คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
เดือนพฤษภาคม หรือ เดือนหก มีประเพณีอีสานที่สำคัญๆ หลายๆ งาน แต่ที่เป็นที่รู้จักโด่งดังกันไปทั่วโลกคือ "ประเพณีบุญบั้งไฟ" โดยเฉพาะงานประเพณีที่จังหวัดยโสธร ถือว่าเป็นงานประเพณีระดับโลก มีเมืองคู่แฝดไกลไปถึงตำบลชิชิบุ เมืองโยชิดะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีประเพณีการจุดบั้งไฟคล้ายๆ กันกับจังหวัดยโสธร และมีความสัมพันธ์เป็นเมืองคู่แฝดกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 สำหรับเดือนหกปี 2566 นี้มีงานประเพณีที่น่าสนใจ ดังนี้
งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของชาวอีสาน ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และความเชื่อทางศาสนาของชาวอีสานมาช้านาน โดยเชื่อว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลปักดำทำนา จะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาพญาแถนบนฟากฟ้า เพื่อขอให้พญาแถนซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "เทพแห่งฝน" ได้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้สรรพสิ่งบนผืนโลกได้ดำเนินวีถีชีวิตไปตามครรลองที่ควรจะเป็น
โดยเฉพาะผู้คนบนผืนดินอีสาน ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทำใร่ทำนามาช้านาน ต้องอาศัยข้าวและพืชผลทางการเกษตร ในการหล่อเลี้ยง ดำรงชีวิตมาโดยตลอด น้ำฝนจากฟ้าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ คืองานประเพณีแห่ และจุดบั้งไฟจึงถูก สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นความหวัง และกำลังใจ ของชาวอีสานมาโดยตลอด งานประเพณีบุญบั้งไฟจะจัดขึ้นเป็นประจำปีทุกปี ชมขบวนแห่บั้งไฟ และการจุดบั้งไฟแสน และบั้งไฟหมื่น ชมวิถีของคนทำบั้งไฟ และบรรยากาศการทำบั้งไฟ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดให้คงอยู่สืบไป
เมื่อพูดถึง "งานบุญบั้งไฟ" ย่อมจะต้องนึกถึง เมืองบั้งไฟโก้ ยโสธร กันแน่นอนเลยทีเดียว ซึ่งจะจัดกันทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ปีนี้การจัดงานก็อยู่ในระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2566
บุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร 2566
ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็น พญาคางคก (พญาคันคาก) ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย
ในที่สุด พญาคางคก จึงขออาสาที่จะไปรบกับ พญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย
หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้ นั่นเอง
ภายในงานนักท่องเที่ยวจะได้พบกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟเอ้) การประกวดแห่กาพย์เซิ้งบั้งไฟ การสาธิตและร่วมการแกะลายบั้งไฟ การแสดงรถบั้งไฟโบราณ การประกวดเวทีกองเชียร์บั้งไฟ การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ การแสดงแสงสีสื่อผสม ตำนานพญาคันคาก (ตำนานบุญบั้งไฟยโสธร) ชมการเตรียมและฝึกซ้อมการรำของขบวนบั้งไฟของคุ้มวัดต่างๆ การจุดบั้งไฟปฐมฤกษ์และบั้งไฟเสี่ยงทาย การจุดโชว์บั้งไฟแฟนซี (บั้งไฟติดร่มมีควันสี) การแข่งขันบั้งไฟติดร่มแฟนซี และบั้งไฟขึ้นสูง และการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ "OTOP ของดียโสธร"
📍เชิญร่วมงาน เทศกาลประเพณีบุญบั้งไฟ ยโสธร 2565 ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2565 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร ลานวิมานพญาแถน (พญาคันคาก-พญานาค) และสวนสาธารณะพญาแถน
งานเทศกาลประเพณีบุญบั้งไฟ นับเป็นอีกหนึ่งงานเทศกาลสำคัญของจังหวัดยโสธร ทั้งยังเป็นประเพณีเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอีสานอย่างแนบแน่น ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลทำนา จะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาพญาแถน (เทพเจ้าแห่งฝน) ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล หล่อเลี้ยงนาข้าวและผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ ให้ออกดอกออกผลตามกำหนด
วันที่จัดงาน : 19-21 พฤษภาคม 2566
สถานที่จัดงาน : หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร, ลานวิมานพญาแถน (อาคารพญาคันคาก) และบริเวณสวนสาธารณะพญาแถน จังหวัดยโสธร
ปลายเดือนเมษายนไปจนถึงต้นเดือนมิถุนายน ในเขตภาคอีสานและภาคอื่นๆ ที่มีคนอีสานอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ก็มักจะมีการจัดงานประเพณี "บุญบั้งไฟ" กันแทบทุกที่ครับ ใกล้ที่ไหนก็ไปร่วมสนุกกันได้ทุกที่ ให้เป็นประเพณีจริงๆ นะครับ ไม่ใช่จัดเพื่อการประชัน แข่งขัน วางเดิมพันกัน มันอีนตรายและผิดกฎหมายขอรับ
เทศบาลนครอุบลราชธานี ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขอเชิญเที่ยวงาน “ลูกทุ่งเฟส : อเมซิ่ง ซิง-อะ-ลอง” ระหว่างวันที่ 5-7 พ.ค.2566 ณ สวนสาธารณะหนองบัว จังหวัดอุบลราชธานี พบเทศกาลดนตรีอีสานร่วมสมัยที่มาในโทนลูกทุ่ง แสง สี เสียง ตระการตา
และพบกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ
วันที่จัดงาน : 5-7 พฤษภาคม 2566
สถานที่จัดงาน : ณ สวนสาธารณะหนองบัว เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
หากแฟนานุแฟนของเว็บไซต์อีสานบ้านเฮา หรือหน่วยงานราชการ จังหวัด อำเภอ เทศบาล อปท. ใดๆ มีข่าวสารการจัดงานบุญประเพณีในท้องถิ่นของท่าน อยากจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ก็แจ้งมายังทีมงานได้ครับ ผ่านทางอีเมล์ webmaster @ isangate.com หรือผ่านทาง Inbox ใน Fanpage Facebook : IsanGate ก็ได้เช่นเดียวกันครับ ขอรายละเอียด วันเวลา สถานที่จัดงาน กิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ ถ้ามีภาพประกอบด้วยก็จะดีเยี่ยมครับ (ภาพของงานปีก่อนๆ หรือการคประชุมเตรียมงาน) บริการท่านฟรีๆ ครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)