คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ตัวอักษรไทยน้อย หรือ ไทน้อย มีลักษณะเหมือนอักษรไทยสมัยพระยาลิไทยมาก เท่าที่พบแปลกกันเฉพาะตัว ถ เท่านั้น และเราก็ยอมรับอยู่ว่าอักษรไทยน้อยมิใช่อักษรลาว จึงทำให้ตัวอักษรไทยน้อย จะเข้ามาสู่ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงเวียงจันทน์ได้อย่างไร นักปราชญ์ท่านสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะมาจาก 2 ทางด้วยกัน
มาทางตรง คือ จากสุโขทัยมาเวียงจันทน์เลย เพราะศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็บอกว่า เวียงจันทน์ เวียงคำ ชวา (หลวงพระบาง) เป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัย คงจะมีการใช้อักษรราชธานีด้วย โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าลิไทย พระองค์เป็นนักการศาสนา และนักอักษรศาสตร์ คงจะส่งสมณฑูตพร้อมกับนิทานคำสอน และตัวอักษรมายังหลวงพระบางเวียงจันทน์ด้วย ดังปรากฏในหนังสือมูลศาสนาว่า
พระสุวัณณคีรีได้นำเอาศาสนาไปประดิษฐาน ณ เมืองชวา (หลวงพระบาง) ในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม นี่แสดงว่า มีการติดต่อสัมพันธ์กันทางศาสนามาก่อนแล้ว พอมาถึงสมัยสุโขทัยโดยเฉพาะพระยาลิไทยด้วยแล้ว ยิ่งจะมีการนำอักษรที่พระองค์คิดขึ้นใหม่ แทรกตำราคำสอนเข้าไปด้วย ข้อที่น่าคิดอย่างยิ่งก็คือ จากการค้นคว้าหนังสือที่เป้นธรรมคำสอนชั้นสูงในพระพุทธศาสนาจะจารด้วยอักษรธรรม (มอญ) ถือว่าอักษรที่สูงธรรมจะไม่จารตัวอักษรไทยน้อยเลย
แต่นิทานพื้นบ้านและชาดกบางเรื่องที่ไม่ได้ม้วนชาดกว่าในเรื่องนั้น ใครเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระโมคค์ลานะ สารีบุตร พระเจ้าสุทโธธน พระนางสิริมหามายา ราหุล จะจารด้วยอักษรไทยน้อย ซึ่งเป็นอักษรขั้นต่ำกว่านี้น่าจะเป็นการสอดแทรก
ชาวลุ่มน้ำโขงตอนกลางจึงเลือกเอาเฉพาะตัวอักษรที่ออกเสียงง่ายๆ และตรงกับเสียงมาใช้ โดยไม่กลัวบาป อักษรธรรมนั้นสูงไป ออกเสียงยาก ใช้เขียนธรรมจะเปลี่ยนก็กลัวบาป จึงทำให้อักษรไทยน้อยได้รับความนิยมจนวิวัฒนาการมาเป็นอักษรประจำชาติลาวปัจจุบัน
ลักษณะของตัวอักษรไทยน้อยดังภาพด้านล่างนี้ เป็นฟอนต์ที่อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ออกแบบสร้างขึ้น เรียกชื่อฟอนต์ว่า TNManut ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์มนัส สุขสาย ปราชญ์ท้องถิ่นอุบลฯ ผู้มีความสามารถด้านการอ่านและจารตัวอักษรธรรม อักษรไทยน้อย และเขียนเรื่องราวของตัวอักษรโบราณอีสานเผยแพร่
ต้องการฟอนต์อักษรไทยน้อยสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ [ Download Fonts here! ]
มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ตัวอักษรไทยน้อย
สิม หรือ พัทธสีมา หมายถึง สถานที่ไว้ทำพิธีต่างๆ ของชาวพุทธอีสานหรือคนทั่วไปเรียกว่า โบสถ์
สิม เป็นคำลาว ดังนั้นโบสถ์ที่เรียกสิมส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงเป็นอาคารศิลปะลาว ที่ทรงคุณค่า ในแถบอีสานมีสิมกระจัดกระจายตามเมือง หรือหมู่บ้านที่มีประวัติสืบทอด มาจากยุคก่อนที่วัฒนธรรมลาวเผยแผ่สู่อีสาน
สิมแบบดั้งเดิม ศิลปะลาว สร้างเป็นอาคารเล็กๆ ขนาดพอที่พระจะเข้าไปทำสังฆกรรมภายใน มีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว สมถะเรียบง่ายเข้ากับศาสนาพุทธ และชีวิตไทยพื้นบ้านอีสานไทยทั่วไป สิมวัดตำแย ถือว่า เป็นศาสนสถานที่เกี่ยวข้องกับเมืองอุบลราชธานี และประวัติศาสตร์ศิลาจารึกโบราณ
สิมวัดบ้านตำแย อายุประมาณ 200 ปี ตั้งแต่เริ่มตั้งเมืองอุบลราชธานี มีขนาดกะทัดรัด เรียบง่าย ตัวอาคารของสิมวัดบ้านตำแย ลักษณะของสิมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนเอวขันธ์มีบันไดขึ้นตรงหน้า ประตูด้านเดียวหน้าต่างด้านข้างด้านละหนึ่งช่อง ด้านหลังก่อทึบถึงหน้าจั่ว ผนังก่ออิฐถือปูนด้วยประทาย หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว รายลำยองทำเป็นช่องฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง หลังคามุงด้วยแป้นไม้ มีทวยรูปพญานาคอ่อนช้อยแบบอีสาน มีสองแบบคือ แบบอ้าปาก และแบบหุบปาก
หน้าสิมเหนือประตูจารึกอักษรไทยน้อยสี่บรรทัด ด้านซ้ายมีบันทึกอีกสิบบรรทัด กล่าวถึงการสร้าง สิมวัดบ้านตำแย มีอยู่ด้านกับ 3 หลัก หลักที่ 1-2 กล่าวถึงการสร้างสิม เป็นจารึกบนฝาผนังด้านหน้าสิมเป็นอักษรไทยจารึกเมื่อ พ.ศ. 2417 ส่วนหลักที่ 3 กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป จารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูปทองเหลือง ซึ่งเดิมเป็นพระประธานในสิม จารึกด้วยอักษรธรรมอีสานเมื่อปี พ.ศ. 2400 วัดบ้านตำแย ถือเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดอุบลราชธานี ณ ปัจจุบัน สิมวัดบ้านตำแยแห่งนี้ กรมศิลปกร ได้ขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานแห่งชาติ เรียบร้อยแล้ว
เพลงสาวอีสานรอรัก (อักษรไทน้อย)
อักษรขอม | อักษรธรรมโบราณอีสาน | อักษรไทยน้อย | วรรณกรรมอีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)