คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
มีชื่ออื่นๆ คือ ตูม ตุ่มตัง มะปิน (เหนือ) และกะทันตาเถร (ปัตตานี) มะตูมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aegle marmelos Carr. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE
ตามตำนานชาวฮินดูเชื่อว่า มะตูมเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระอิศวร ดังนั้น การบูชาพระอิศวรจึงต้องมีใบมะตูมมาใช้ประกอบในพิธีกรรมนั้นๆ ด้วย ประเทศไทยได้ซึมซับเอาความเชื่อเหล่านี้มาด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่า เวลามีบุคคลเข้ากราบบังคมลาพระเจ้าแผ่นดินไปรับราชการ หรือศึกษาต่อต่างประเทศ ก็จะได้รับพระราชทานใบมะตูมเป็นศิริมงคล งานสมรสพระราชทาน คู่บ่าวสาวก็จะมีใบมะตูมทัดหูเป็นศิริมงคลเช่นกัน
บักตูม หมากตูม มะตูม เป็นผลไม้ป่าที่ค่อนข้างหายากในปัจจุบัน เนื่องจาก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ออกผลช้านานหลายปี จึงไม่นิยมปลูก แต่ยังพบได้ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะตามหัวไร่ปลายนา และตามป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ทั้งในภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และภาคอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ของมะตูมที่เห็นตามท้องตลาด ส่วนมากมาจากต้นมะตูมตามป่า หรือหัวไร่ปลายนา ซึ่งพบเห็นมากจะเป็นมะตูมตากแห้ง ที่ใช้สำหรับต้มน้ำดื่ม ส่วนผลิตภัณฑ์อื่น ได้แก่ มะตูมเชื่อม และน้ำมะตูม เป็นต้น
มะตูม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-12 เมตร
ปัจจุบันมีมะตูมผงสำเร็จบรรจุซองจำหน่ายทำให้สะดวกในการบริโภค ฉีกซองละลายในน้ำร้อนก็ใช้ดื่มได้เลย ทั้งร้อนและเย็น แต่ถ้าทำเองดังกล่าวจะให้รสกลิ่นที่เข้มข้นกว่า
มะตูมนับว่าเป็นสมุนไพรที่ดีอย่างหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย จะเห็นว่า มีลูกมะตูมอ่อนที่หั่นเป็นแว่นๆ ตากแห้งขายอยู่ตามร้านขายยาแผนโบราณ หรือตามตลาดและสถานที่อื่น (ที่นำมาใช้ต้มเป็นน้ำมะตูมนั้นเอง)
สรรพคุณทางยาของมะตูมนั้น สามารถขับลมได้ แก้ท้องผูก แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ลม จุกเสียด
สำหรับผลมะตูม ผลสุกหรือผลแห้ง นำมาต้มดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ร้อนใน แก้โรคลำไส้เรื้อรังได้ และมีวิตามินบี 1 บี 2 อยู่ ช่วยให้ปลายมือเท้าไม่ชา ไม่เป็นโรคปากนกกระจอก
ใบมะตูมนำมารับประทานทำให้เจริญอาหาร เป็นยาแก้โรคลำไส้ได้ และยังให้เบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารช่วยป้องกันโรคมะเร็งด้วย ดังนั้น ในหน้าร้อนนี้มาดื่มน้ำมะตูมกันดีกว่า
"ตูมกา" เป็นต้นไม้ยืนต้นที่เห็นทั่วๆ ไป ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ คนสมัยก่อนจะมีต้นยางนาเอาไว้นาใครนามัน เพื่อจุดน้ำมันยางไว้ให้แสงสว่าง จุดใต้ จุดคบ ทำขี้ใต้ หมากตูมกาเป็นภาชนะใส่น้ำมันยางเพื่อให้แสงสว่างที่ชาวบ้านรู้จักกันดี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลออกพรรษา ชาวบ้านแถบอีสานใต้จะนำผลหมากตูมกามาประดิษฐ์เป็นคบไฟประดับ ให้ความสวยงามตลอดเทศกาล โดยเฉพาะ ประเพณีแห่ตูมกา ที่บ้านทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)