foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

heet m 03

บุญเดือนสาม

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ กุศลยัง สินำค้ำตามเฮามื้อละคาบ หากธรรมเนียมจั่งซี้มันแท้แต่นาน ให้ทำบุญไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อ เอย คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า บ้านเมืองเฮาสิเศร้า ภัยฮ้ายสิแล่นตาม "

บุญข้าวจี่ เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน ที่กระทำกันในเดือนสาม จนเรียกว่า บุญเดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญที่มีกำหนดอยู่ในฮีตสิบสอง ดังรู้จักกันทั่วไปว่า "เดือนสามคล้อยจัวหัวปั้นข้าวจี่ เดือนสี่คล้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี)"

บุญข้าวจี่นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม คือ ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา (เดือนสาม ขึ้น 14 ค่ำ) แล้ว ส่วนใหญ่จะกำหนดวันแรม 13 ค่ำ และ 14 ค่ำ เดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นกิจกรรมร่วมของชุมชนหลายหมู่บ้าน นั่นคือ ชาวอีสานบางหมู่บ้านเรียกงานบุญนี้ว่า "บุญคุ้ม" จะทำกันเป็นคุ้มๆ หรือ บางหมู่บ้านก็จะทำกันที่วัดประจำหมู่บ้าน ล้วนแล้วแต่เป็น บุญข้าวจี่ หรือ บุญเดือนสาม นั่นเอง ชาวบ้านที่เป็นเจ้าภาพก็จะบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมกันทำบุญ

boon kao jee 01

ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว เอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออก แล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทน กลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ นำไปปิ้งไฟ ข้างนอกทาด้วยไข่และน้ำมันหมู ข้างในมีน้ำอ้อยก้อนถือเป็นข้าวจี่ที่ดีที่สุด พอเกรียม  จะได้ข้าวจี่จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า

boon kao jee 03

ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียก หัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า

เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา ”

เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่า เป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือ มีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง

เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆ์เจ้าเอาแท้หมู่บุญ ”

ประวัติความเป็นมาประเพณีบุญข้าวจี่

มูลเหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาได้มีการทำนาเสร็จสิ้น  ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งใหม่จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายแก่พระสงฆ์  สำหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทำบุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า  ในสมัยพุทธกาล นางปุณณะทาสี  ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ  ครั้นถวายแล้วนางคิดว่า "พระองค์คงไม่เสวย และอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะอาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน"

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบภาวะจิตของนางปุณณะทาสี  จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะ แล้วทรงประทับนั่งฉันท์  ณ  ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ก็บรรลุโสดาบันปัตติผล ด้วยอานิงสงฆ์ที่ถวายขนมแป้งจี่ 

จากเรื่องราวนี้ชาวอีสานได้นำมาเป็นคติความเชื่อว่า "การถวายข้าวจี่นั้นจะได้อนิสงส์มาก" ดังนั้นชาวอีสาน รวมถึงชาวลาวที่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จึงพากันยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า “บุญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม” จัดอยู่ในช่วงเดือนปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์

boon kao jee 02

ดังที่ปราชญ์อีสานได้ประพันธ์ผญา (บทกลอน) เกี่ยวกับการทำบุญช่วงเดือนสาม และเดือนสี่ ในประเพณีฮีตสิบสองไว้ว่า “เถิงเมื่อเดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ตกเมื่อเดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี” แปลว่า เมื่อถึงเดือนสามพระภิกษุสามเณรจะรอชาวบ้านทำบุญข้าวจี่ และเมื่อถึงเดือนสี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) สามเณรจะเทศน์กัณฑ์มัทรีในงานบุญมหาชาติ

ในปัจจุบัน "ข้าวจี่" ถือเป็นอาหารว่างที่ราคาไม่แพง มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ทั้งในภาคอีสานและในกรุงเทพฯ  ขายคู่กับหมูปิ้งหรืออาหารว่างอย่างอื่น สำหรับเป็นอาหารในชั่วโมงเร่งด่วน รับประทานได้ง่าย รสชาติอร่อย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าข้าวจี่นอกจากเป็นอาหารที่ชาวอีสานทำขึ้นเพื่อการทำบุญ และนิยมทำรับประทานแล้ว ยังเป็นอาหารที่ผู้บริโภคทั่วไปสามารถรับประทานได้อีกด้วย

เดือนสามบุญข้าวจี่

บุญข้าวจี่ซึ่งมักจะเป็นวันเพ็ญเดือนสาม ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจัดเตรียมข้าวจี่ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มารวมกันที่ศาลาโรงธรรม ญาติโยมจะมาพร้อมกันแล้วอาราธนาศีล ว่าคำถวายข้าวจี่เส็จแล้วเอาข้าวจี่ไปใส่บาตร พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้ว ญาติโยมยกอาหารคาวหวานไปถวายพระฉันเสร็จแล้วอนุมโทนาเป็นการเสร็จพิธีถวายข้าวจี่ ในปัจจุบันชาวบ้านนอกจากจะทำบุญข้าวจี่แล้วยังทำบุญมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง วันมาฆบูลานี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนสามเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพระทูทธศาสนา 4 ประการคือ

  1. เป็นวันเพ็ญเดือนสาม ดวงจันทร์เสยวมาฆฤกษ์
    2. พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันที่เวฬุวันมหาวิหารโดยมิได้นัดหมายกันล่วงหน้า
    3. พระสงฆ์ที่มาประชุมครั้งนี้นล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา (ภิกษุที่พระพุทธเจ้าบวชให้)
    4. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์

คำถวายข้าวจี่

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสัมฺพุทฺธสฺส ( 3 หน)
สทา ชาครมานานํ อโหรตฺตานุสิกฺขินํ
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ อฎฐํ คจฉนฺติ อาสวาติ ฯ "

นอกจากนี้แล้ว ได้มีการเพิ่มการทำบุญอีกอย่างหนึ่งเข้ามาในเดือนนี้ นั้นก็คือบุญมาฆะบูชา เพราะว่า วันมาฆะบูชา นั้นเป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงวางรากฐานของพุทธศาสนา โดยพระองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ท่ามกลางพระอรหันต์สาวกจำนวน 1,250 รูป ณ วฬุวันมหาวิหาร ในเวลาตะวันบ่ายคล้อย ซึ่งเป็นวันเพ็ญเดือนสามหรือที่ภาษาบาลีเรียกว่า ”มาฆมาส” สำหรับโอวาทปาฏิโมกข์หรือหลักการของพุทธศาสนาที่สำคัญที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้นั้นมี 3 ข้อ ดังนี้

  1. การไม่ทำบาปทั้งปวง
  2. การทำความดีให้ถึงพร้อม
  3. การทำจิตใจให้บริสุทธิผ่องแผ้ว

boon kao jee 04

การทำบุญในวันมาฆะบูชานี้ เพื่อเป็นการบูชาให้ถูกต้องตามหลักการของคำว่า “มาฆะบูชา” ที่แปลว่า การบูชาพระรัตนตรัย ในวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือนสามนอกเหนือจากการบูชาตามปกติของวันสำคัญทางพุทธศาสนาด้วยการสมทานศีล ฟังธรรมถวายทาน และเวียนเทียนแล้ว ควรจะมีการปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ดังที่ได้กล่าวแล้วด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นยอดแห่งการบูชาทั้งปวง..

รายการทีวีชุมชน ThaPBS : บุญข้าวจี่

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพระสงฆ์ในอีสาน "เจ้าหัว กับจัวน้อย"

ก่อนที่พุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในแดนอีสาน สมัยเก่าก่อนนั้น "ฅนอีสาน" นับถือผี ซึ่งมีทั้งผีในป่าช้า ป่าเขา ถ้ำ ในที่รกร้าง หัวไร่ ปลายนา ซึงเป็น "ผีฝ่ายอธรรม" กับอีกผีหนึ่งคือผีที่มีบุญคุณ คือ "ผีบ้านผีเรือน" ที่จะคอยดูแลปกปักรักษาคนในครอบครัว ต้องมีการเซ่นสรวงบูชา ตอนแรกจะอยู่ตามมุมบ้านเรือน หรือ "แจเฮือน" ต่อมาก็ทำหิ้งบูชายกขึ้นสูงเหนือหัว มีขันดอกไม้ บูชาในวันสำคัญๆ ที่กำหนดในแต่ละถิ่น

ต่อมาเมื่อหันมานับถือพุทธศาสนา จากหิ้งผีก็กลายเป็นหิ้งพระบูชา นำเอาพระพุทธรูปที่แกะจากไม้ หรือที่ปั้นด้วยดินเผา ไปวางบนหิ้งแทนการบูชาผี จึงเรียกว่า หิ้ง "พระเจ้าอยู่หัว" ตอนหลังคำก็กร่อนสั้นลงเป็น "เจ้าหัว" และนำไปใช้เรียกพระสงฆ์ในวัดว่า "เจ้าหัว" และเรียกเณรน้อยว่า "เจ้าหัวน้อย" แล้วกร่อนคำเหลือแค่ "จัวน้อย"

นี่จึงเป็นที่มาของการเรียก พระภิกษุสงฆ์-สามเณร ในอีสานว่า "เจ้าหัว กับ จัวน้อย"

ที่มา : ผศ.ดร.สถิตย์ ภาคมฤก ผู้เชี่ยวชาญด้านคติชนวิทยาท้องถิ่นอีสาน
มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)