คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
คำอีสาน | ความหมาย |
กก | 1 น. ต้นไม้ ต้นไม้เรียก กกไม้ เช่น กกมี้ (ต้นขนุน) กกม่วง กกยม กกเดื่อ 2 น. ต้นกก ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นผือ ต้นกกและต้นผือใช้ทอเสื่อ แต่ทอด้วยกกสวยกว่า 3 น. โคน เช่น โคนแขน เรียก กกแขน โคนขา เรียก กกขา 4 น. ต้นตระกูล ผู้เป็นต้นตระกูล เรียก กก กอ หรือเหง้าก็เรียก 5 ว. แรก ทีแรก เริ่มแรก ลูกผู้เกิดทีแรก เรียก ลูกกก |
กกแข้ว | น. รากฟัน |
กกแนน | น. คู่ครองที่เคยอยู่กินกันมาหลายภพหลายชาติ หรือที่โบราณเรียกว่า บุพเพสันนิวาส เรียก กกแนน กกมิ่ง กกแนน สายมิ่งสายแนน ก็เรียก |
กกหูก | น. ด้ายหรือไหมที่ตัดไว ้ติดกับฟืม เรียก กกหูก กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูก ในเวลาจะทอครั้งต่อไป |
กกเหงือก | น. ลิ้นไก่ uvula |
กง | 1 น. เขต แดน บริเวณ หรือสิ่งที่มีลักษณะกลมหรือคล้ายวงกลม 2 น. ดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอน เรียก คนกง โกง ก็ว่า |
ก่ง | น. ผู้เก่งกล้า ว. โค้ง คิ้วโค้งเรียกว่า คิ่วก่ง ก. ทำให้โค้ง เช่น ก่งศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า |
ก่งโก๊ะ | ว. อาการยืนหรือเดินทำหลังโกง เรียก ก่งโก๊ะ ก่มโก๊ะ ก่มโก้ย ก็ว่า |
ก่งด่ง | ว. อาการชี้ขึ้น เช่น วัวตื่นวิ่งไปหางจะชี้ก่งด่ง |
ก่น | 1 ก. เจาะ กบเขียดใช้ปากและตีนเจาะดินทำรู นาคใช้ปากและหางเจาะแผ่นดิน ทำเป็นห้วย หนอง คลองบึง การเจาะเรียก ก่น 2 ก. ขุด ใช้เสียมขุดดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อ เรียก ก่น เช่น ก่นสร้าง ก่นมัน 3 ก. เสาะหา แสวงหา ดั้นด้นไปเอาสิ่งของที่ต้องการซึ่งอยู่ไกลแสนไกล เรียก ก่น |
ก่นโต่น | ว. ล่อนจ้อน คนที่ไม่นุ่งเสื้อผ้า นุ่งชุดวันเกิด เรียก ก่นโต่น หรือ ก่นต่น |
ก้นขี้ถั่ง | น. ก้นกระแทก เช่น ยืนแล้วล้มลงก้นกระแทกกับพื้น เรียก ก้นขี้ถั่งทังยืน |
ก้นต่ง | น. ก้นใหญ่ หรือก้นโป้ เรียก ก้นต่ง |
กะบอง | น. กะไต้ ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง เรียก กะบอง กะไต้ ไต้ ขี้ไต้ ก็ว่า มีอยู่ 4 ชนิด ชนิดที่ทำด้วยไม้ผุหรือขอนดอกคลุกด้วยน้ำมันยาง เรียก กะบองขี้ยาง ชนิดที่ทำด้วยชันหรือขี้ชี เรียก กะบองขี้ชี ชนิดที่ทำด้วยยางพลวงที่ตกลงมากับขุยไม้พลวง เรียก กะบองขี้ตก ชนิดที่ทำด้วยรังแมลงคล้ายตัวชันโรง เรียก กะบองขี้ควง |
กะบั้ง | น. กระบอกไม้ไผ่มีข้อข้างหนึ่งทำไว้สำหรับตักน้ำ หรือใส่สิ่งของต่างๆ เช่น ใส่พริกเรียก บั้งหมากพริก ใส่เกลือเรียก บั้งเกลือ ใส่งาเรียก บั้งงา ใส่แจ่วเรียก บั้งแจ่ว กระบั้ง ก็เรียก |
กระจอน | น. ตุ้มหู เครื่องประดับหูของหญิงสาว ทำด้วยเงิน ทอง ทองคำ มี 2 ชนิด คือ กระจอนจูม (รูปกลม ดอกตูม) และ กระจอนยอย (เป็นสร้อยระย้า) |
กระจ้อน | 1 น. ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ตัวเล็กคล้ายกระรอก หรือกระแต หน้าแหลม 2 ว. เล็ก แกร็น เช่น ม้าตัวเล็กและผอม เรียก ม้ากระจ้อน ม้าบักจ้อน |
กระโบม | น. ชื่อภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดเป็นร่อง รูปกลมมีขอบในตัว สำหรับรอง หย่งข้าวเหนียวนึ่ง |
กระป่อม | 1 น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ รูปยาวก้นแหลม ทาด้วยชันคล้ายก้นคุ ใช้เชือกหย่อนลงตักน้ำในบ่อลึก เรียก กระป่อม คุป่อม ก็ว่า 2 น. ลำเผือกหรือลำสะโน ไม้สองชนิดนี้มีน้ำหนักเบา ตัดยาวขนาดคืบผูก เชือกห่างกันประมาณ 1 ศอก ขึงในเวลากางมอง เรียก ป่อมมอง |
กระพ้อม | น. ชื่อภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายกระบุงแต่เล็กกว่า ใช้เชือกเป็นสาย สำหรับตวงข้าวเปลือกหรือข้าวสาร เวลาแม่ค้าไปแลกข้าวจะนำกระพ้อมนี้ ไปตวง เครื่องตวงนี้เรียกว่า กระพ้อม |
กล้องขา | น. กำไลขา เครื่องประดับขาเรียก กล้องขา หล่อด้วยเงิน คำ หรือทองนาก ทำเป็นรูปกลมหรือรูปสี่เหลี่ยม ชนิดกลวงข้างใน เรียก กล้องขาโข่ง ชนิดไม่ กลวงเรียก กล้องขาตัน กอกขา ก็เรียก |
กล้องแขน | น. กำไลมือ เครื่องประดับข้อมือ เรียก กล้องแขน ลักษณะและวัตถุที่ใช้ทำเช่นเดียวกับ กล้องขา |
กลอย | น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งจำพวกมัน มีหัวกินได้ หัวดิบมีพิษ คัน ต้องแช่น้ำให้จืดแล้วนึ่งให้สุก กินแทนข้าวได้ สมัยโบราณคนอีสานอดข้าวต้องหากลอยในป่ามากิน อย่างว่า "ผู้สาวอึดเข้ากินกลอยจนหีจ่อย" (กลอนโบราณ) "ทุกข์ยากฮ้ายให้ได้อยู่นำกัน กลอยมันมีจั่งค่อยหามาเลี้ยง อ้ายนี้ทุกข์ยากฮ้ายปากก่ำกินมันหมก คันบ่กินหมกกลอยปากบ่ดำปานนี้" |
กวม | 1 ก. ครอบ คร่อม เช่นปลูกเรือนคร่อมตอ เรียก ปลูกเฮือนกวมตอ ยืนคร่อมศรีษะ เรียก ยืนกวมหัว 2 ก. ปิด บัง ปิดบังตาไม่ให้เห็นเรียก กวมตา อย่างว่า โทษท่อฟ้ากวมกั้งบ่เห็น พ่อแล้ว (ท้าวก่ำกาดำ) คนกวมกุ้มกวนกันชิงยาด ลางพ่องสิ้นเขินเนื้อเปล่าแปน (สังข์ทอง) 3 ก. คุ้มครอง ปกป้อง แผ่อำนาจราชศักดิ์ไปตุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข เรียก กวมปก 4 ก. โก่ง โค้ง คิ้วที่มีลักษณะโก่ง เรียก คิ้วกวมตา |
ก่องเก๊าะ | ว. เด็กยืนก้มศีรษะเอามือจับเข่า เรียก ยืนก่องเก๊าะ ถ้าผู้ใหญ่เรียก ยืนโก่งโก๊ะ |
ก่องแก่ง | ว. เดินย่องไปมาอย่างว่องไว เรียก ย่างก่องแก่ง อย่างว่า บอกไปไฮ่ว่าเจ็บขา บอกไปนาว่าเจ็บท้อง บอกเข้าห้องก่องแก่งปานลิง |
ก่องจ่อง | ว. อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า |
ก่อจ่อ | ว. อาการที่เด็กนั่งห่อตัว เรียก นั่งก่อจ่อ ถ้าผู้ใหญ่เรียกนั่งโก่โจ่ |
ก่อซ่อ | ว. อาการที่เด็กนั่งซอมซ่อ เรียก นั่งก่อซ่อ ถ้าผู้ใหญ่เรียก นั่งโก่โซ่ |
กอดจอด | ว. ของเล็กที่กองรวมกันไว้เรียก กองกอดจอด ของใหญ่เรียก กองกูดจูด |
ก่อด่อ | ว. อาการที่ของเล็กๆ และสั้นยื่นออกมา เรียก ก่อด่อ ถ้าของใหญ่เรียก โก่โด่ |
ก้อม | ว. สั้น เช่น สากสั้นเรียก สากก้อม นิทานสั้นเรียก นิทานก้อม (ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องตลกโปกฮา) |
ก้อย | 1 น. ลูกแคน ลูกโหวด ที่เล็กเรียก ลูกก้อยแคน ลูกก้อยโหวด นิ้วมือนิ้วเท้าที่เล็ก เรียก นิ้วก้อย 2 น. อาหารจำพวกพล่า มีหลายชนิดเรียก ก้อย เช่น ก้อยกุ้ง ก้อยปลา ก้อยหมู ก้อยงัว ก้อยเป็ด |
กั้งโกบ | ก. ยกฝ่ามือข้างหนึ่งวางไว้เหนือคิ้ว เพื่อต้องการมองดูข้างล่าง ไม่ให้แสงข้างบนมากระทบ เรียก กั้งโกบ เช่น สาวจันทร์กั้งโกบส่อง |
กากซาก | ว. ซี่ฟันที่แหลมคมและยาว เรียก แข้วกากซาก |
กากวาก | ว. ปากที่แหว่งมาก เรียก แหว่งกากวาก ถ้าแหว่งเล็ก เรียก แหว่งแกกแวก |
ก้าวหว้าว | ว. เหวอะหวะ แผลเพราะถูกมีดหรือขวานฟันเหวอะหวะ เรียก บาดก้าวหว้าว ถ้าเป็นแผลขนาดเล็กเรียก แก้วแหว้ว |
กิ่งดิ่ง | ว. ชันสูง ตลิ่งที่สูงและชัน เรียก ชันกิ่งดิ่ง เช่น ลิงตกส้างหางชันกิ่งดิ่ง คันขอบ่ซ้วนลิงนั้นส่วนตาย |
กิ้น | ว. สั้น มวนบุหรี่ที่สั้น เรียก กอกยากิ้น หมาหางสั้น เรียก หมาหางกิ้น ถ้าสั้นมากๆ เรียกหมาหางกุ้น |
กิ่นกิ่น | ว. อาการพุ่งออกของควันไฟ ถ้าพุ่งออกน้อยเรียก ควันกิ่นกิ่น ถ้าพุ่งออกมามาก เรียก ควันกุ่นกุ่น หรือ กรุ่นกรุ่น |
กิ่นติ่น | ว. อาการวิ่งไปโดยเร็วของเด็ก เรียก แล่นกิ่นติ่น |
กีกซีก | ว. สีแดงช้ำ ตาที่แดงช้ำเพราะเป็นโรคตาแดง เรียก ตาแดงกีกซีก |
กู่ซู่ | ว. อาการก้มหมอบยอบตัวของผู้ใหญ่ เรียก ก้มกู่ซู่ ถ้าเป็นอาการของเด็ก เรียก ก้มก่อซ่อ |
เกกเซก | ว. ลักษณะใบหน้าที่บางและหน้ากระดูก เรียก หน้าเกกเซก |
เก่เด่ | ว. ชี้ตรง แขนที่ชี้ตรงเรียก แขนชี้เก่เด่ หรืออาการอื่นๆ ที่มีลักษณะแข็ง ตรง ก็เรียก แข็งเก่เด่ ชันเก่เด่ เป็นต้น ถ้าสิ่งของนั้นขนาดเล็กเรียก แก่แด่ |
เกิบ | น. รองเท้า รองเท้าของคนธรรมดาเรียก เกิบ เช่น เกิบฟองน้ำ เกิบหนัง ถ้าเป็นของพระราชาเรียก เกิบแก้ว |
โกกโซก | ว. คนที่มีร่างกายเศร้าหมอง เรียก หม่นโกกโซก |
โกกโวก | ว. คนที่ซูบผอม มีหนังติดกระดูก เรียก จ่อยโกกโวก |
โก่โด่ | ว. ลักษณะของสิ่งของที่ยาวยื่นออกมาเรียก โก่โด่ |
โก่นโต่น | ว. เปลือย เปล่า คนที่เปลือยกายแบบนุ่งลมห่มฟ้า เรียก ป๋าโตโก่นโต่น ก่นโต่น ก็ว่า |
คำอีสาน | ความหมาย |
ขวง | 1 น. สะเดาดิน ชื่อผักขนิดหนึ่งเกิดปูไปตามดิน เรียก ผักขวง ผักควงขม ผักแก่นขม 2 ว. ไม่เจริญ จัญไร สิ่งที่นำความไม่เจริญมาให้ เรียก ขวง เข็ดขวง ก็ว่า |
ข่วง | 1 น. ชื่อเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง จำพวกกระรอก กระแต เรียก ข่วง 2 น. สนาม บริเวณ เวที สถานที่รวมกันเป็นจำนวนมาก เรียก ข่วง เช่น การพบปะพูดคุย และประกอบกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การเข็ญฝ้าย ทอแห ฯลฯ เรียก การลงข่วง |
ข้อง | 1 น.เครื่องจักสานทำด้วยไม้ไผ่สำหรับใส่ปลา เรียก ข้อง มี 2 ชนิด คือ ข้องพาย และข้องลอย 2 ก. เกี่ยวข้อง ผูกพัน ใจผูกพัน เรียก ใจข้อง |
ข้องหย้อง | 1 ว. อาการที่นกติดข่าย ดิ้นไปมาไม่หลุด เรียก ยืนข้องหย้อง |
ข้อย | 1 น. ข้า ใช้แทนตัวผู้พูด เช่นผญาว่า "คันเจ้ามีเฮือแล้วอย่าลืมแพไม้ไผ่ มีใหม่แล้วอย่าลืมข้อยผู้คอย" 2 น. ข้า ทาส คนรับใช้ เรียก ข้อย ข้อยมี 2 จำพวก คือ ข้อยที่สมัครใจ และข้อยโดยกำเนิด |
ข้อหล้อ | 1 น. สั้นนิดเดียว เรียก สั้นข้อหล้อ |
ขัว | 1 น. สะพาน ที่ทำด้วยไม้ ส่วนใหญ่เป็นขอนไม้ขนาดใหญ่พาดข้ามลำห้วย หรือแม่น้ำ พอที่จะเดินข้ามน้ำ ข้ามเหวได้เรียก ขัว |
ขาโถกเถก | น. ขาหย่าง ไม้สองอันมีเดือยสำหรับเหยียบ เป็นกีฬาโบราณชนิดหนึ่ง เด็กชอบเล่นวิ่งแข่งขัน เรียก เล่นหมากขาโถกเถก |
ขี้กะเดียม | ก. รู้สึกจักจี้ เรียก หนักขี้กะเดียม หนักกะเดียม ก็ว่า |
ขี้ถี่ | ว. ตระหนี่ คนที่ตระหนี่เรียก คนขี้ถี่ |
ขี้โผ้ | ว. พุงโร คนที่มีแขนขาเล็ก แต่พุงโต เรียก คนขี้โผ้ อีกอย่างหนึ่งคนที่กิน ข้าวน้อย แต่กินกับมาก เรียก คนกินโผ้ ขี้โผ้ ก็ว่า |
ขี้สีก | น. น้ำครำ แอ่งน้ำใต้ถุนเรือนตรงที่ตั้งโอ่งน้ำกินน้ำใช้ แอ่งน้ำนี้แหละเรียก น้ำขี้สีก |
ขี้สูด | น. รังของแมลงจำพวกแมงน้อย ชอบทำรังตามจอมปลวกหรือโพรงไม้ รังของมันมีน้ำหวาน เมื่อปั้นเอาน้ำหวานออกแล้วจะมีสีดำ เหนียว ใช้ติด อุดรูกันลมรั่วในเต้าแคน เรียก ขี้สูด |
ขี้เหมี้ยง | น. สนิม สนิมที่จับเหล็กทุกชนิด เรียก ขี้เหมี้ยง มีดที่มีสนิมจับเกาะ เรียก มีดเข้าขี้เหมี้ยง |
ขุ้มหลุ้ม | ว. ใหญ่และสั้น เช่น ท่อนไม้ใหญ่และสั้น เรียก สั้นขุ้มหลุ้ม สั้นขู้หลู้ สั้นโข้โหล้ ก็ว่า |
เข้าขั้ว | น. ข้าวคั่ว ข้าวสารที่คั่วให้เกรียมแล้วป่นให้ละเอียด สำหรับปรุงอาหาร เช่น ใส่ลาบ ก้อย ส้มปลาน้อย หม้ำ หรือแกงหน่อไม้ เรียก เข้าขั้ว |
เข้าจี่ | น. ข้าวเหนียวนึ่ง ปั้นเป็นก้อน ใช้ไม้เสียบตรงกลาง โรยเกลือแล้วปิ้งไฟให้สุก เมื่อสุกแล้วทาผิวนอกด้วยไข่นำไปปิ้งอีก ถอดไม้เสียบออก เอาก้อนน้ำอ้อยเข้าไป เข้าจี่นี่กินอร่อย เด็กๆ ชอบกิน |
เข้าเบือ | น. ข้าวสารแช่น้ำแล้วโขลกให้ละเอียด หรือข้าวสุกจี่ไฟ ผสมลงในแกงหน่อไม้ เพื่อให้มีรสอร่อยเรียก เข้าเบือ |
ข้าวปุ้น | น. ขนมจีน ขนมจีนเรียกว่า เข้าปุ้น ทำมาจากข้าวสารเหนียวหมักน้ำไว้สักสองสามคืน แล้วนำไปตำให้ละเอียด ผสมน้ำคั้นให้เข้ากันดีแล้ว กรองด้วยผ้าบางๆ ใส่ถุงแขวนไว้ นำไปต้มให้สุกแล้วปั้นเป็นก้อน ต้มน้ำให้เดือดบีบให้เป็นเส้นด้วยเฝียน สำเร็จเป็นเส้นเรียก เส้นข้าวปุ้น |
เข้าเหม้า | น. ข้าวเม่า ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่ เกี่ยวมาคั่วให้สุกด้วยไฟ ตำเอาเปลือกออก เรียก เข้าเหม้า ถ้าข้าวอ่อนมาก ๆ ถึงจะขั้วให้สุก เวลาตำข้าวจะติดกันเป็นก้อนๆ เรียก เข้าเหม้าขี้แมว |
เขี่ยน | ก. ข่วน หนามข่วน เรียก หนามเขี่ยน เล็บข่วน เรียก เล็บเขี่ยน ข่วนหน่อไม้ที่เผาแล้วเพื่อต้มแกงกิน เรียก เขี่ยนหน่อไม้ to scratch |
เขื่อง | ว. ใหญ่ หนองใหญ่เรียก หนองเขื่อง หัวใหญ่เรียก หัวเขื่อง |
แข้น | ว. ข้น อาการที่ข้นเรียก แข้น เช่น ลาบข้น เรียก ลาบแข้น ข้นมาก เรียก แข้นอั้นตั้น แข้นลั้นตั้น ก็ว่า |
คำอีสาน | ความหมาย |
ค้งน้ง | ว. โก่ง โค้ง สิ่งที่มีลักษณะโก่งโค้งมากเรียก ก่งค้งน้ง โค้งโน้ง ก็ว่า ถ้า ก่งนิด ๆ เรียก ก่งค้องน้อง |
ค่น | ก. เคล็ด แพลง ตีนพลิกเพราะตำตอ เรียก ตีนค่น ตีนซ่น ก็ว่า |
คบงัน | ก. ฉลอง สมโภช การแสดงความรื่นเริงในงาน เช่น ร้องลำทำเพลง เรียก เล่นมหรสพคบงัน |
ค้องย้อง | ว. คนที่มีรูปร่างเล็กและผอม เวลายืนโกงนิดหน่อย เรียกว่า ยืนค้องย้อง |
ค้อย | ว. ลาด เท เอียง สถานที่ลาดต่ำลงไปจนถึงต่ำสุด เรียก ค้อย เช่น หย่างลงค้อย |
คะนิง | ก. คะนึง คิดถึง การรำพึงคิดถึง เรียก คะนิง |
คะมะ | ก. ตกใจ กลัว อย่างว่า นางก็ตกคะมะไห้ดิ้นทั่งทวงสลบ พระกาโยเหลือง หล่าคนตายกะด้าง (สังข์ศิลป์ไชย) |
คะลำ | น.ผิด บาป กรรม สิ่งใดที่ทำลงไปผิดจารีตประเพณี ผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ ผิดศีลธรรมในทางพระศาสนา จะมีโทษมาก โทษน้อย หรือไม่มีโทษ แต่สังคม รังเกียจ สิ่งนั้นเรียก คะลำ |
คัก | ว.ถนัด แน่ชัด ถูกต้อง แน่นอน การเห็นโดยไม่มีเคลือบแคลงสงสัย เรียก เห็นคัก ยืนยันสิ่งที่พูดไปถูกต้อง เรียก แหม่นคัก ๆ |
คันคาก | น.คางคก เป็นสัตว์สี่เท้าจำพวกกบ เขียด แต่หนังหนาเป็นตะปุ่มตะป่ำ เรียก เขียดคันคาก ขี้คันคาก ก็เรียก |
คันจ้อง | 1 น.ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งในจำพวกลำดวน เรียก ต้นคันจ้อง 2 น. ชื่อร่มกั้นแดดชนิดหนึ่งทำด้วยผ้า เรียก คันจ้อง หรือ ฮ่มจ้อง |
คันโซ้ | 1 น.แมลงปอ ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง ลำตัวยาว เรียก แมงคันโซ้ 2 น. โชงโลง เครื่องมือสานด้วยไม้ไผ่มีคันยาวสำหรับจับ ใช้วิดน้ำเข้านา เรียก คันโซ้ กะโซ้ ก้านโซ้ ข้องโซ้ ก็ว่า |
คันยู | น. ร่ม ทำด้วยกระดาษ ใช้กั้นแดดกั้นฝน เรียก คันยู คันฮ่ม ฮ่มกระดาษ |
คันส้าว | น. ไม้สำหรับสอยสิ่งที่อยู่สูง ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้แก่น เช่น คันส้าวต่อยหมาก ม่วง หมากมี้ |
คันหลาว | น. ลำไม้ไผ่เสี้ยมปลายทั้งสองข้าง สำหรับหาบฟ่อนข้าวมากองไว้ในลาน |
คัว | ก. เอามีดชำแหละ หรือเชือด เรียก คัว เช่น คัวปลา คัวซี้น หรือการถากไม้ ไสกบ เพื่อทำเครื่องเรือน ก็เรียก คัว เช่น การผ่าไม้เป็นแผ่น เรียก คัวแป้น |
คีก | ว. โดดเดี่ยว ไม่มีคู่ชายหญิงที่อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย เรียก คีก คี่ ก็ว่า |
คีง | น. ร่างกาย ตัว ตน ร่างกายหมดทั้งร่าง เรียก คีง เลาคีง ก็ว่า |
คึด | ก. นึก คิด ระลึกถึง เรียก คึด เช่น คึดค้อยค้อย คิดบ่อย ๆ คิดแล้วคิดอีก, คึดเคียด คิดรังเกียจ, คึดต่อ คิดจะพึ่งพาอาศัย, คึดฮอด คิดถึง, คึดฮ่ำ ระลึกถึงเสมอ |
เคดเลด | ว. หน้าที่มีลักษณะยาว เรียก หน้ายาวเคดเลด |
เคิก | ก. เสียเวลา เช่นถึงเวลากินไม่ได้กิน เรียก เคิกกิน ถึงเวลานอนไม่ได้นอน เรียก เคิกนอน ถึงเวลาไปไม่ได้ไป เรียก เคิกไป |
เคียด | ก. โกรธ เคือง แสดงอาการโกรธเคือง เรียก เคียด |
เคะเยะ | ว. เขยก อาการเดินลงเท้าไม่ถึงพื้นเพราะเจ็บ เรียก ย่างเคะเยะ |
เคาะเยาะ | ว. อาการเต้นของกบหรือเขียดตัวเล็ก ๆ ว่า เต้นเคาะเยาะ เคาะเยาะแคะแยะ ก็ว่า ถ้าตัวใหญ่เรียกว่า เต้นโคะโยะ โคะโยะเคะเยะ ก็เรียก |
เคิก | ก.เสียเวลา เช่น ถึงเวลากินไม่ได้ยิน เรียก เคิกกิน ถึงเวลานอนไม่ได้นอน เรียก เคิกนอน |
คำอีสาน | ความหมาย |
ฆรณี | น. เมีย แม่เรือน |
คำอีสาน | ความหมาย |
ง้องแง้ง | น. ลูกน้ำ ลูกของยุงที่ไข่ลงในน้ำเวลาแตกเป็นตัวเคลื่อนไหวไปมาได้ เรียก แมงง้องแง้ง |
ง่อนต่อ | น. ส่วนของศีรษะบริเวณเหนือตีนผม ใต้ท้ายทอย เรียก ง่อนต่อ |
งัว | น. วัว โค เรียก งัว มอ ก็ว่า วัวบรรทุกสิ่งของใส่ต่าง เรียก งัวต่าง วัวตัวผู้ เรียก งัวเถิก วัวตัวเมีย เรียก งัวแม่ |
งาย | น. เวลาเช้า คนเรากินอาหารวันหนึ่งสามครั้ง กินเวลาไม่เกินสามโงเช้า เรียก กินเข้างาย กินไม่เกินเที่ยง เรียก กินเข้าสวย กินตอนค่ำเรียก กินเข้าแลง สำหรับเวลาเช้า ถ้ากินเลยสามโมงเช้าเรียก กินงายเงิก งายตาเหลือก ก็ว่า |
งีม | น. ชิ้น ส่วน ผลไม้ที่ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นเรียก งีม เช่น กินหมากม่วงไป สองงีม |
งึก | ก. ผงก ผงกศีรษะเรียก งึกหัว ถ้าเป็นอาการผงกหัว เรียก งึกงึก เช่น กิ้งก่าใหญ่ผงกศีรษะ เรียก กะปอมตอดเงางึกงึก ถ้าตัวเล็ก เรียก ตอดเงางิกงิก |
งึด | ว. แปลก ประหลาด มหัศจรรย์ เห็นเขาทำได้แต่ตัวเราทำไม่ได้ เกิดความอัศจรรย์ใจ เรียก งึด |
เงิก | ก. ยกขึ้น เงยขึ้น แหงนขึ้น อย่างว่า เงิกหน้าเบิ่งฟ้าเห็นแต่หมู่ดวงดาว ใจคะนิงหาแต่นางผู้ไกลบ้าน |
แงง | ก. ส่องกระจก การส่องกระจกดูเงาหน้า เรียก แงงแหว่น |
แงน | ว. งอน ตะโพกงอน เรียก ดากแงน |
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)