foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว หิมะตกหนัก อากาศหนาวสุดขั้ว บางแห่งถึงขั้นติดลบ 46 องศาเซลเซียส ประเทศไทยเฮากะบ่หยอกคือกัน ทางตอนเหนือลดลงถึงศูนย์องศา เกิดแม่คะนิ้ง (น้ำค้่างแข็งบนยอดหญ้ากันแล้ว) ในช่วงวันที่ 10-13 มกราคมนี้ อุณหภูมิจะลดลงอีกมาก 5-7 องศา ในภาคเหนือและภาคอีสานบ้านเฮา รักษาสุขภาพกันดีๆ เด้อ อย่าสิเจ็บสิไข้ ซำบายดีครับ ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

ไดโนเสาร์

ไดโนเสาร์ การขุดพบโครงกระดูกไดโนเสาร์บนทือกเขาภูเวียง ได้สร้างชื่อเสียงให้กับเทือกเขาภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดพบโครงกระดูกของ ไดโนเสาร์ซอโรพอด และโครงกระดูกไดโนเสาร์ชนิดใหม่ที่ชื่อว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน" ซึ่งนำชื่อภูเวียงมาเป็นชื่อสกุล และอัญชิญพระนามาภิไธยใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นชื่อชนิดนั้น ยิ่งทำให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา สังกัดกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เน้นการจัดแสดงเรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์

dino sao 04

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม โครงกระดูกไดโนเสาร์ชนิดใหม่ที่ชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม การศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพยากรธรณีสู่สาธารณชน เพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป

การค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทย

สืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2513 หน่วยสำรวจธรณีวิทยา จากสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปสำรวจแหล่งแร่ในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และได้พบ แร่ยูเรเนียม ชนิดคอฟฟินไนต์ เกิดร่วมกับ แร่ทองแดงชนิดอะซูไรต์และมาลาไคต์ ทำให้ต่อมา องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงานปรมาณู เข้าไปสำรวจเพิ่มเติมด้วย ระหว่างปี พ.ศ. 2518 ตลอดจนปี พ.ศ. 2523 กรมทรัพยากรธรณีได้เข้าไปทำการเจาะสำรวจในรายละเอียด

ในปี พ.ศ. 2519 นายสุธรรม แย้มนิยม นักธรณีวิทยา ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์เศษกระดูกไดโนเสาร์ บริเวณพื้นลำห้วยประตูตีหมา และต่อมาวินิจฉัยได้ว่าเป็นเศษส่วนปลายของกระดูกขาหลัง ท่อนบนด้านซ้ายของ ไดโนเสาร์ซอริสเชีย ในกลุ่มซอโรพอด (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มี 4 ขา คอยาว หางยาว) โดยถือได้ว่าเป็นการค้นพบหลักฐานไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทย ที่นำไปสู่การสำรวจและวิจัยอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบัน

dino sao 02

นับจากการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณี โดย โครงการความร่วมมือด้านบรรพชีวินวิทยา ไทย-ฝรั่งเศส ได้ทำการสำรวจไดโนเสาร์บนเทือกเขาภูเวียงอย่างต่อเนื่อง มีการค้นพบกระดูก ฟัน และรอยตีนไดโนเสาร์จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พบอยู่ในหินทราย หมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียสตอนต้น (ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว) มีทั้ง ไดโนเสาร์ซอโรพอด และเทอร์โรพอด หลากหลายสายพันธุ์ และมีขนาดตั้งแต่ตัวเท่าแม่ไก่ ไปจนถึงมีลำตัวยาวจากหัวจรดหางมากกว่า 15 เมตร

นับเป็นการค้นพบที่สำคัญ ทำให้คนไทยมีความตื่นตัว เดินทางไปเยี่ยมชมแหล่งไดโนเสาร์ที่เทือกเขาภูเวียงอย่างต่อเนื่อง และรวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรหลุมขุดค้นที่ 2 ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 และได้เสด็จพระราชดำเนินพาคณะกรรมการรางวัลนานาชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทอดพระเนตร พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2551

การค้นพบแหล่งไดโนเสาร์บนเทือกเขาภูเวียง ถือเป็นการค้นพบที่สร้างชื่อเสียงให้กับ เทือกเขาภูเวียง เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไดโนเสาร์ซอโรพอด สกุลและชนิดใหม่จากภูเวียงที่ชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phuwiangosaurus sirindhornae) ที่ใช่ชื่อภูเวียงเป็นชื่อสกุล และใช้นามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นชื่อชนิดนั้น ยิ่งทำให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวาง

dino sao 03

ทำให้หน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานมีความเห็นว่า สมควรก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงขึ้น และได้เลือกพื้นที่สาธารณประโยชน์ โคกสนามบินเนื้อที่ 100 ไร่ เป็นสถานที่ก่อสร้าง โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างในส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ ด้วยพื้นที่ใช้สอย 5,500 ตารางเมตร กรมทรัพยากรธรณี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำกับดูแล โดยได้ทำการจัดนิทรรศการถาวร และเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2544

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า เป็นส่วนหนึ่งของ ศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ กรมทรัพยากรธรณี เพื่อศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพยากรธรณีสู่สาธารณชน เพื่อการอนุรักษ์ เพื่อประโยชน์ของสังคมและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป

ไดโนเสาร์แดนอีสาน : อีสาน – ดินแดนแห่งไดโนเสาร์

อาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบริการ ได้แก่ ร้านขายของที่ระลึก ห้องอาหาร ห้องบรรยาย ส่วนวิชาการ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการ ห้องทำงาน ห้องสมุด และส่วนนิทรรศการ ได้แก่ ห้องจัดแสดงชั้นล่างและชั้นบน จัดแสดงนิทรรศการการกำเนิดโลก หิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ และหุ่นจำลองไดโนเสาร์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง กรมทรัพยากรธรณี โทรศัพท์ 043-438204-6

การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง จากขอนแก่นเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ ถึงทางแยกไปอำเภอภูเวียง ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร จึงแยกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2038 อีก 22 กิโลเมตรถึงอำเภอภูเวียงและเดินทางต่อไปอีก 10 กิโลเมตรถึงพิพิธภัณฑ์

dino sao 05

การค้นพบซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว

ไดโนเสาร์แดนอีสาน : ฟอสซิล

การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ที่ ภูกุ้มข้าว ในปี พ.ศ. 2537 โดย ท่านพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ต่อมาในปลายปีเดียวกัน ทางคณะสำรวจไดโนเสาร์ จาก กรมทรัพยากรธรณี ได้เริ่มเข้าไปทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ และพบว่า ที่ภูกุ้มข้าวเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทย โดยนักวิชาการได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ในสมัยดึกดำบรรพ์บริเวณภูกุ้มข้าวเป็นธารน้ำแข็งโบราณ ที่มีเหล่าไดโนเสาร์มาดื่มกินน้ำ แต่ว่าเกิดภัยพิบัติเฉียบพลันขึ้น ทำให้ไดโนเสาร์ล้มตายบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก

dino sao 06

พบซากไดโนเสาร์จำนวนมากในชั้นหินเสาร์ขัว ยุคครีเตเซียสตอนต้น อายุประมาณ 130 ล้านปี แหล่งขุดค้นแห่งนี้พบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชจำนวนมากกว่า 700 ชิ้น สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ประมาณ 7 ตัว นอกจากนี้ ยังมีซากปลาโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เป็นปลาน้ำจืดมีชื่อว่า “เลปิโดเทส” ยาวประมาณ 30–60 เซนติเมตร อยู่ใน ยุคมีโซโซอิค หรือ 65 ล้านปีที่แล้ว คาดว่า บริเวณที่พบคงเป็นบึงขนาดใหญ่แล้วเกิดภัยแล้งทำให้ปลาตาย และถูกซากโคลนทับไว้ กลายเป็นฟอสซิลจนถึงปัจจุบัน นับว่าภูกุ้มข้าวเป็นแหล่งที่พบซากฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์แหล่งใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

จากนั้นทีมสำรวจก็ได้ลงมือขุดค้น พบกระดูกและซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากที่นี่ ทางกรมทรัพยากรธรณี จึงได้ตั้งเป็นศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้นในปี 2538 โดยในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์และจัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น มีการจัดสร้างอาคารหลุมขุดค้นขึ้นชั่วคราว เพื่อใช้ป้องกันซากกระดูกและบังแดดฝน ให้ร่มเงาแก่ทีมสำรวจ

dino sao 08

ปี 2542 กรมทรัพยากรธรณี สร้าง “อาคารพระญาณวิสาลเถร” ที่ตั้งชื่อตามสมณศักดิ์ของท่านเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ให้เป็นอาคารหลุมขุดค้นถาวร พร้อมกับเปิดตัวแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ให้คนทั่วไปได้รับรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

ปี 2544 อาคารพิพิธภัณฑ์สิรินธรส่วนแรกสร้างแล้วเสร็จ ก่อนจะทำการทดลองเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2550 จากนั้นได้ทำการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปีถัดมา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดในวันที่ 9 ธันวาคม 2551

dino sao 07

พิพิธภัณฑ์สิรินธร เป็นอาคารขนาดใหญ่ มีการออกแบบเลียนแบบชั้นหินให้กลมกลืนกับภูมิประเทศภูกุ้มข้าว ภายนอกอาคารมีการจัดทำหุ่นจำลองไดโนเสาร์หลายพันธุ์จัดแสดงไว้ได้อย่างน่าดูชม ขณะที่ภายในอาคารนั้นจัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวร นำเสนอเรื่องราวของไดโนเสาร์อย่างครบเครื่อง น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเมื่อก้าวเข้าสู่ภายในโถงต้อนรับของพิพิธภัณฑ์ เราก็จะได้พบกับหุ่นจำลอง “สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส” ที่ยืนเด่นกลางโถงอ้าปากแยกเขี้ยวทำหน้าถมึงทึง ซึ่งเจ้าตัวนี้ถือเป็นไฮไลท์ของภูกุ้มข้าว เพราะมันเป็นบรรพบุรุษของ “ไทรันโนซอรัส เร็กซ์” หรือ เจ้า “ที-เร็กซ์” จอมโหดแห่งเรื่อง “จูราสสิกพาร์ก” ที่ใครเคยดูหนังเรื่องนี้คงจะคุ้นเคยกันดี

dino sao 09

ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร (อังกฤษ: Sirindhorn Museum) เป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย อยู่ที่ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยา ที่มีการจัดแสดงซากกระดูกไดโนเสาร์ และแสดงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในมุมมองต่างๆ ทั้งเชิงวิชาการ การอนุรักษ์ รวมไปถึงความสัมพันธ์ต่างๆ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สิรินธร ได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "พิพิธภัณฑ์สิรินธร" มีการจัดแสดงแบ่งเป็น 8 โซน [ คลิกไปอ่านเพิ่มเติม ]

ไดโนเสาร์ สัตว์ดึกดำบรรพ์

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)