คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
คำอีสาน | ความหมาย |
ดน | ว. นาน, ช้า อย่านานเรียก อย่าดน นานสว่าง เรียก ดนแจ้ง |
ดัง | 1 น. จมูก จมูกเรียก ดัง จมูกบี้ เรียก ดังแหมบ จมูกบานหรือรูจมูกกว้าง เรียก ดังปึ่ง จมูกใหญ่หรือจมูกโด่ง เรียก ดังโม จมูกแหว่งมาก เรียก ดังวืก จมูกแหว่ง ขนาดกลาง เรียก ดังวาก จมูกแหว่งนิดหน่อย เรียก ดังวีก จมูกเชิด เรียก ดังเบิด |
ดัง | 2 ก. เสียงดัง ก้อง กึกก้อง 3 ก. ก่อไฟ ก่อไฟเรียก ดังไฟ ก่อไฟรอ เรียก ดังไฟถ้า |
ด่าวด่าว | ว. เด่าเด่า อาการดิ้นของผู้ใหญ่ เรียก ด่าวด่าว ของเด็กเรียก แด่วแด่ว |
ดี้ | ว. นิดหน่อย เล็กน้อย เช่นไม่ได้สักน้อย เรียก บ่ได้จักดี้ |
ดี้ดี้ | ว. จริง ๆ, จัง ๆ, เช่น ไม่มีจริง ๆ เรียก บ่มีดี้ดี้ |
ดุ้ง | ว. คด นูน งอ โก่ง ไม้ที่งอจนโก่งขึ้น เรียก ไม้ดุ้ง |
เด่ | ก. ยื่น เช่น ยื่นแขน เรียก เด่แขน ยื่นขา เรียก เด่ขา ยื่นมือ เรียก เด่มือ |
เดิ่น | น. ลาน สนาม ลานกลางบ้าน เรียก เดิ่นบ้าน |
แดก | 1 น. ปลาร้า ปลาที่คลุกเกลือกับรำ ตำแล้วใส่ในไห เรียก ปลาแดก 2 ก. ทิ่ม แทง ตำ 3 ก. กินเกินประมาณ เรียกว่า แดก หรือว่า สิแตกแดกตับ อาหารประเภท กินด่วน (fast food) คนอีสานเรียก แดกด่วน |
โด่ | ก. ยื่น โผล่ ยื่นหน้าออกนอกรถ เรียก โด่คอออกจากรถ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ตกกะเทิน | ว. ตกลงใจ ลงได้ทำ ตกลงใจว่าจะทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ ไม่สำเร็จไม่ยอม เลิก |
ตกคะมะ | ก. สะทกสท้าน ตกตะลึง ประหม่า ตกใจกลัว เรียก ตกคะมะ ตกกะมะ ก็ว่า |
ต่ง | 1 ก. รอง เช่นเอาถังรองน้ำฝน เรียก ต่งน้ำฝน เอาผ้ารองเอาปลาเรียก ต่งปลา 2 ว. ใต้ ตรง เช่น นอนใต้ขื่อ เรียก นอนต่งขื่อ การนอนต่งขื่อโบราณถือว่า คะลำ ห้ามไม่ให้นอน 3 ว. ตึง เต่ง เบ่ง ลักษณะเนื้อหนังมังสาที่ตึงเรียกว่า ต่ง เช่น นมตึง เรียก นมต่ง แก้มที่มีเนื้อเต็ม เรียก แก้มต่ง |
ต้วง | ว. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งของปลาร้า เมื่อนำเอาไปปรุงส้มตำ รสอร่อยเป็นพิเศษ เรียก ปลาแดกต้วง |
ต่อน | น. ชิ้น ชิ้นของเนื้อหรือปลาที่ตัดออกเป็นท่อน ๆ เรียก ต่อน |
ตะลูด | ก. เลื่อน เคลื่อนไป เลื่อนหรือเคลื่อนไป เรียก ตะลูด ตู้ดลูด ก็ว่า ตัวอย่างเช่น ข้าราชการครูได้เลื่อนระดับเป็น อาจารย์ 2 ระดับ 7 ไม่ต้องทำผลงานทาง วิชาการ ก็เรียกว่า ครูซี 7 ตะลูด |
ตั่ว | ว. ใช้ประกอบคำสุดท้ายของคำพูด เช่น แม่นตั่ว บ่กินตั่ว บ่มีตั่ว เป็นต้น |
ตั๋วะ | ก. โกหก พูดปด พูดเท็จ การพูดโกหกหลอกลวง เรียก ตั๋วะ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ถง | น. ถุง ถุงสำหรับใส่เสื้อผ้า เรียก ถงผ้า กระเป๋ากางเกง เรียก ถงส้ง กระเป๋าใส่เงิน เรียก ถงเงิน |
ถิ้ม | ก. ทิ้ง เททิ้ง เรียก ถอกถิ้ม ขว้างค้อน เรียก ถิ้มค้อน |
ถืก | ก. ถูก แตะต้อง สัมผัส เช่น ของไม่แพง เรียก ของถืก พูดได้ถูกต้อง เรียก เว้าถืก ถูกเนื้อต้องตัว เรียก ถืกตัว |
โถกเถก | น. ไม้ขาหย่าง ไม้ขาหย่าง เรียก ขาโถกเถก เป็นกีฬาโบราณชนิดหนึ่ง เล่นเป็นหมู่ ๆ ใครวิ่งเร็วกว่าถือว่าชนะ |
ไถ้ไหน้ | ว. ยักแย่ยักยัน เช่น คนวิ่งหนีด้วยความกลัวจนอ่อนแรง เรียก แล่นไถ้ไหน้ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ท่ง | น. ทุ่ง ที่ราบโล่ง เรียก ทุ่ง เช่น ที่ราบกว้างใช้ทำนา เรียก ท่งนา ใช้ทำไร่ เรียก ท่งไฮ่ ที่กว้างสุดลูกหูลูกตา เรียก ท่ง เช่น ท่งหมาหิว ท่งกุลาฮ้องไห้ |
ทอดทะเนิ้ง | ว. เอกเขนก อาการนอนพิงหมอนหรือฝาผนัง เรียก นอนทอดทะเนิ้ง |
ท้อน | ก. รวม กองไว้ การให้คนมารวมกันเป็นหมู่เรียก ท้อนมาไว้หม่องเดียว |
เทิง | 1 ว. บน เหนือ สูง บนเรือนเรียก เทิงเฮือน 2 ว. ทั้ง ทั่ว เช่น ทั้งบุญทั้งบาป เรียก เทิงบุญเทิงบาป |
เทื่อ | ว. ครั้ง คราว หน เช่น ครั้งเดียว เรียก เทื่อเดียว |
โทน | 1 น. กลองโทน ชื่อกลองหน้าเดียว ทำด้วยดินเผา 2 ว. โดดเดี่ยว ไม่มีคู่ คนไม่มีคู่ถ้าเป็นชายเรียก ชายโทน ลูกชายคนเดียว เรียก ลูกชายโทน |
โทนโท้ | ว. เปล่าเปลี่ยว เดียวดาย คนที่ไม่มีคู่ครอง เรียก โทนโท้ |
คำอีสาน | ความหมาย |
- | ไม่มีคำที่แตกต่างเป็นพิเศษ |
คำอีสาน | ความหมาย |
น่วน | ก. ตีอย่างแรง เรียก น่วน เช่น ตีซ้ำหลาย ๆ หนหรือตีหลายคน เรียก น่วนนีสีไฟ |
นอนเว็น | ก. นอนกลางวัน เวลากลางวันเป็นเวลาทำงาน คนนอนกลางวันโบราณถือว่า เป็นคนขี้เกียจสันหลังยาว |
นัว | ว. รสกลมกล่อม อาหารเช่น ต้ม แกง ลาบก้อยมีรสกลมกล่อม เรียก นัว คนพูดไพเราะเป็นกันเอง เรียก เว้านัวหัวม่วน |
นาเฮื้อ | น. นาที่ปล่อยว่างไว้ สองสามปีจึงมาทำการเพาะปลูก เรียก นาเฮื้อ |
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)