนที่สุด

 ในช่วงวันที่ 11 – 14 และ 17 เมษายน 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบาง พื้นที่ สำหรับลมตะวันออกกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เมษายน 2566 บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป  สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 15 – 16 เมษายน 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย "

โรคลมแดด (Heatstroke)

heat stroke

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ฤดูร้อนปี 2566 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาโดยจะสิ้นสุดช่วงกลาง พฤษภาคม 2566 คาดปีนี้จะร้อนกว่าปีที่แล้ว สูงสุด 43 องศาเลยทีเดียว ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อ โรคลมแดด โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ คนทำงานกลางแจ้งรวมถึงกลุ่มนักกีฬา ซึ่งการวูบครั้งนี้อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว

รคลมแดด (Heatstroke) อาจจะเกิดขึ้นกับเราโดยไม่รู้ตัว ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและความแข็งแรงของร่างกายว่าสามารถต้านทานได้มากน้อยเพียงใด หากเราเพิกเฉยต่ออาการผิดปกตินี้ อาจอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว เนื่องจากภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน จนไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไตนั้นเอง

โรคลมแดด เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุประกอบกัน จนทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคลมแดดมีดังนี้

  • พบได้บ่อยในผู้สูงอายุซึ่งร่างกายมักทีภูมิต้านทานต่ำ
  • ร่างกายที่ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนได้
  • ขาดการดื่มน้ำที่เพียงพอต่อวัน
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็ส่งผลให้ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิลดลงอีกด้วย
  • การใช้กำลังกายทั้งในแบบการออกกำลังกายหักโหมอย่างต่อเนื่อง มักพบได้ใน กลุ่มนักกีฬา กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และทหารเกณฑ์ เป็นต้น

หน้าร้อนระวัง ฮีทสโตรค

โรคลมร้อน หรือ Heatstroke มักพบในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันที โดยโรคนี้เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาทันทีเนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะเป็นโรคลมร้อน ได้แก่ ทหารที่ไม่ได้เตรียมร่างกายเพื่อเข้ารับการฝึก นักกีฬาที่ออกกำลัง และผู้ที่ทำงานในอากาศร้อนจัด

Heat Stroke

อาการของโรคลมร้อน

  • มีไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะ หน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจหมดสติได้
  • มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชัก เพ้อ เดินโซเซ ตอบสนองช้า พูดจาสับสน
  • ไม่มีเหงื่อออก จากผลของต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
  • อาจพบปัสสาวะสีเข้มผิดปกติจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย และอาจเกิดภาวะไตวายตามมาได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หลักการสำคัญที่สุดในการปฐมพยาบาล คือ การทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงให้เร็วที่สุดก่อนนำส่งโรงพยาบาล เช่น ย้ายผู้ป่วยมาในที่ร่ม จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ยกขาสูง ถอดเสื้อผ้า แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ และนำพัดลมเป่าระบายความร้อน หากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเกลือให้มากที่สุดเพื่อทดแทนภาวะการขาดน้ำ จากนั้นรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

การป้องกันภาวะลมร้อน

  • ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายและบาง อากาศถ่ายเทได้ดี
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • หากเล่นกีฬาเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแดด ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด

ข้อมูลจาก : นพ. พีรวิชญ์ จีรทีปตานนท์

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)