foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

หมู่บ้านช้าง

หมู่บ้านช้าง อยู่ที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านของชาวกุยหรือกวย ผู้มีความรู้เรื่องการคล้องช้างมาฝึกเพื่อใช้งานต่างๆ เป็นอย่างมาก จนมีผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์พระยาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น คนสุรินทร์จึงมีความผูกพันกับช้างมาก ในปัจจุบันชาวกุยยังคงมีความชำนาญในการเลี้ยงช้าง และสืบทอดวัฒนธรรม พิธีกรรมเกี่ยวกับช้างอย่างเหนียวแน่น มีการเลี้ยงช้างเป็นจำนวนมากอยู่ที่บ้านตากลาง จนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นหมู่บ้านช้าง มีการตั้งศูนย์คชศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับช้าง จึงเป็นหมู่บ้านที่จะเข้าไปเที่ยวชมวิถีการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้าง พิธีกรรมเกี่ยวกับช้างกับหมอปะกำ (ผู้นำในการคล้องช้าง) กิจกรรมการแสดงช้าง และวิถีชีวิตของชาวกุย

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม วิถีชีวิตของคนกับช้างที่อยู่ร่วมกัน ชาวกุยทุกบ้านต้องมีช้างเพื่อเป็นสิ่งมงคลให้กับบ้านเรือนของตนเอง และเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว เป็นหมู่บ้านเลี้ยงช้างขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม ช้างถือเป็นสิ่งมงคลกับบ้านเมือง เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับช้างมากมาย

baan chang 01

สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่

จังหวัดสุรินทร์ มีความเป็นมาว่าได้ก่อร่างสร้างเมืองเกี่ยวเนื่องกับช้าง เป็นจังหวัดที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทย คนสุรินทร์เลี้ยงช้างเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว จึงมีวิถีชีวิต มีความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ซึ่งแตกต่างจากการเลี้ยงช้างในจังหวัดอื่นๆ ช้างเป็นสัตว์ที่เป็นมงคล เฉลียวฉลาด ชื่อสัตย์ อดทน กล้าหาญ ในอดีตช้างเคยเป็นพาหนะของพระมหากษัตริย์ในการทำศึกสงคราม ในปัจจุบันช้างเป็นสัตว์ที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อปี พ.ศ. 2544 ให้ช้างเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และกำหนดให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันช้างไทย ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ 'ช้างเผือก' เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย

จังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในนาม “สุรินทร์ เมืองช้าง” มีงานแสดงช้างสุรินทร์เป็นงานประจำปีของชาติ มีหมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม ตั้งอยู่ใกล้ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะสลับป่าโปร่ง เหมาะแก่การเลี้ยงช้าง และเป็นที่อาศัยของกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ที่เรียกตัวเองว่า “กวย” หรือ “กูย” ซึ่งมีความชำนาญในการจับช้าง ฝึกหัดช้าง และเลี้ยงช้างมาแต่ดั้งเดิม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษจนกระทั่งปัจจุบัน จนเป็นที่รู้จักในนาม “หมู่บ้านช้าง” ในอาณาบริเวณเขตตำบลกระโพมีช้างรวมกันอยู่ประมาณ 300 เชือก

baan chang 02

บ้านตากลาง ถิ่นช้างเมืองสุรินทร์เป็นหมู่บ้านช้าง อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ ประมาณ 58 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 เส้นทางสายสุรินทร์ – ร้อยเอ็ด เลี้ยวซ้ายเมื่อถึง กม. 36 เข้าปากทางบ้านกระโพ ลึกเข้าไปตามถนนลาดยางบนที่ราบใกล้แม่น้ำมูล และลำห้วยน้ำชี ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร ก็จะถึงเขตหมู่บ้านช้าง พื้นที่รอบๆ หมู่บ้านช้างส่วนใหญ่จะเป็นที่นาและป่าละเมาะสลับกลับป่าโป่ง อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด ทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นป่าดงดิบสายทอ ทิศตะวันตกเป็นป่าดงดิบภูดิน ทิศเหนือของหมู่บ้านมีแม่น้ำ 2 สายไหลมาบรรจบกัน สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง บริเวณนี้จึงเหมาะสมกับการเลี้ยงช้างอย่างที่สุด

ชาวกวย หรือ กูย เป็นกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมายาวนาน รักสงบ รักอิสระ มีความสามัคคี เป็นคนมีระเบียบวินัย มีเอกภาพในสังคม มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน คือความอลังการอันน่าอัศจรรย์ ผสมผสานระหว่างคนกับช้าง

กูย วิถีคนเลี้ยงช้างแห่งอีสานใต้ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา

ก่อนปีพุทธศักราช 2500 ชาวกวยที่นี่จะมีอาชีพหลักคือ จับช้างป่ามาฝึกหัดไว้ใช้งาน ส่วนการทำนาจะทำเป็นอาชีพรอง คือ ทำเพียงแค่พออยู่พอกิน ในอดีตชาวกวยจะออกไปจับช้างปีละ 2 – 3 ครั้งๆ ละ 2 – 3 เดือน ซึ่งส่วนมากมักจะเดินทางไปจับในดินแดนราชอาณาจักรกัมพูชา

หลังจากปีพุทธศักราช 2500 เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชาและลาวได้ปิดพรมแดนลง ชาวกวยที่มี่อาชีพหลักคือ การจับช้างป่า ไม่สามารถไปจับช้างป่าเหมือนในอดีตได้ ก็หันมาทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา และเลี้ยงช้างอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข ช้างและคนได้อยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง มีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น การเลี้ยงช้างของชาวบ้านบ้านตากลางเป็นการเลี้ยงในลักษณะที่ช้างเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว เป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลาน คนกับช้างมีความรักใคร่ผูกพันรู้จิตใจกันดังญาติสนิท แตกต่างจากการเลี้ยงช้างที่อื่นซึ่งเป็นเพื่อการค้าและการท่องเที่ยว ช้างบ้านตากลางเป็นช้างบ้านที่เชื่อง นอนร่วมชายคาเรือนเดียวกันกับคน

baan chang 03

ปัจจุบันแม้ชาวบ้านตากลางจะไม่ไปจับช้างแล้ว แต่ยังมีหมอช้างที่สืบทอดภูมิปัญญาวิชาคชศาสตร์อยู่ ผู้ที่ต้องการศึกษา เรียนรู้ ท่องเที่ยว สามารถพบปะพูดคุยกับหมอช้างที่มีประสบการณ์ ในการจับช้างมาแล้วหลายครั้งได้ตลอดเวลา ชีวิตของหมอช้างเป็นชีวิตที่ต้องมีความกล้าหาญอย่างยิ่ง ชาวบ้านตากลางเป็นผู้มีความสงบเสงี่ยมสำรวม พูดน้อย ถ้าได้สนทนาด้วยแล้วจะทราบว่าเขาคือนักต่อสู้ผู้ยิ่งใหญ่

นอกจากนี้ บ้านตากลาง ยังเป็นสถานที่ฝึกช้างสำหรับแสดงในงานแสดงช้างของจังหวัดสุรินทร์เป็นประจำทุกปี และบ้านตากลางยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์คชศึกษา” พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับช้าง ภายใต้ศูนย์มีนิทรรศการประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง เช่น เชือกประกำ เชือกคล้องช้างที่ทำจากหนังควาย ฯลฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ และช่วงที่น่าไปเยี่ยมหมู่บ้านช้างมากที่สุดคือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม เพราะควาญช้างจะกลับมาเก็บเกี่ยวข้าว และนำช้างมาร่วมงานแสดงของจังหวัด ซึ่งจะมีช้างกลับมาอยู่บ้านเป็นจำนวนมาก

baan chang 04

ความเป็นมาของงานช้างสุรินทร์

ปี 2498 ถือว่าเป็นปีแห่งการชุมนุมช้างของชาวกวยอย่างไม่ได้ตั้งใจก็ว่าได้ ซึ่งการชุมนุมช้างในครั้งนั้น เกิดจากข่าวที่ว่า จะมีเฮลิคอปเตอร์มาลงที่บ้านตากลาง (เป็นหมู่บ้านของชาวกวย เลี้ยงช้าง ตั้งอยู่ที่ตําบลกระโพ อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์) ชาวบ้านจึงชักชวนกันไปดู ในสมัยนั้นพาหนะที่ใช้กันโดยทั่วไปของชาวกวยก็คือ ช้าง ซึ่งถูกฝึกมาเป็นอย่างดี แต่ละคนแต่ละครอบครัวก็พากันนั่งช้างมาดูเฮลิคอปเตอร์ พอไปถึงจุดที่เฮลิคอปเตอร์จอดปรากฏว่า ช้างที่ได้รวมกันนั้นนับได้กว่า 300 เชือก ทําเอาคนที่มากับเฮลิคอปเตอร์ตกใจ และแปลกใจมากกว่าชาวบ้านเสียอีก

เหตุการณ์ 'ชุมนุมช้าง' อย่างไม่ได้ตั้งใจใน ปี 2498 ทําให้ผู้คนที่ทราบข่าวต่างพากันให้ความสนใจกันเป็นจํานวนมาก และในปี 2503 อําเภอท่าตูม ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้าง ได้มีการเฉลิมฉลองที่ว่าการอําเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศ ซึ่งเป็นนายอําเภอในขณะนั้น ได้เชิญชวนชาวกวยเลี้ยงช้างทั้งหลาย ให้นําช้างของตนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ดูได้ชมกัน เนื่องจากไม่สามารถจะไปคล้องช้างตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างเคย อันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ

การแสดงในครั้งนั้นได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจํานวนมาก ซึ่งนอกจากจะมีการแสดงคล้องช้างให้ดูแล้ว ยังมีการเดินขบวนแห่ช้าง การแข่งวิ่งช้าง และในกลางคืนก็ได้มีงานรื่นเริงมีมหรสพต่างๆ ตลอดคืน ซึ่งใครจะคาดคิดว่า จากงานเฉลิมฉลองที่ว่าการอําเภอเล็กๆ แห่งหนึ่ง ในถิ่นทุรกันดารของภาคอีสานเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 จะกลายมาเป็นงานประเพณีของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลก นับต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีการแสดงของช้างได้ดําเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาร่วม 60 ปี แล้ว

จังหวัดสุรินทร์ ที่เคยเงียบเหงาในอดีต ได้ถูกชาวกวยและช้าง สร้างให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ "

ประเพณีบวชนาคช้าง

นอกจากการแสดงของช้างที่ลือลั่นไปทั่วโลกแล้ว สุรินทร์ยังเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่รวมกันถึง 3 กลุ่มด้วยกันคือ กวยหรือส่วย เขมร และลาว ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีขนบประเพณีที่แตกต่างกันออกไป และก็เป็นที่น่าสนใจและน่าอนุรักษ์ไว้สําหรับอนุชนรุ่นหลัง

baan chang 05

ประเพณีงานบวชประจําปี ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตําบลกระโพ อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่สําหรับจังหวัด สุรินทร์หรือประเทศไทยเท่านั้น แต่สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเลยก็ว่าได้

หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นหมู่บ้านของชาวกวยที่เลี้ยงช้าง ซึ่งช้างจากหมู่บ้านช้างแห่งนี้นี่แหละที่ไปแสดงงานช้างของจังหวัดเป็นประจําทุกปี

ชาวกวย แห่งบ้านตากลางดําเนินวิถีชีวิตด้วยการเลี้ยงช้างตามรอยบรรพบุรุษมานานนับศตวรรษ และที่แห่งนี้ก็เป็นทําเลที่เหมาะสําหรับการเลี้ยงช้างที่สุด กล่าวคือ อยู่บริเวณที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ํามูลและแม่น้ำชีที่ไหลมาบรรจบกัน กอปรกับยังมีสภาพป่าหลงเหลืออยู่บ้าง ซึ่งนับวันก็ถูกทําลายลงทุกที่ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องนําช้างออกไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่ๆ

ช่วงวันขึ้น 13-15ค่ํา เดือน 6 ของทุกปี ชาวหมู่บ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียง ที่มีบุตรชายอายุครบบวช ต่างพร้อมใจกันกันจัดงานบวชขึ้น โดยแต่ละบ้านที่จัดงานบวชก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญนาค และจัดงานเลี้ยงคล้ายๆ กับงานบวชโดยทั่วๆ ไป

ซึ่งการบายศรีสู่ขวัญนาคของชาวกวยนั้น นิยมทําเป็นคู่เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยจะจัดขึ้นในขึ้น 13 ค่ํา ครั้นพอถึงวัน ขึ้น 14 ค่ํา ซึ่งถือเป็นวันแห่นาค ทุกบ้านก็จะให้นาคขึ้นช้างและแห่มารวมกันที่วัดบ้านตากลาง ก่อนที่ทั้งหมดจะเคลื่อนขบวนแห่ไปที่ลําน้ํามูล บริเวณที่เรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ" หรือเรียกในภาษากวยว่า "หญ่าจู๊" เพื่อไปทําพิธีขอขมา และบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกวยเคารพนับถือ นอกจากศาลเจ้าพ่อที่บริเวณวังทะลุแล้ว ยังมีอีก 2 แห่ง คือ ที่ท้ายหมู่บ้านและท้ายวัด

baan chang 06

ในการแห่ขบวนทั้งหมดไปยังบริเวณลําน้ำมูล ก็คงจะคล้ายๆ กับประเพณีบวชนาคที่หาดเสี้ยว ของจังหวัดสุโขทัย และประเพณีบวชนาคของหมู่บ้านช้างบ้านตากลางนี้ ก็มีช้างเข้าร่วมขบวนนับร้อยเชือก ซึ่งนับได้ว่าเป็นขบวนแห่นาคที่ยิ่งใหญ่และหาดูได้ยากยิ่งในทุกวันนี้

ช้างแต่ละเชือกที่เข้าร่วมขบวนแห่นั้น เจ้าของหรือควาญก็ได้แต่งองค์ทรงเครื่องไม่แพ้กับนาคที่นั่งอยู่บนเจ้าตัวเท่าใดนัก บางเชือกก็มีการเขียนคําเท่ๆ ไว้ตามตัว ให้ผู้คนได้อ่านกัน คลายเครียดด้วย งานนี้ทั้งนาคทั้งช้างต่างก็ไม่ยอมแพ้กันในเรื่องความงาม

เมื่อขบวนแห่มาถึงบริเวณวังทะลุแล้ว ก็จะมีการเช่นผีปู่ตาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมเนียมของชาวกวยโดยทั่วไป การเช่นปู่ตานั้น จะเป็นในลักษณะของการเสี่ยงทายด้วย โดยการดึงคางไก่ที่ใช้ในพิธีออกมาดู ซึ่งเป็นความเชื่อเช่นเดียวกับการเสี่ยงทายคางไก่ก่อนออกไปคล้องช้าง

การเสี่ยงทายคางไก่ก่อนการบวชนี้ เพื่อทํานายดูว่า จะมีเหตุการณ์อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการบวชหรือไม่ สําหรับกระดูกคางไก่ที่ใช้เสี่ยงทายนั้น จะมีลักษณะเป็น 3 ง่าม และดูจากส่วนตรงกลางของกระดูก ถ้ามีลักษณะปลายตรงก็จะบวชได้นาน แต่ถ้าเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งก็จะบวชได้ไม่นาน และถ้าปลายนั้นงองุ้มเข้าหาคอ แสดงว่าจะมีอุปสรรคทําให้ไม่สามารถบวชได้ เมื่อพิธีทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะมีพิธีอุปสมบทในวัน ขึ้น 15 ค่ํา เดือน 6

พิธีบวชนาคช้าง บ้านตากลาง ตําบลกระโพ อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

จากคําบอกเล่าของชาวกวยที่นี่บอกว่า จัดมาไม่ต่ํากว่า 2 ชั่วอายุคนแล้ว แต่ว่าไม่มีการประชาสัมพันธ์ไปสู่ภายนอกมากนัก อาจเป็นเพราะชาวกวยเป็นกลุ่มที่รักความสงบ และก็เห็นเป็นประเพณีธรรมดาๆ แต่ว่าถ้าใครได้มาเห็นแล้ว รับรองเลยว่า ไม่ธรรมดาแน่ๆ งานช้างที่ว่ายิ่งใหญ่แล้ว มาเจองานนี้เช้าก็ต้องอึ้งไปเหมือนกัน เพราะงานช้างถือว่าเป็นการแสดง แต่งานบวชนี้เป็นประเพณีที่เกิดก่อนงานช้างหลายสิบปี

หลังจากมีผู้คนไปพบเห็นและมีการบอกเล่าต่อๆ กันมา ทําให้ประเพณีดังกล่าวถูก ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ และในแต่ละปีก็จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ แวะเข้ามาร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคัก ทําให้ประเพณีบวชของชาวกวยเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ศูนย์คชศึกษา บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

แม้ว่าในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไป ป่ารอบๆ หมู่บ้านที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีต ได้เสื่อมโทรมลงตามกาลเวลา พื้นที่เลี้ยงช้างในอดีต ถูกบุกรุกจากราษฎรในพื้นที่เข้าปลูกยูคาลิปตัส ทำให้พืชอาหารช้างลดลง จึงเป็นสาเหตุทำให้คนเลี้ยงช้างของจังหวัดสุรินทร์ ต้องนำช้างออกไปรับจ้างอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และเร่ร่อนเลี้ยงชีพอยู่ในสังคมเมือง ซึ่งเป็นที่มาของ โครงการพัฒนาหมู่บ้านช้างสุรินทร์ ซึ่งประกอบไปด้วยแผนแม่บทพัฒนาหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก โครงการช้างคืนถิ่นพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด ฯลฯ เพื่อให้ช้างและควาญช้างได้กลับมาอยู่ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ตลอดไป

รายการ "ทั่วถิ่นแดนไทย" ตอน สัมผัสวิถีชาวกูย บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)