foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

july festival header

มาใกล้จะถึงช่วงกลางปี 2565 แล้วนะครับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มเบาบางลงแม้จะยังไม่หมดไป แต่การจัดงานบุญประเพณีอีสานบ้านเฮาก็เริ่มมีการจัดขึ้นได้แล้ว โดยแต่ละพื้นที่ก็ยังคงเน้นที่การเฝ้าระวัง เว้นระยะห่าง ลดการแออัดของผู้คนกันอยู่ จะเที่ยวที่ไหน จะไปทำบุญ ก็ระมัดระวังตัวกันเหมือนเดิมนะครับ เพื่อเป็นการรักษา "ประเพณี-ฮีตคอง" อันดีงามของบ้านเฮาให้คงอยู่ต่อไป เดือนนี้เทศกาลเข้าพรรษามีบุญใหญ่บ้านอาวทิดหมูเด้อขอรับกระผม มาเอาบุญนำกัน

  • งานประเพณีเทียนพรรษาอุบลราชธานี 2565 ณ สนามทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม 2565
  • วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา วัดในพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2565
  • งานเทศกาล "เที่ยวหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปู่ขาว" จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2565
  • พิธียกยอดสัตบริภัณฑ์ และถวายผ้าป่า ณ วัดป่านานาชาติ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
    วันที่ 31 กรกฎาคม 2565new1234

พิธียกยอดสัตบริภัณฑ์ วัดป่านานาชาติ

watpananachat

พระครูอุบลภาวนาวิเทศ(เฮ็นนิ่ง เกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี แจ้งข่าวบอกบุญมายังญาติโยม พุทธศาสนิกชน ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทุกท่าน ได้ทราบว่า "ตามที่ทางวัดได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ แทนหลังเดิมที่สร้างมาตั้งแต่ครั้ง หลวงพ่อชา สุภัทโท ยังมีชีวิตอยู่ ได้ใช้ประกอบกิจทางศาสนาเรื่อยมานั้น มีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการทำสังฆกรรมใหญ่ๆ เช่น การบวชพระ บวชเณรได้ (ปัจจุบัน ท่านเจ้าอาวาสต้องไปใช้พระอุโบสถ ของวัดหนองป่าพง ดำเนินกิจกรรมแทน)"

บัดนี้ พระอุโบสถหลังใหม่ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงจัดให้มีพิธีการ "พิธียกยอดสัตบริภัณฑ์" ขึ้น พร้อมทั้งมีพิธีถวายผ้าป่า ในวันดังกล่าว โดยมีกำหนดการดังนี้

วันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

เวลา ๐๗.๓๐ น.

  • ถวายภัตตาหาร

เวลา ๐๘.๐๐ น.

  • พระสงฆ์รับภัตตาหาร

เวลา ๐๙.๓๐ น.

  • รวมกันที่บริเวณหน้าอุโบสถ

เวลา ๐๙.๕๙ น.

  • จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  • ไหว้พระ อาราธนาศีล รับศีล
  • กล่าวคําถวายผ้าป่า และ ถวายไทยธรรม
  • ประธานฝ่ายสงฆ์กล่าวสัมโมทนียะคาถา โดย พระธรรมพัชรญาณมุนี (ท่านพระอาจารย์ชยสาโร)
  • พระสงฆ์ให้พร
  • พิธียกยอดสัตบริภัณฑ์ (อุโบสถ)
  • พระสงฆ์เจริญชัยมงคล
  • เสร็จพิธี

หมายเหตุ

กำหนดการอาจมีการปรับตามเหมาะสม ขอความกรุณาผู้มาร่วมงานให้จอดรถบริเวณลานจอดรถหน้าวัด

เที่ยวหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปู่ขาว

nongbualumpoo 03

งานเทศกาล "เที่ยวหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปู่ขาว จังหวัดหนองบัวลำภู" โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู บูรณาการร่วมจัดกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการแสดงสาธิตอาหารพื้นบ้าน ณ ตลาดประชารัฐลานค้าชุมชนห้วยเดื่อ ตำบลโนนทัน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

nongbualumpoo 01

เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดหนองบัวลาภู ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และสนับสนุนเกษตรกร จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีกิจกรรมที่หลากหลาย รวมถึงการแข่งขันและการจัดประกวดในงาน ประกอบด้วย กิจกรรมไหว้หลวงปู่ขาว การปฏิบัติธรรม ที่วัดถ้ำกลองเพล, การแข่งขันกินลำไย, ประกวดธิดาลำไย, ประกวดขบวนแห่, การประกวดอาหารสะอาดรสชาติอร่อย, ประกวดมิสฟอสซิล (สาวประเภทสอง), การแสดงนิทรรศการ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร พร้อมทั้งการแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ด้วย

nongbualumpoo 02

สถานที่จัดงาน : บริเวณลานด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์หอยหิน ๑๕๐ ล้านปี บ้านห้วยเดื่อ ตาบลโนนทันอาเภอเมืองหนองบัวลาภู

เวลาจัดงาน : ระหว่างวันที่ 22-23 didEาคม 2565

งานประเพณีเทียนพรรษาอุบลราชธานี 2565

งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2565 ปีนี้จัดเป็นปีที่ 121 เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ณ จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น  โดยได้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม 2565 จะมีพิธีปล่อยขบวนต้นเทียน ได้แก่ ขบวนเทียนพรรษาพระราชทาน ขบวนต้นเทียนประเภทแกะสลัก ประเภทติดพิมพ์ และขบวนเทียนโบราณ โดยจะมีขบวนแห่ต้นเทียนและขบวนฟ้อนรำจากคุ้มวัดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอ และส่วนท้องถิ่น ณ บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม เวลา 08.00 น. ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้ชมความงดงามของต้นเทียน โดยมีมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีการปรับในให้ลดความแออัดให้มีระยะห่างเพิ่มขึ้น

candle festival 2565 01

นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในช่วงก่อนและหลังงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ดังนี้

  • 1-12 กรกฎาคม 2565 กิจกรรมเยือนชุมชนคนทำเทียน ในวัดที่กำหนดในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีและวารินชำราบ
  • 10 กรกฎาคม 2565 พิธีเปิดงานเทศกาลแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี 2565
  • 11-17 กรกฎาคม 2565 มีกิจก รรมต่างๆ มากมาย อาทิ
    • การแสดงวิถีชุมชน เฮือนอีสาน วัฒนธรรมพื้นถิ่น อัตลักษณ์เมืองอุบล (5 กลุ่มอำเภอ) ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง
    • การแสดงศิลปวัฒนธรรม ณ บริเวณลานเทียน
    • การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง
    • Selfie ณ จุด Land Mark ณ บริเวณลานเทียนทุ่งศรีเมือง ประกอบด้วย ทุ่งดอกไม้และผีเสื้อ กิจกรรมรวมใจ หล่อเทียน บูชาธรรม เทศกาลเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี สาธิตและร่วมจัดทำของที่ระลึกจากเทียน
    • การประดับตกแต่งเมืองและคุ้มวัดต่างๆ สวยงามรอบเมือง
  • 13-14 กรกฎาคม 2565 การแสดงแสง สี เสียง ขบวนแห่เทียนภาคกลางคืน  ณ จุดแสดงบริเวณถนนอุปราช หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม
  • 14 กรกฎาคม 2565 การปล่อยขบวนต้นเทียนจากคุ้มวัดต่างๆ ได้แก่ ขบวนเทียนพรรษาพระราชทาน ขบวนต้นเทียนประเภทแกะสลัก ประเภทติดพิมพ์ และขบวนเทียนโบราณ โดยจะมีขบวนแห่ต้นเทียนและขบวนฟ้อนรำจากคุ้มวัดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอ และส่วนท้องถิ่น ณ บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม เริ่มเวลา 08.00 น. ตรงไปถึงแยกปั๊มน้ำมันเอสโซ่ (ตามเส้นทางเดิมเหมือนทุกปีนะแหละ ผมแก้รอบที่ 3 แล้วนะ)

candle festival 2565 04

เส้นทางขบวนแห่เทียนพรรษา 2565 ใช้เส้นทางเดิมเหมือนทุกปีนะครับ

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางใ ห้กับนักท่องเที่ยวที่มาร่วมชมงานในวันจัดขบวนแห่เทียน (14 กรกฎาคม 2565) ทางจังหวัดอุบลราชธานีได้จัดให้มีบริการรถรับ-ส่ง ฟรี!! จำนวน 4 จุด (ต้นทาง-ปลายทาง) ได้แก่

  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลฯ (บขส.) - ปั้มน้ำมัน ปตท. แยกโตโยต้า
  • ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุบลฯ - วงเวียน ธนาคารออมสิน
  • สนามบินนานาชาติอุบลฯ - สี่แยกกองบิน 21
  • สถานีรถไฟอุบลฯ (อำเภอวารินชำราบ) - สี่แยกวงเวียนน้ำพุ
  • 14-17 กรกฎาคม 2565 จัดแสดงต้นเทียนพรรษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1,2 ณ ทุ่งศรีเมือง
  • 18-31 กรกฎาคม 2565 กิจกรรมเทียนอุบลยลได้ทั้งเดือน ณ วัดที่ได้รับรางวันชนะเลิศลำดับต่างๆ

QR code candle

มีการจองที่นั่งชมบนอัฒจันทน์ รายละเอียดเพิ่มติม คลิกที่นี่เลยจ้า

ไฮไลท์เด็ดที่ห้ามพลาด!

อีกหนึ่งไฮไลท์สำหรับท่านที่มาเยือนอุบลราชธานีในช่วง "งานประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี 2565" คือ การไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และแหล่งทอผ้าไหมสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งดำเนินงานสืบทอดโดย 2 ศิลปินแห่งชาติ สาขาหัตถศิลป์ (การทอผ้า) คือ คุณแม่คำปุน ศรีใส และคุณมีชัย แต้สุจริยา ที่จะ "เปิดบ้านคำปุ่น" เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าชมกระบวนการผลิตผ้าไหมอันเลื่องชื่อ เพียงปีละ 1 ครั้งในช่วงงานประเพณีแห่เทียนพรรษาเท่านั้น

khampun 05

ระหว่างวันที่ 13-14-15 กรกฎาคม 2565 นี้ ขอเชิญทุกท่านมาร่วมบุญในงาน "เปิดบ้านคำปุน" กันอีกเช่นเคยครับ

  • 13 กรกฎาคม 2565 (15.00 น.) : สรงน้ำพระบรมรีริกธาตุ ถวายผ้าอาบน้ำฝน และเทียนพรรษา แด่พระสงฆ์ สวดธรรมจักรฯ
  • 14 กรกฎาคม 2565 (15.00 น.) : การแสดงชุดพิเศษ จากความอนุเคราะห์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เลี้ยงน้ำชา (แบบเว้นระยะห่าง)
  • 15 กรกฎาคม 2565 : นิทรรศการ และ แสดงการทอผ้าเทคนิคต่างๆ ผลงาน คุณแม่คำปุน ศรีใส และ คุณมีชัย แต้สุจริยา (เปิดให้เข้าชมตลอดทั้ง 3 วัน 13-14-15 กรกฏาคม 2565 )

khampun 06

ติดตามข่าวสารจาก Khampun Museum Café คำปุน มิวเซียม คาเฟ่ อุบลราชธานี

รายละเอียดเพิ่มเติมทางทีมงานจะได้ติดตามนำมาเสนอให้ทราบต่อไป

บุญแห่เทียน - ดอกอ้อ ทุ่งทอง & ก้านตอง ทุ่งเงิน

เรื่องน่ารู้ : ความเป็นมาของงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

วันที่จัดงาน : 11 - 17 กรกฎาคม 2565

สถานที่จัดงาน : บริเวณโดยรอบสนามทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]

วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา; อักษรโรมัน: Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน

ar sar ha bucha

วันอาสาฬหบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้ พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ในปัญจวัคคีย์ ประกอบด้วย โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสาวกและภิกษุองค์แรกในโลก และทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และจัดว่าเป็น "วันพระรัตนตรัย" อีกด้วย

กิจกรรมที่ทำในวันอาสาฬหบูชา โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

kao pansa

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน (สมัยนั้นการคมนาคมไม่มีถนนหนทางสะดวกสบายดังเช่นทุกวันนี้) เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาส (วัด) หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศล ด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่นๆ คือ มีการถวายหลอดไฟ หรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"

kao pansa 2

วันที่จัดงาน : 13 - 14 กรกฎาคม 2565

สถานที่จัดงาน : ทุกวัดในพระพุทธศาสนา ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)