คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
เดือนเมษายนของทุกๆ ปี ประเทศไทยเฮามี "ประเพณีเทศกาลสงกรานต์" ที่มีชื่อเสียง และเป็นความปรารถนาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อยากมาเยือน มาสัมผัสถึงความสุข สนุกสนานในงานประเพณีไทยเลื่องชื่อ โด่งดังขจรไกลไปทั่วโลก ช่วงนี้ความวิตกกังวลเรื่องโรคร้ายผ่านไป การท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง พวกเฮาก็คงจะได้มีโอกาสจัดงานประเพณีสงกรานต์ยิ่งใหญ่อีกปี รวมทั้งการจัดงานอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นในทุกจังหวัด
อุบลราชธานี พบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กิจกรรมงานประเพณีหลายๆ งานที่เคยจัดประจำทุกปีต้องงดไป ดังเช่น งานประเพณีสงกรานต์จังหวัดอุบลราชธานี ที่ทุกๆ ปี จะมีการอัญเชิญ "พระแก้วบุษราคัม" ขึ้นเสลี่ยงคานหาม เข้าขบวนแห่ไปรอบๆ เมือง (ย่านเมืองเก่า) เพื่อให้ชาวอุบลได้สักการะและสรงน้ำ ก็ต้องงดไป คงไว้แต่การอัญเชิญมาประดิษฐานที่บุษบกฮางฮดภายในบริเวณวัดศรีอุบลรัตนาราม ให้ชาวอุบลฯ ได้สรงน้ำกัน
ปี 2566 นี้ ประเพณีมหาสงกรานต์เมืองอุบลฯ ที่เทศบาลนครอุบลราชธานี ริเริ่มจัดให้มีขบวนแห่พระแก้วโบราณพร้อมๆ กันทั้ง 5 องค์ ในวันที่ 13 เมษายน 2566 เคลื่อนขบวนไปตามเส้นทางย่านเมืองเก่า จากหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ถนนอุปราช เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเขื่อนธานี ตรงไปถึงสี่แยกตัดกับถนนหลวง เลี้ยวขวาตรงไปถึงสี่แยกตัดถนนพรหมเทพ เลี้ยวขวาอีกครั้งเข้าสู่ถนนพรหมเทพ ตรงไปถึงวงเวียนน้ำพุ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนอุปราชอีกครั้ง ตรงไปถึงซุ้มเฉลิมพระเกียรติ เป็นอันสิ้นสุดขบวนแห่ และอัญเชิญกลับไปประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการะสรงน้ำที่วัดตามประเพณีสงกรานต์ต่อไป
ถ้าจะกล่าวถึงตำนานเรื่อง "พระแก้วโบราณ" แห่งเมืองอุบลแล้ว ก็มีมานานแต่ครั้งโบราณ ตั้งแต่ยุคที่เจ้านครต่างๆ ล้วนแต่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และได้เสาะแสวงหาแก้วมณีมีค่าต่างๆ มาสลักเป็นพระพุทธรูปไว้กราบไหว้บูชาในบ้านเมืองของตน เมื่อเวลาผ่านไป จึงได้ตกทอดมาถึงลูกหลาน เชื้อสายเจ้าเมืองอุบลฯ นับรวมทั้งสิ้นได้ 9 องค์ด้วยกัน ครบตามจำนวนมณีนพรัตน์ อย่างที่เราทราบกันดี ได้แก่
ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้ที่ : www.guideubon.com
กำหนดการจัดงาน : 12-15 เมษายน 2566
สถานที่จัดงาน : ณ บริเวณวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ไม่ได้จัดงานกันหลายปีตั้งแตมีการระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา เขื่อนปากมูล ก็เก็บกักน้ำในระดับที่ท่วมแก่งสะพือกันมาทุกปี ในปีนี้ทางจังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่ดูแลเขื่อนปากมูล ได้ตกลงทำการปล่อยน้ำเพื่อลดระดับการเก็บกักลง ให้เห็นแก่งสะพืออีกครั้ง เป็นเวลา 9 วัน นับจากวันที่ 9-17 เมษายน 2566 นี้
สำหรับการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ในอดีต แก่งสะพือ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี นักท่องเที่ยวจะพาครอบครัวมาเล่นสาดน้ำ และลงเล่นน้ำที่แก่งสะพือจำนวนหลายพันคน แต่เมื่อเกิดการระบาดของไวรัสวิด-19 ทำให้พ่อค้าแม่ค้าได้รับผลกระทบ เพราะหน่วยงานไม่สามารถจัดงานส่งเสริมประเพณีเล่นสาดน้ำสงกรานต์คลายร้อน เหมือนที่เคยจัดเป็นประจำได้ แต่ปีนี้เราได้เห็นแก่งสะพือที่ทำความสะอาดกำจัดตะไคร้น้ำ กันลื่น เพื่อให้สามารถเล่นน้ำสงกรานต์ได้อย่างที่เคยเป็นมา
ใครเคยมีความหลัง ณ ที่แห่งนี้ ก็พากันไปร่วมงาน "เทศกาลมหาสงกรานต์แก่งสะพือ" กันได้เลย ดำเนินการจัดงานโดยเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน บริเวณแก่งสะพือ ซึ่งมีกิจกรรมมากมายทั้ง การประกวดเทพีสงกรานต์, การประกวดแต่งกายสวยงาม, การประกวดก่อเจดีย์ทราย, สรงน้ำพระรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุ, การแข่งขันบักขั่ง, การประกวดหนูน้อยคนเก่ง, การประกวดตำส้มตำลีลา, การแข่งขันเส็งกลองขนาดเล็ก/ขนาดใหญ่, การประกวดเดี่ยวพิณ เดี่ยวแคน, การแข่งขันประกอบอาหารพื้นถิ่น (หนังกบ), การแข่งขันกินซาลาเปา, การประกวด Miss Queen แก่งสะพือ พาลูกหลานไปย้อนรอยความหลังสมัยพ่อ-แม่จีบกันใหม่ๆ ได้เลย มีอาหารอร่อยบริการ รวมทั้งของฝากมากมาย
กำหนดการจัดงาน : 12-15 เมษายน 2566
สถานที่จัดงาน : ณ บริเวณลานแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดขอนแก่น มีมติเห็นชอบจัดงานการเตรียมจัดงานประเพณีสุดยอด สงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูนเสียงแคน และถนนข้าวเหนียว ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “สาดซิ่ง สาดศิลป์” ซึ่งจะมีกำหนดการจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 15 เมษายน 2566 แบ่งการจัดงานเป็น 2 พื้นที่ คือ
นอกจากนี้ ยังมีงานสงกรานต์ในจังหวัดต่างๆ อีกมากมาย ที่เต็มไปด้วย "ถนนข้าว..." ในหลายๆ จังหวัด ก็ไปเที่ยวชมตามสถานที่ใกล้ๆ ได้เลยครับ
ตำนานสงกรานต์ที่น่ารู้ : ประเพณีสงกรานต์ที่ควรรู้ | ธง ธุง ทุง ตุง เครื่องประกอบพิธีกรรม | ฮีตเดือนห้า บุญฮดสรง
จังหวัดบุรีรัมย์ จัดงาน "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง" เป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนเมษายน ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยไฮไลท์สำคัญของงานคือ การชมพระอาทิตย์ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บานของปราสาทพนมรุ้ง ยามพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง โดยจะเกิดขึ้นแค่ 4 ครั้ง ในหนึ่งปีเท่านั้น
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง : YUM Comment
การเที่ยวชมงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2566 ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นประจำทุกปี ด้วยเพราะมีกิจกรรมให้เข้าร่วม ตลอดจนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และชมความงดงามของสถานที่แห่งนี้ไปพร้อมๆ กัน และยังมีพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ชมริ้วขบวนหลวงของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี และนางจริยา ตลอดจนการแสดงแสงสีและเสียง การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การรับประทานอาหารแบบโฮปบายดินเดอร์ การแสดงตลาดนัดโบราณ และสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย
ช่วงเวลาจัดงาน : 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2566
สถานที่จัดงาน : ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
หากแฟนานุแฟนของเว็บไซต์อีสานบ้านเฮา มีข่าวสารการจัดงานบุญประเพณีในท้องถิ่นของท่าน อยากจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ก็แจ้งมายังทีมงานได้ครับ ผ่านทางอีเมล์ webmaster @ isangate.com หรือผ่านทาง Inbox ใน Fanpage Facebook : IsanGate ก็ได้เช่นเดียวกันครับ ขอรายละเอียด วันเวลา สถานที่จัดงาน กิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ ถ้ามีภาพประกอบด้วยก็จะดีเยี่ยมครับ (ภาพของงานปีก่อนๆ หรือการประชุมเตรียมงาน) บริการท่านฟรีๆ ครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)