foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

february festival header

งานเทศกาลบูชาพระธาตุพนม

pratat phanom 1จังหวัดนครพนม จัดงานเทศกาลพระธาตุพนมเป็นประจำทุกปี ในช่วง ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3  รวม 9 วัน 9 คืน ของทุกๆ ปี ในปี พ.ศ. 2562 นี้ งานนมัสการพระธาตุพนมตรงจะกับวันที่ 12 ถึง 20 กุมภาพันธ์  2562 กิจกรรมในตอนเช้า เทศกาลนี้เริ่มต้นด้วย
- พิธีการทางศาสนาพุทธ ที่จะเป็นการนำพระอุปคุตจากริมฝั่งแม่น้ำแม่โขงไปยังวัดพระธาตุพนม
- ร่วมขบวนแห่อันเชิญพระอุปคุตจากริมฝั่งแม่น้ำโขง
- พิธีถวายข้าวพืชภาค
- สรงน้ำพระอุปคุตเพื่อความเป็นสิริมงคล
- พิธีห่มผ้าพระธาตุและเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ
- การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง (OTOP)

นอกจากนั้น ยังมีพิธีนมัสการพระเจดีย์พระธาตุพนม การแสดงศิลปะการฟ้อนรำแบบดั้งเดิม เพื่อสักการะบูชาพระเจดีย์ มีการออกร้านแสดงสินค้าท้องถิ่น การละเล่นพื้นเมือง และการแสดงมหรสพระหว่างวัน และตอนกลางคืนด้วย

พระธาตุพนม ถือกันว่า เป็นพระธาตุประจำของผู้เกิดในปีนักษัตร ปีวอก และเป็น พระธาตุประจำวันเกิด ของคนเกิดวันอาทิตย์ อีกด้วย

ช่วงเวลาจัดงาน: 12-20 กุมภาพันธ์ 2562
สถานที่จัดงาน: ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

pratat phanom 2

งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก

malai kaotok 2ในช่วงวันมาฆบูชาของทุกปี จังหวัดยโสธรได้จัดงาน ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ที่ บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย ชาวพุทธมีความเชื่อว่าในวันนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาจากสวรรค์ หลังจากได้แสดงพระธรรมเทศนาให้แก่พระมารดาแล้ว โดยเหล่าเทพดานางฟ้าได้ทำการต้อนรับพระองค์ด้วยดอกไม้ และข้าว ความเชื่อนี้ได้รับการสืบทอดติดต่อกันมา และกลายมาเป็นประเพณีที่ยึดถือกันในปัจจุบัน ชาวบ้านจะทำพวงมาลัยจากข้าวอบ ซึ่งจะถูกนำไปใช้เพื่อการตกแต่งศาลาวัด และแสดงโชว์ในขบวนพาเหรด ณ วันงานด้วย

เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้พากันนำเอาข้าวตอกมาสักการบูชา เพราะถือว่า "ข้าว" เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นของสูงที่มนุษย์จะขาดไม่ได้และต่อมามีการนำมา ประดิษฐ์ตกแต่งเป็นมาลัยที่สวยงาม เป็นที่มาของ “มาลัยข้าวตอก” ประเพณีหนึ่งเดียวในโลก ที่อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ]

ช่วงเวลาจัดงาน: 14-18 กุมภาพันธ์ 2562
สถานที่จัดงาน: บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

malai kaotok 3
ขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของเยาวชนบ้านฟ้าหยาด

 

สายทัวร์งานบุญเดือนนี้มีหลายแห่งที่จัดงานขึ้น หากไม่ได้มีแผนเดินทางท่องเที่ยวที่ใดก็ขอเชิญร่วมงาน "วันมาฆะบูชา" ที่วัดใกล้บ้านของท่านได้ครับ

kaset isantai 62

งานบุญเบิกฟ้าและงานกาชาดมหาสารคาม

boon bergfah mahasarakam 1"ประเพณีบุญเบิกฟ้า” เป็นประเพณีที่ชาวอีสานได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ โดยมีความเชื่อว่า เมื่อถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ฟ้าจะไข หรือ เปิดประตูฝนให้ตกลงสู่โลกมนุษย์ ดังนั้น ชาวอีสานจึงถือเอาฤกษ์สำคัญนี้ นำปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลโค/กระบือ ไปใส่ในเรือกสวนไร่นาของตนเองอย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นการฟื้นฟู บำรุงดิน ซึ่งจังหวัดมหาสารคาม ถือได้ว่าเป็นจังหวัดเดียวในภาคอีสาน ที่ได้นำเอาประเพณีบุญเบิกฟ้ามาจัดเป็นงานประจำปีของจังหวัด เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญในการฟื้นฟูบำรุงดิน เพื่อเตรียมสำหรับการเพาะปลูกพืชไร่ของตนต่อไป สำหรับในปี พ.ศ. 2562 นี้ จังหวัดมหาสารคาม กำหนดจัดงาน ระหว่างวันที่ 1 – 20 กุมภาพันธ์ 2562 ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม

โดยวันแรกของการจัดงาน ในภาคเช้า จะมีพิธีบูชามเหศักดิ์หลักเมือง ที่บริเวณศาลหลักเมืองมหาสารคาม พิธีเปิดร้านมัจฉากาชาด ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอ ส่วนภาคบ่ายตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นพิธีเปิดงาน ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ส่วนพิธีบวงสรวงแม่โพสพ กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09.09 น. ณ บริเวณลานหอพระประธานกันทรวิชัย ซึ่งมีพิธีประกอบด้วย พิธีเสี่ยงทายคางไก่ เสี่ยงทายผิวไข่ ประกาศทิศฟ้าร้องและคำทำนาย และขบวนหาบปุ๋ยคอกใส่ในแปลงนา ตามโบราณพิธีของชาวมหาสารคามที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา

boon bergfah mahasarakam 2

ทั้งนี้ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม ยังได้จัดทำ สลากกาชาดสมนาคุณ ประจำปี 2562 เพื่อจัดหารายได้และให้ประชาชนได้ร่วมสนุกชิงรางวัล โดยจะมีการหมุนรางวัลออกสลากกาชาดสมนาคุณ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานประเพณีบุญเบิกฟ้าและงานกาชาดจังหวัดมหาสารคามประจำปี 2562

ช่วงเวลาจัดงาน: 1-10 กุมภาพันธ์  2562
สถานที่จัดงาน: ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

 

งานเทศกาลโหวดเสียงทอง หนองพอกเมืองงาม

nongpok songsakกลุ่มหนองพอกเมืองงาม เป็นการรวมตัวของชาวอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ริเริ่มกิจกรรม "งานเทศกาลโหวดเสียงทอง หนองพอกเมืองงาม" ขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ณ บึงหนองพอก อำเภอหนองพอก เพื่อโชว์ของดีอำเภอหนองพอก สร้างความภูมิใจในบ้านเฮา เล่าประวัติอำเภอหนองพอก โดย วงโหวดเสียงทอง (วงในใจคนหนองพอก)

นิทรรศการบุคคลสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้บ้านเรา เช่น อ.ทรงศักดิ์ ประทุมสินธ์ ผู้พัฒนาโหวดเป็นเครื่องดนตรี คนแรก และหนุ่มเมืองเกินร้อย ชำนาญ เมืองหงษ์ (อิสานพาสวบ) มาแกงอ่อมหวายสู่พี่น้องกิน (เพิ่นเป็นคนหนองพอกเด้อ) พร้อมทั้งมีการแสดงนาฏมวยไทยแชมป์ประเทศไทย การแสดงแสงสีเสียง เล่าขาน ตำนานหนองพอก การแสดงและจำหน่ายสินค้าโอท๊อป จาก 9 ตำบล ในอำเภอหนองพอก

การแสดงวงโปงลางโรงเรียนโนนสมบูรณ์ประชารัฐ (เหรียญทอง) การแสดง หมอลำซิ่ง การประกวดธิดาโหวด และมิสโซไซตี้ (สาวประเภท 2) การประกวดการแต่งกายย้อนยุคอิสานพื้นบ้าน ของคนมาร่วมกิจกรรมที่เป็นไปตามกติกา ทางคณะกรรมการจัดงานจะมีรางวัล เช่น จักรยาน แหวนทองคำ ฯลฯ ขบวนชุดรีไซเคิลรณรงค์ลดใช้พลาสติก ซุ้มอาหารวัฒนธรรม (ของคนหนองพอก) ซุ้มถ่ายภาพ และเลือกซื้อสินค้าราคาถูก จากร้านค้าในอำเภอหนองพอก และบริษัทชั้นนำ รวมทั้งขอเชิญ แชะ ชม ชิม ในงานนี้ไม่ผิดหวังแน่นอน

nongpok muaythai

ช่วงเวลาจัดงาน: 2 กุมภาพันธ์  2562
สถานที่จัดงาน: ณ บึงหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

งานผู้ไทโลก เท่อที่ ๑๑

poothai loke 11งานวันผู้ไทโลก เท่อที่ ๑๑ "เทศกาลไขประตูเล้า ชนเผ่าภูไท ประเพณีบุญเดือน ๓" ระหว่าง ๘ - ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ณ หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไท (บ้านคำเดือย) ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

วิถีชีวิตชนเผ่าภูไท บ้านคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นชาวลาว ที่อพยพมาจากเมืองเซโปน ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยหลังจากเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ ตามพระดำริของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนโยบายของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โดยให้เจ้านายพื้นเมืองเกลี้ยกล่อมบ่าวไพร่ของตนเองให้อพยพมาตั้งบ้านเมืองทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในอาณาเขตประเทศไทย เพื่อลดขนาดของกองกำลังหัวเมืองขึ้นที่ลอบซุ่มโจมตีกองทัพไทย

เมื่อครั้งกองทัพไทยยกไปขับไล่กองทัพญวณ ให้ออกไปจากอาณาเขตประเทศไทย ชาวลาวที่อพยพมาตั้งบ้านเมืองตามนโยบายดังกล่าว ได้มาตั้งเขตบ้านเรือนในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ที่อำเภอเสนางคนิคม และอำเภอชานุมาน ร่วมสมัยกับชาวภูไทยในจังหวัดอื่นๆ เช่น จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร เป็นต้น ชาวลาวดังกล่าวเป็นชนเผ่าภูไท มีภาษาใช้เฉพาะเผ่า คือ ภาษาภูไท เป็นภาษาพูด ไม่ปรากฏว่ามีลายลักษณ์อักษร กลุ่มภูไทดังกล่าวใช้ภาษาภูไทสื่อสารกันตลอดมา แต่สำเนียงอาจจะแตกต่างกันบ้างตามสภาพท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม

ในจังหวัดอำนาจเจริญ มีหลายหมู่บ้านที่ใช้ภาษาภูไทในการสื่อสารประจำวัน ได้แก่ บ้านนาสะอาด อำเภอเสนางคนิคม และ อำเภอชานุมาน บ้านคำเดือย บ้านเหล่าแก้วแมง บ้านสงยาง ตำบลคำเขื่อนแก้ว บ้านโนนกุง บ้านหินสิ่ว ตำบลชานุมาน บ้านหินกอง บ้านบุ่งเขียว บ้านนางาม บ้านโคกก่ง บ้านพุทธรักษา ตำบลโคกก่ง วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชาวภูไท การแต่งกาย หญิงชาวภูไท จะนิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายย้อมคราม ซิ่นต่อตีนผ้าจก คาดผ้าสไบสีขาว ชายชาวภูไท ใส่สะโหร่ง เสื้อผ้าฝ้ายย้อมคราม

วิถีชีวิตและความเชื่อ ชาวภูไท มีวิถีชีวิตในการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย มีความพอเพียง หญิงชาวภูไทจะทำงานบ้าน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และมีเอกลักษณ์ในการทอผ้าไว้ใช้เอง ส่วนชายภูไท จะเป็นผู้นำในการหาเลี้ยงครอบครัว ล่าสัตว์ จัดทำเครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ประเภทจักสาน โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติเช่น ไม้ไผ่ ขี้ซี เป็นต้น ปัจจุบันนี้ชาวภูไท ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบต่อกันมา เห็นเด่นชัดในชาวผู้ไทที่มีอายุ ส่วนเยาวชนวัยรุ่นหนุ่ม-สาว มีการเปลี่ยนแปลงตามโลกยุคโลกาภิวัฒน์

poothai loke 11 1

ความเชื่อของชาวภูไท จะเชื่อภูติ ผี บรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมชาติ มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อ เช่น พิธีกรรม รำผีไท้ พิธีกรรมกินหมูล้างดิน เป็นต้น และปัจจุบัน ส่วนมากมีการนับถือศาสนาพุทธ และบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์ ผู้นำที่ชาวภูไทให้ความเคารพ เชื่อถือ คือ นายสาเม็ง ปักขีพันธ์ บ้านคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

poothai loke 11 2

การเกิดขึ้นของสมาคมผู้ไทโลก ที่ศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอเรณูนคร อันเป็นดินแดนผู้ไทที่โด่งดังมานานแล้ว และมีเป้าหมายในการรวมชาติพันธ์ผู้ไทในโลกนี้เข้าเป็นหนึ่งเดียว โดยใช้วัฒนธรรมผู้ไทเป็นเครื่องมือก้าวข้าวพรมแดนแห่งรัฐชาติตามแนวทางของอาเซียนได้อย่างแนบเนียน และยังได้สร้างปรากฎการณ์การรวมกลุ่มชาติพันธ์ผู้ไทในครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ผ่านการจัดงาน “วันผู้ไทโลก” มีการเชิญกลุ่มผู้ไทในที่ต่างๆ ในประเทศไทย และในประเทศ สปป.ลาว และเวียดนาม ซึ่งมีการจัดกันมาทุกปี และส่งเสริมการจัดกิจกรรมผู้ไทตามท้องถิ่นต่างๆ ให้ผู้คนได้ร่วมกันฟื้นฟูความทรงจำร่วมกันขึ้นมาใหม่ 

poothai loke 11 3poothai loke 11 4poothai loke 11 5

ช่วงเวลาจัดการ : 8-10 กุมภาพันธ์ 2562

สถานที่จัดการ : ณ หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไท (บ้านคำเดือย) ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

 

หน่วยงาน หรือชุมชนใด ที่จะจัดให้มีการจัดงานเทศกาล บุญประเพณีอีสาน ต้องการเผยแพร่ข่าวสาร ฟรีๆ ก็ส่งข่าวสารรายละเอียด ภาพประกอบ(ถ้ามี) มายังทีมงานของเราได้ครับผ่านทางอีเมล์ mail webmasterได้เลยครับ ยินดีให้บริการ

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)