คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
พิณพื้นเมือง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ทางจังหวัดอุบลราชธานี เรียกพิณว่า "ซุง" น่าจะเรียกมาจากท่อนไม้ที่นำมาทำ ทางจังหวัดชัยภูมิเรียกว่า "เต่ง" หรือ "อีเต่ง" หนองคายเรียกว่า "ขยับปี่" นอกจากนั้นยังมีเรียกแตกต่างออกไปอีก เช่น ซึง หมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน (ไม้บักมี่) เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน การขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้น (Fret) ที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่า ลาย โดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน
พิณอีสาน มีส่วนประกอบหลักๆ 7 ส่วนดังนี้
พิณอีสานนั้นมีทั้งแบบพิณ 2 สาย 3 สาย และ 4 สาย
การติดขั้นแบ่งเสียงลงบนคอพิณ ทำได้หลายสเกล (Scale หมายถึง ขั้นของเสียง) ตามแต่ชนิดของเพลงที่จะใช้พิณบรรเลง เพราะขั้นของพิณนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากการใช้ขี้สูดติด ขั้นแบ่งเสียงเข้ากับคอพิณ แต่ส่วนใหญ่นักดนตรีอีสาน จะแบ่งสเกลเสียง โด เร มี ซอล ลา เป็นพื้นฐาน เพราะเพลงที่เล่นมักจะเป็นเพลงที่มาจากลายแคนเป็นส่วนใหญ่ มีช่างทำพิณหลายคนแบ่งสเกลเสียงตามแบบไมเนอร์อยู่บ้าง คือ ในชั้นเสียงที่ 3 และ 6 เป็นครึ่งเสียง นอกนั้นเต็มเสียง และเนื่องจากเครื่องดนตรีตะวันตกจำพวก 'กีตาร์' เข้ามาได้รับความนิยมในหมู่นักดนตรีรุ่นใหม่ นักดนตรีเหล่านั้นปรับปรุงการแบ่งสเกลเสียงของพิณให้เหมือนสเกลของกีตาร์ไปเลย ก็ย่อมได้เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้เหมาะกับการเล่นร่วมกับเพลงสากล
พิณอีสานหลังจากผ่านระยะเวลามาเนิ่นนานรูปแบบก็พัฒนาไปจากเดิมอย่างนี้
พิณทั้งหมดนี้เป็นผลงานของศิลปินพื้นบ้าน : นายสงวน ทรัพย์เตี้ย
95 หมู่ 2 บ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
คำว่า ลาย หมายถึง ท่วงทำนองเพลงที่ใช้เป่า หรือบรรเลง ด้วยเครื่องดนตรีอีสาน ซึ่ง ลาย ก็คือ เพลง นั่นเอง เพลงที่ใช้กับ พิณ เป็นเพลงที่มาจากลายแคน มีหลายลาย เช่น ลายใหญ่ ลายน้อย ลายลำเพลิน ลายนกไทรบินข้ามทุ่ง ลายแมลงภู่ตอมดอก ลายลมพัดไผ่ ลายกาเต้นก้อน ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายไล่งัวขึ้นภู ลายโป้ซ้าย ภูไทเลาะตูบ เต้ยหัวดอนตาล ลายสร้อยสีกซิ่น เซิ้งขิก มโนราห์ ศรีโคตบูรณ์ สังข์ศิลป์ชัย ลมพัดพร้าว เซิ้งกลองยาว ทองสร้อย เป็นต้น
เพื่อให้ท่านได้รับฟังความงาม ของลายพิณอีสาน จึงได้นำเอาตัวอย่างของลายพิณที่ดีดโดยศิลปินพื้นบ้าน มาทำเป็นไฟล์ MP3 ให้ท่านดาวน์โหลดไปฟัง ต้องขออภัยในคุณภาพเสียงครับ เพราะเป็นแค่ระบบโมโนเท่านั้น แต่ก็ชัดเจนพอควรครับ บันทึกจากคาสเซ็ทธรรมดา ณ ลานบ้าน (ไม่มีห้องอัดครับ) เลือกเอาที่โหลดได้นะครับ
พิณใช้เล่นกับวงซอ โปงลาง แคน หมอลำ กลองยาว และจะมีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เช่น กลอง กรับ ฉิ่ง ฉาบและไหซอง เป็นต้น
รายการ แทนคุณแผ่นดิน ตอน มือพิณถิ่นอีสาน #1
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)