คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ผ่านมานานมากกว่า 1 ปีครึ่งแล้ว ที่ได้เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยระลอกแรกที่ทุกประเทศต่างก็เพิ่งจะเคยพบและรู้จัก ประเทศไทยสามารถตั้งรับสถานการณ์ได้ดี สามารถควบคุมได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ระลอกสองก็ยังไม่หนักหนาสาหัสเท่าไหร่นัก แม้จะเกิดคลัสเตอร์ใหญ่ๆ หนักๆ จากกลุ่มนักพนันที่จังหวัดระยอง ตามมาด้วยคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรมที่สมุทรสาคร นครปฐม สมุทรปราการ เราก็ควบคุมได้ แต่ในระลอกล่าสุดตั้งแต่เมษายน 2564 ที่ผ่านมานี่ถือว่าสาหัสมาก เพราะมีเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่ระบาดแล้วไม่แสดงอาการทันที มีระยะฟักตัวเงียบๆ และนาน แต่พอตรวจพบ ก็รู้ว่าเกิดเชื้อกลายพันธุ์แล้วซึ่งกระจายตัวรวดเร็วมาก ทั้งมีอาการรุนแรงมากกว่าเดิม ลงปอดทำให้ระบบหายใจมีปัญหา จนมียอดผู้เสียชีวิตรายวันมากมายในแต่ละวัน
ยอดผู้ติดเชื้อทะลุ หมื่นคน ไม่หยุด ยอดเสียชีวิตก็พุ่งตาม พี่น้องเอยเราร้องเพลง 'สาละวันเตี้ยลง' ไม่ได้แล้วครับ
รีบไปรับการฉีดวัคซีนอย่ารีรอ เชื้อร้ายมันไม่รอคอยแล้ว รีบไปฉีดกันตาย!
ล่าสุด วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ภาพรวมของการระบาดครั้งนี้ ยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 18,912 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 18,102 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 810 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 597,287 ราย อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 178 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมสูงถึง 4,857 รายแล้ว นอกจากนี้ ยังมีรายงานถึงกลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีอาการปอดอักเสบที่น่าวิตก 4,691 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 1,032 ราย
สำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่รายงานวันนี้ สามารถสรุปจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ - 29 กรกฎาคม 2564 รวม 17,011,477 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
ที่ผ่านมา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ย้ำถึงความสำคัญของวัคซีนโควิด-19 ที่อนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงน้อยกว่า 10 รายต่อ 1 ล้านเข็ม สามารถลดการเจ็บป่วยที่รุนแรง เพื่อนำไปสู่การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ วัคซีนโควิด-19 ที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่ได้รับการฉีดเร็วที่สุด อย่ารีรออยู่เลยครับรีบไปฉีดถ้าถึงคิว ฉีดวัคซีนรักษาชีวิตกันไว้ก่อนฉีดฟอร์มาลีนนะ
สำหรับภาคอีสานบ้านเฮา ก็มีการแพร่กระจายมาจากแรงงานที่ตกงาน หรือจากการหยุดกิจการ การปิดแคมป์ก่อสร้างขนาดใหญ่ ทำให้หนีตายจากความยากจน ไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ กลับไปตายยังบ้านเกิด และนั่นก็คือ การนำเชื้อโรคร้ายไปแพร่ให้ญาติพี่น้องทางบ้าน เราไม่ห้ามที่คุณจะกลับมาบ้านเกิด แต่... ได้โปรดเถิดพี่น้องเอ๋ย เมื่อกลับให้รายงานตัวต่อฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อตรวจหาเชื้อกันก่อน (ตอนนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายเลย ไปแจ้งเถอะ) เพื่อทำการกักกันโรค รักษาให้หายก่อนไปทำมาหากิน ให้ญาติพี่น้องที่เรารักปลอดภัยด้วย
จากรายงานเฉพาะภาคอีสานบ้านเฮา ก็มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน แต่ยอดผู้ป่วยที่เห็นนี้ เป็นยอดรวมเอาทั้งผู้ป่วยที่ติดจากการสัมผัสกับผู้ป่วยก่อนหน้าภายในจังหวัดเอง และผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เดินทางกลับมารักษาตัวที่ภูมิลำเนาด้วย ถ้าแจงตัวเลขออกมาเป็นกลุ่มก็ไม่น่าตกใจเท่าไหร่ ยกตัวอย่างที่อุบลราชธานี วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 มีจำนวน 224 ราย อาวทิดหมูไปเอาข่าวมาจากทาง สสจ.อุบลฯ พบว่า ติดเชื้อภายในจังหวัดพบแค่ 35 คน แต่เป็นการติดจากที่อื่นส่งรับกลับมารักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามในภูมิลำเนา 236 คน จังหวัดอื่นๆ เท่าที่ดูจากรายงานก็เหมือนๆ กันครับ
นอกจากนี้ยังพบว่า มีคลัสเตอร์ในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นจากการที่มีผู้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงไม่แจ้งท้องที่ ทำให้เกิดการสัมผัสกับชาวบ้านในพื้นที่แล้วลามเข้าไปในแหล่งประกอบการในพื้นที่ เช่น ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานผลิตเนื้อไก่สด ในจังหวัดต่างๆ ต้องเคร่งครัดระมัดระวังกันให้มาก จะใช้ความเชื่อส่วนตัวว่าฉันไม่ติดไม่ได้นะ ต้องตรวจหาเชื้อและกักตัวก่อนเพื่อความปลอดภัยของทุกคน ซึ่งในช่วงนี้ ทุกจังหวัดได้เตรียมการให้มีการสร้างโรงพยาบาลสนามในระดับจังหวัด อำเภอ และชุมชนใหญ่ๆ กันแล้ว ให้ช่วยกันเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดกันต่อไปนะครับ เพื่อควบคุมการระบาดให้ได้โดยเร็ว
ณ วันนี้ที่เขียนข่าวสารบอกกล่าวกัน ความเดือดร้อนได้กระจายลงไปยังลูกเล็กเด็กแดงแล้ว คือมีเด็กที่อายุน้อยๆ ได้รับเชื้อจากผู้ปกครองที่ไปสัมผัสกับญาติพี่น้องที่มาจากจังหวัดพื้นที่เสี่ยงทั้ง 10 จังหวัดข้างต้น มีนักเรียนทั้งระดับอนุบาล ประถม มัธยม ที่ติดโควิดจนต้องปิดโรงเรียนกระจายไปยังเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสานแล้ววันนี้ ผมก็ได้แต่ขอร้องล่ะครับว่า "ถ้ากลับบ้านต่างจังหวัด โปรดได้แจ้งต่อผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ฝ่ายปกครอง เพื่อเข้ารับการตรวจเชื้อให้ปลอดภัยก่อน ทำการกักตัว 14 วันให้ปลอดภัยกันครับ เพื่อพี่น้องที่รักยิ่งของเรา"
ก็นับเป็นข่าวดีที่จังหวัดต่างๆ นอกพื้นที่เสี่ยง ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่ประสบปัญหาเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายโควิด ที่มาทำงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แล้วไม่สามารถหาสถานพยาบาลเข้าไปรักษาตัวได้ จากเหตุเตียงรับคนไข้ในส่วนกลางเต็มจนถึงขีดจำกัดแล้ว จนต้องทำการกักตัวในบ้านพัก (Home isolation) กันแล้ว สามารถติดต่อกับจังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อกลับไปรักษาที่บ้านเกิด ซึ่งเริ่มก่อนจาก จังหวัดลำปาง โดย ท่านผู้ว่าณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร นำร่องด้วยโครงการ "รับคนลำปางกลับบ้าน" ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา
แล้วก็มีจังหวัดต่างๆ ดำเนินการต่อมาดังนี้
รายละเอียดต่างๆ เงื่อนไขในการรับตัวกลับ การเดินทางใช้วิธีการอย่างไร แต่ละจังหวัดอาจมีวิธีการที่แตกต่างกัน ลองค้นหารายละเอียดกันดูนะครับ ปกติแต่ละจังหวัดจะมีเพจเฟซบุ๊คของจังหวัด หรือสาธารณสุขจังหวัด โดยให้เบอร์โทรศัพท์ในการติดต่ออยู่นะครับ หลังจากเขียนบทความอาจมีเพิ่มเติมอีกให้ถามจากเพื่อนกู(เกิ้ล)นะครับ
ที่มา : Prachachat
เครียดกับโควิดแล้ว บางท่านก็เครียดกับพืชผลทางการเกษตรที่อาจเสียหาย จากฟ้าฝนทิ้งช่วงเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ช่วงนี้มีฝนตกมาพอสมควร "เข้าพรรษาปีนี้ฝนมาดีคักตกติดต่อกัน 2 มื้อแล้ว ทั้งลมทั้งฝนมาเถียงนาฮิมมูลของอาวทิดหมูแบบแฮงคัก ชุ่มฉ่ำๆ เด้อพี่น้อง ปีนี้บ่ได้แห่เทียนตกลงมาโลดบ่มีไผคิ้วตกดอกเนาะ" เป็นเสียงตะโกนจากอาวทิดหมูเมื่อเช้าวันนี้ด้วยความยินดีปรีดา ปานว่าเพิ่นมีนานำเขา 3 ท่งพุ้นแล้ว ทางกรมอุตุนิยมแจ้งมาว่า เป็นการตกของฝนตามปกติที่ต่อเนื่องหลายวัน ท่านที่อยู่ที่ลุ่มต่ำให้เตรียมการรับกับน้ำท่วมฉับพลันไว้ด้วย
ติดตามข่าวสารอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดกันนะครับทางเว็บไซต์ หรือแอพในมือถือก็ได้ดาวน์โหลดไว้ในเครื่องเลยครับ
การพยากรณ์อากาศเชิงพื้นที่ว่าจะมีปริมาณฝนตกการกระจายมากน้อยเพียงใด (บ้านเราจะตกหรือไม่ก็ได้นะ)
ขอให้เกษตรกรทุกท่านได้เตรียมตัวในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในวันข้างหน้าด้วย เก็บให้ได้ยาวใช้ไปจนถึงหน้าแล้งเมษายนหน้า ด้วยการขุดสระน้ำในหัวไร่ ปลายนา กัันฝาย ขุดลอกคูคลอง หรือกักเก็บในธนาคารน้ำใต้ดินกัน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)