foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

heet m 04

บุญเดือนสี่

ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผา มาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้ อย่าได้ไลหนีเว้น แนวคองตั้งแต่เก่า ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ ให้ฝูงซาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน มันสิหมองเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จนแท้แหล่ว "

pawes 02ลายคนคงจะสงสัยกันอยู่กับคำว่า "ผะเหวด" มีความหมายอย่างไร คำว่า "ผะเหวด" นั้นเป็นการออกเสียงตามสำเนียงอีสาน มาจากคำว่า "พระเวส" หมายถึง พระเวสสันดร งานบุญผะเหวด เป็น 1 ในประเพณี 12 เดือน หรือ ฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน (การทำบุญประเพณี 12 เดือน) โดยพระเพณีนี้จะจัดขึ้นในเดือนที่ 4 ของไทยหรือช่วงเดือนมีนาคม โดยกำหนดจัดงานในวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี (อาจจะขยับไปนิดหน่อยเพื่อไม่ให้ตรงกับหมู่บ้านใกล้เคียง)

ประเพณีบุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่นั้น สะท้อนให้เห็นถึง ความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวอีสานยึดถือและปฏิบัติกันมาช้านานอย่างเคร่งครัด เพราะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่สุดก็ว่าได้

การจัดงานบุญผะเหวดนั้น สำคัญอยู่ที่การจัดให้มีเทศน์เรื่อง "พระเวสสันดรชาดก" หรือ เทศน์มหาชาติ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่า "ถ้าหากฟังเทศน์มหาชาติครบทั้งหมดในวันเดียว และจัดเตรียมเครื่องคาย (บูชา) ได้อย่างถูกต้อง ก็จะได้เกิดในศาสนาพระอริยเมตไตรยในภายภาคหน้า แต่ถ้าหากตั้งเครื่องคาย (บูชา) ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดอาเพศและสิ่งไม่ดีต่างๆ ตามมา" จึงทำให้ทุกคนในหมู่บ้านให้ความสำคัญกับงานนี้อย่างมาก โดยจะมาทำพิธีร่วมกันทุกคน อีกประการหนึ่ง คือ เพื่อระลึกถึงพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพียรบารมี อันเป็นชาติสุดท้ายของพระองค์ก่อนจะเสวยชาติและตรัสรู้เป็น "พระพุทธเจ้า" ในภายหลัง

pawes 03นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังได้แฝงความเชื่อหลายประการไว้ด้วย คือ ความเชื่อในเรื่อง พระอุปคุต อันเป็นพระผู้รักษาพิธีต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นตังแต่ต้นจนจบ โดยมีความเชื่อกันว่าในการทำบุญแต่ละครั้งจะมี "มาร" เข้ามาขัดขวางทำลายพิธี ชาวพุทธจึงต้องนิมนต์ "พระอุปคุต" มาร่วมพิธีด้วย เพื่อช่วยขจัดอันตรายต่างๆ และเกิดความสวัสดิมงคลอีกด้วย

การนิมนต์พระอุปคุตจะเริ่มทำก่อนวันเทศน์มหาชาติหนึ่งวัน เรียกว่า "มื้อโฮม (วันสุกดิบ)" ในตอนบ่ายจะทำพิธีแห่พระเวสส์ (พระเวสสันดร) เข้าเมือง

หลังจากนั้นจะนิมนต์พระอุปคุตมาสถิต ณ บริเวณพิธี โดยมีขบวนแห่ดอกไม้ ธูป เทียน ขันห้า หรือขันแปด ไปยังสระน้ำที่อยู่ใกล้ๆ แล้วผู้อาวุโสจะหยิบก้อนหินจากสระน้ำขึ้นมาถาม 3 ครั้ง ก่อนจะนำหินนั้นมาสถิตๆ ไว้ยัง "หอพระอุปคุต" (สมมุติว่าหินนั้นเป็นพระอุปคุต) โดยกำหนดหอพระอุปคุตเป็นศาลเพียงตา หรือทำหิ้งบูชาอยู่ในมณฑลพิธี ซึ่งจะมีเครื่องบูชาต่างๆ ได้แก่ บาตรพระ, ขันห้า หรือขันแปด, ผ้าไตรจีวร, พานหมากและพานยาสูบ, ร่มกางกันแดด, น้ำดื่มและกระโถน วางไว้ (วัดใดมีสระก็จะสร้างศาลเพียงตาเล็กๆ ไว้ในสระ หากไม่มีหรือมีแต่อยู่ไกลบริเวณพิธี ก็จะกำหนดเขตที่ตั้งศาลเป็นบริเวณสระน้ำ)

pawes 01บุณผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ในตำนานฮีตสิบสอง ได้กล่าวถึงการทำบุญผะเหวด ไว้ว่า "ฮอดเดือน ๔ ให้พากันเก็บ ดอกจาน สานบั้งไม้ไผ่เสียบดอกจิก ..." ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไปของชาว อีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือนสาม พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาตินี้เอง และในงานนี้ ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ ไปเกิดในภพพระอริยเมตไตรย์

ชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละหนึ่งครั้ง ระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงกลางเดือน 5 โดยจะมีวันรวม ตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลา หรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมาร รอบๆ ศาลการเปรียญจะแขวน ผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ 1 ถึงกัณฑ์สุดท้าย

pawes 04การจัดงานประเพณีบุญผะเหวดที่ถือว่าจัดได้ยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ต้องที่เมืองเกินร้อย หรือเมืองร้อยเกิน จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจะจัดประเพณีบุญผะเหวดในช่วงสัปดาห์แรก ของเดือนมีนาคม ของทุกปี ในชื่องาน "กินข้าวปุ้น บุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"

ชาวร้อยเอ็ดทุกหมู่เหล่า ได้จัดร้านข้าวปุ้น (ขนมจีน) พร้อมทั้งน้ำยาหลากหลายชนิด ให้ผู้มาร่วมงานได้กินฟรีตลอดงาน พร้อมจัดกิจกรรมการแข่งขันกินข้าวปุ้นเร็ว ชิงรางวัลเงินสด และถ้วยรางวัล การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การประกวดดนตรีพื้นบ้าน การเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสน ส่วนภาคกลางคืน จะเป็นการแสดงแสง สี เสียง ตำนานพระเวสสันดรชาดก โขนจากกรมศิลปากรเรื่อง รามเกียรติ์ และหนังตะลุง ให้ชมฟรีตลอดทั้งคืนอีกด้วย

บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลคือ ประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติ เป็นสำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาล ที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่า และอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไป

ลำกลอน บุญพระเวส โดย ทองแปน พันบุปผา

หมายเหตุ : บทความนี้อาจจะยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ เพราะมีคนรุ่นลูกหลานสอบถามมากันมาก ทั้งเรื่องการฟังเทศน์มหาชาติ การแห่อุปคุต การแห่ข้าวพันก้อน มีความเกี่ยวพันกันเช่นไรใน "บุญผะเหวด บุญพระเวส" หรือ "บุญมหาชาติ" นี้ ก็เลยไปค้นคว้าสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความมาดังนี้ครับ

ความเป็นมาและมูลเหตุแห่งการทำบุญมหาชาติ

การทำบุญใหญ่ตามฮีต 12 ในฮีตเดือน 4 คือ การทำบุญมหาชาติ หรือที่ชาวอีสานทั่วไปเรียก "บุญผะเหวด" ซึ่งมาจากคำว่า "พระเวส" หรือ "พระเวสสันดร" นั่นเอง มีการกล่าวถึงไว้ในหนังสือ "มาลัยหมื่นมาลัยแสน" ว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยได้ไปไหว้พระธาตุเกษแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับ "พระศรีอาริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์" ผู้ซึ่งจะได้จุติกาลลงมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ท่านทรงทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยแล้ว จึงสั่งความกับพระมาลัยว่า "หากใครต้องการจะพบและเกิดในสมัยพระศรีอาริย์ ให้ทำแต่ความดี อย่าฆ่าพ่อ ตีแม่ สมณชี พราหมณ์ ครูอาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้า อย่ายุยงสงฆ์ให้แตกกัน และต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบทุกกัณฑ์ในวันเดียว ท่านทั้งหลายจะได้เกิดร่วมและพบพระองค์" ด้วยเหตุนี้ชาวอีสานจึงได้พากันทำบุญผะเหวด และไปฟังเทศน์มหาชาติให้ได้ครบ 13 กัณฑ์กันทุกปี

การจัดงานบุญผะเหวดนั้นสำคัญอยู่ที่การเทศน์เรื่อง "พระเวสสันดรชาดก" หรือ "เทศน์มหาชาติ" มีจำนวนทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่าหากว่าฟังเทศน์ครบทั้งหมดวันเดียว และจัดเตรียมเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง ก็จะได้เกิดในศาสนาพระอริยเมตไตรย แต่ถ้าหากตั้งเครื่องคาย (บูชา) ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดอาเพศและสิ่งไม่ดีต่างๆ ตามมา จึงทำให้ทุกคนในหมู่บ้านให้ความสำคัญกับงานนี้อย่างมาก โดยมาทำพิธีร่วมกัน อีกประการหนึ่ง คือ เพื่อระลึกถึงพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพียรบารมีชาติสุดท้ายของพระองค์ ก่อนจะเสวยชาติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลัง

ขั้นตอนพิธีการจัดงาน

เมื่อกำหนดวันจัดงานได้แล้ว (ซึ่งรวมถึงการนิมนต์พระผู้มีลีลาการเทศน์ที่ชาวบ้านชื่นชอบจากที่ต่างๆ มาเทศน์ได้ครบทั้ง 13 กัณฑ์ ให้มาร่วมงานพร้อมแล้ว) ชาวบ้านจะช่วยกันหาดอกไม้มาตากแห้งไว้ ช่วยกันฝานดอกโน (ทำจากลำต้นหม่อน) เก็บดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน 3 พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้มาร้อยเป็นมาลัย เพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาติ เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม งานนี้เป็นงานใหญ่ทำติดต่อกัน 3 วัน ดังนี้

วันแรกของงาน ตอนบ่ายๆ หรือเย็น จะมีการแห่พระอุปคุตรอบบ้านให้ชาวบ้านได้สักการะบูชา โดยการทำพิธีให้ผู้ที่เคารพนับถือกล่าวนำอัญเชิญพระอุปคุต ขึ้นจากแม่น้ำใหญ่ (แทนมหาสมุทร บางหมู่บ้านไม่มีแม่น้ำก็จะใช้หนอง สระน้ำในหมู่บ้านแทน) ให้ชาย 3-5 คนนุ่งขาว ลงงมเอาก้อนหินในน้ำขึ้นมาถามว่า "ใช่พระอุปคุตหรือไม่" ในครั้งที่สามให้ผู้งมคนหนึ่งคนใดบอกว่า "ใช่" จากนั้นจึงนำขึ้นมาบนฝั่งจัดขบวนแห่รอบหมู่บ้าน แล้วนำไปประดิษฐานไว้หออุปคุต ภายในบริเวณงานเพราะเชื่อว่าเป็นพระเถระผู้มีฤทธิ์ นิรมิตกุฏิอยู่กลางแม่น้ำ หรือมหาสมุทร สามารถขจัดเภทภัยทั้งมวลที่จะเกิดขึ้นในพิธีได้

pa pawes 02

วันที่สองของงาน เป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง แต่ละคุ้มวัดจะจัดขบวนแห่แต่ละกัณฑ์ทั้ง 13 กัณฑ์ แห่รอบหมู่บ้าน หรือรอบเมือง โดยมีผ้าขาวเขียน "ฮูปแต้มเรื่องพระเวสสันดร" ผืนยาว แสดงเรื่องราวต่างๆ ในแต่ละกัณฑ์ เมื่อถึงวัดจะนำผ้าฮูปแต้มนี่มาขึงโดยรอบศาลาโรงธรรม หรือบริเวณพิธีให้ลูกหลานได้เรียนรู้เรื่อง "พระเวสสันดร" เพื่อความซาบซึ้งในเทศน์กัณฑ์ต่างๆ ตอนเย็นมีมหรสพสมโภชเป็นที่ครึกครื้น (ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีการจัดงานประเพณีบุญผะเหวดทุกปีเป็นงานใหญ่ ในวันที่ 2 และที่ 3 ชาวร้อยเอ็ดจะจัดให้มีโรงทานเลี้ยง "ข้าวปุ้นบุญผะเหวด" แก่ผู้คนที่มาร่วมในงานกินได้ตลอดเวลาฟรีๆ มีชาวบ้าน ร้านค้า และ หน่วยงานราชการมาตั้งโรงทานกันมากมาย)

วันที่สามของงาน เริ่มตั้งแต่เช้ามืด ประมาณตี 4 ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวมาปั้นเสียบไม้จำนวน 1,000 ก้อน เพื่อเอาบูชากัณฑ์เทศน์ คาถาพัน เรียกว่า "ข้าวพันก้อน" ชาวบ้านจะพากันแห่ข้าวพันก้อนรอบศาลาโรงธรรม มีหัวหน้ากล่าวคำบูชา ดังนี้

นะโม นะไม จอมไตรปิฎก ยกออกมาเทศนาธรรม ขันหมากเบ็งงานสะพาส ข้าวพันก้อนอาดบูชา ซาเฮาซา สามดวงยอดแก้ว ข้าไหว้แล้วถวายอาดบูชา สาธุ "

ว่าดังนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 3 จบ แล้วนำขึ้นไปศาลาโรงธรรม แล้วญาติโยมพากันทำวัตรเช้า อาราธนาศีลอาราธนาเทศน์ โดยอาราธนาเทศน์พระเวสโดยเฉพาะ การอาราธนาเทศน์พระเวสนั้น ถ้าไม่ต้องว่ายาวจะตัดบทสั้นๆ ก็ได้ ให้ขึ้นตรง "อาทิกัลยาณังฯ เปฯ อาราธนัง กโรม" เท่านี้ก็ได้

ความเป็นมาของการแห่ข้าวพันก้อน

การเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์นั้นจะประกอบด้วย พระคาถา 1,000 คาถา เช่น กัณฑ์ที่ 9 มัทรี มี 90 คาถา เราก็ปั้นข้าวเหนียวก้อนเล็กๆ แทนพระคาถาคือ 90 ก้อน ชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่จะนำข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือหรือขนาดเท่านิ้วก้อย เท่ากับจำนวนกัณฑ์ที่ตัวเองได้รับมอบหมาย เมื่อรวมทั้งหมดทุกกัณฑ์แล้วจะได้จำนวน 1,000 ก้อนซึ่งเท่ากับ 1,000 พระคาถาในเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก

นำข้าวก้อนใส่ถาดจากบ้านเรือนของตนมารวมกันที่ศาลากลางบ้าน แล้วเริ่มจัดขบวนแห่จากหมู่บ้านเข้ามายังศาลาโรงธรรม (หอแจก) จัดขบวนแห่ข้าวรอบบริเวณธรรมาสน์ที่พระเทศน์ โดยขบวนแห่ประกอบด้วย กลองยาว แคน ฉิ่ง ฉาบ ฯลฯ นำขบวนผู้มีศรัทธานำขบวน ผู้มีศรัทธาบางคนจะพากันฟ้อนรำไปตามจังหวะเสียงกลองอย่างสนุกสนาน เวียนรอบศาลาโรงธรรม 3 รอบ แล้วจึงนำข้าวพันก้อนเหล่านั้นไปใส่ไว้ในกรวยไม้ไผ่ ที่หลักธงชัยทั้ง 8 ทิศ แล้วใส่ไว้ในตระกร้าที่วางอยู่บนศาลาตามจุดที่ที่มีทุงโซและเสดกะสัด เมื่อแห่ข้าวพันก้อนเสร็จ ก็จะมีการเทศน์สังกาศ คือการเทศน์บอกปีศักราช เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนา เริ่มแต่ต้นจนถึงอันตรธาน เมื่อจบสังกาศก็จะหยุดพักให้ญาติโยมกลับไปบ้านของตน นำข้าวปลาอาหารมาใส่บาตรจังหัน

วัตถุประสงค์ของการแห่ข้าวพันก้อน

  • เพื่อเป็นการบูชาธรรม ถือว่าเป็นการบูชาอันสำคัญยิ่ง
  • เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธศาสนา
  • เกิดความเป็นมงคลสำหรับผู้มาร่วมงานที่จะบันดาลให้พบความสุข ความสำเร็จ และประกอบอาชีพเจริญรุ่งเรือง
  • เพื่อเป็นการพบปะกันของชาวบ้านในงานบุญของหมู่บ้าน
  • เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีของคนระหว่างหมู่บ้านและละแวกเดียวกัน

อุปกรณ์ในการทำพิธีแห่ข้าวพันก้อน

  • ธูป เทียน ดอกไม้อย่างละพันเพื่อไว้บูชาคาถา “พันคาถาในการเทศน์”
  • พระอุปคุต (บาตร ไตร ร่ม)
  • ข้าวเหนียว (ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ)
  • เครื่องบูชาธรรม
  • ปะรำพิธี (ประดุจดังป่าหิมพานต์)

หลังจากพระฉันจังหันเสร็จแล้ว จึงเริ่มเทศน์ผะเหวด เริ่มเทศน์กัณฑ์ทศพร ไปจนจบที่นครกัณฑ์ อันเป็นกัณฑ์ที่ 13 เทศน์แต่เช้ามืดไปจนค่ำ จบแล้วจัดขันขอขมาโทษ พระสงฆ์ให้พรเป็นอันเสร็จพิธี ในวันที่ 3 นี้เอง ชาวบ้านชาวเมืองจะแห่ กัณฑ์หลอน มาร่วมถวายกัณฑ์เทศน์ตลอดทั้งวัน กัณฑ์เทศน์จะมี 2 ลักษณะ คือ

  • กัณฑ์หลอน เป็นการแห่กัณฑ์เทศน์มา ถึงบริเวณที่พระกำลังเทศน์ก็ถวายกัณฑ์เทศน์โดยไม่เจาะจงว่า จะเป็นพระสงฆ์รูปใด
  • กัณฑ์จอบ เป็นกัณฑ์เทศน์ที่กลุ่มผู้ถวายปรารถนาจะถวายเฉพาะภิกษุที่ตนชอบ เคารพศรัทธา จึงมีการส่งคนไปสอดแนมว่าขึ้นเทศน์หรือยัง ภาษาอีสานเรียกว่า "จอบ" หรือ "แอบดู" จึงเรียกกัณฑ์เทศน์ประเภทนี้ว่า "กัณฑ์จอบ"

pa pawes 06

พระอุปคุต

พระอุปคุต พระอุปคุปต์ หรือ พระบัวเข็ม เป็นพระภิกษุองค์สำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายสรวาสติวาทชื่อ "อุปคุต" แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา

จากการค้นหาข้อมูลของพระอุปคุตนั้น ทราบเพียงว่า ท่านเกิดหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ประมาณ พ.ศ. 218 ปี แต่ไม่ทราบ ภูมิเดิมของท่านละเอียด ว่า เป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร และที่ไหน

จากการสันนิษฐานตามตำนาน พระเถระอุปคุต น่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือมาจนทุกวันนี้ มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตเรือนแก้ว (กุฏิแก้ว) ขึ้นในท้องทะเลหลวง (สะดือทะเล) แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฏิแก้วตลอดเวลา เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจเสมอ

พระอุปคุต เป็นพระที่เป็นที่นิยมนับถือของชาวอินเดีย มอญ ชาวไทยวน และอีสาน สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ในตอนที่พระองค์ยังทรงผนวชอยู่ แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" ด้วย

เชื่อกันมาว่า พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ปราบท้าววสวัตตี (พญามาร) มีเรื่องเล่ามาว่า ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่ถูกพญามารมาผจญ ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพญามารจนยอมแพ้ จากนั้นพระอุปคุตก็มีชื่อเสียงในทางปราบมาร ท่านมีอีกชื่อว่า "พระบัวเข็ม"

pra oopacoob

ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวไทยวนว่า พระบัวเข็ม หรือ พระอุปคุต ยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวไทยวนจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" (วันเพ็ญ หรือวันเพ็ง ที่ตรงกับวันพุธ) พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น

ดังนั้น การตักบาตรพระอุปคุตจะตักบาตรให้สามเณรเป็นหลัก โดยตั้งแต่เที่ยงคืนจะมีการสวดบูชาพระอุปคุตพอได้เวลา สามเณรจะบิณฑบาตไปรอบหมู่บ้านโดยของใส่บาตรจะเป็นขนม เนื่องจากเวลาที่ใส่บาตรเป็นเวลานึ่งข้าวของชาวบ้าน ทำให้ไม่สามารถใส่อาหารได้ตามปกติ จึงมีการทำขนมรอไว้ใส่บาตร ดังนั้นของใส่บาตรจึงเป็นพวกขนมหรือผลไม้ ซึ่งก็คือทำไว้เพื่อใส่บาตรสามเณรที่เป็นเด็กได้กินกันนั่นเอง และการบิณฑบาตรจะเสร็จก่อนฟ้าแจ้งเหมือนกัน แต่เนื่องจากสังคมที่เปลี่ยนไปในวันพุธคนต้องไปทำงาน เลยขยับเวลาไปตอนเที่ยงคืนแทน เพื่อคนจะได้ไปทำงานไหวไม่ง่วงนั่นเอง

[ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง : ผ้าผะเหวด ]

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)