คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2546 ที่ผ่านมาได้ไปร่วมชม การประกวดหมอลำซิ่งท่องเที่ยวทั่วอีสาน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชบุรี ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ครึกครื้นมากทีเดียวครับ มีคณะหมอลำตัวแทนจากจังหวัดต่างๆ จำนวน 6 คณะ คือ อำนาจเจริญ นครราชสีมา อุดรธานี มหาสารคาม สกลนคร และกาฬสินธุ์ เข้าร่วมชิงชัยหาตัวแทนภาคอีสาน 10 คณะไปชิงชนะเลิศที่กรุงเทพฯ (ยังมีรอบก่อนรองชนะเลิศอีก 2 แห่ง ที่จังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น สำหรับตัวแทนใน 13 จังหวัดที่เหลือ)
การแข่งขันในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและยกระดับวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยเฉพาะหมอลำซิ่งให้มีพัฒนาการในทางร่วมสมัย รับใช้สังคมและท้องถิ่น โดยใช้สื่อกลอนลำที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคอีสาน แหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญ และส่งเสริมการผลิตและซื้อขายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล จึงได้เห็นเครื่องแต่งกายของคณะหมอลำซิ่งที่ใช้ผ้าพื้นเมือง และสิ่งประดับอื่นๆ ในท้องถิ่น
การประกวดแข่งขันครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยจัดแข่งขันในระดับจังหวัดมีคณะหมอลำซิ่งเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 95 คณะ เพื่อหาตัวแทนแต่ละจังหวัดรวม 19 คณะเข้าแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ 3 สนามคือที่ อุบลราชธานี นครราชสีมาและขอนแก่น เพื่อหาตัวแทน 10 คณะจาก 3 สนามแข่งขันไปชิงชัยที่กรุงเทพมหานคร ด้วยเงินรางวัลสูงสุดถึง 1 ล้านบาท รองชนะเลิศห้าแสนบาท รองอันดับสามสามแสนบาท และรางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละหนึ่งแสนบาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษอีกหลายรางวัล ข่าวความคืบหน้าจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไปครับ
หมอลำกลอนซิ่ง ชุด เอวค้าง โดย สมาน หงษา และ อุไร ปุยวงศ์
ศิลปินรับเชิญ หมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทา ศิลปินแห่งชาติ)
รวมกลอนลำ ของ สมาน หงษา
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)