foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

malai kao tok

แห่มาลัยข้าวตอก

าวบ้านฟ้าหยาด (อำเภอมหาชนะชัย) แห่งเมืองบั้งไฟโก้ยโสธร จะนำ "ข้าวตอกสีขาว" มาร้อยเป็นมาลัยสายยาว แทน "ดอกมณฑารพ" แห่งสรวงสวรรค์ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ใน "งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก" ที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของชุมชนลุ่มน้ำชี แห่งบ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ชาวบ้านจะนำข้าวตอกมาร้อยเป็นมาลัยสายยาวแทน "ดอกมณฑารพ" อันเป็นดอกไม้ทิพย์แห่งสรวงสวรรค์ แล้วจัดขบวนแห่ไปถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสานที่สืบทอดต่อเนื่องกันมา เฉพาะที่ชุมชนบ้านฟ้าหยาดแห่งนี้ เท่านั้น

malai kaotog 01

ขอบคุณภาพสวยๆ จาก น้องต๋อม Sunantha Putpan

malai kaotog 07

ความเป็นมาของประเพณีแห่มาลัยนี้ มีปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนที่ว่าด้วยพระสุตตันตปิฎก บทปรินิพพานสูตร กล่าวคือ ดอกมณฑารพ ซึ่งเป็นดอกไม้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เวลาที่ดอกมณฑารพจะบาน หรือร่วงหล่น ก็ต้องมีเหตุการณ์สำคัญๆ เท่านั้น คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จตุรงคสันนิบาต และทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ดอกมณฑารพจึงได้ร่วงหล่นลงมายังโลกมนุษย์

malai kaotog 03

ขบวนแห่มาลัยข้าวตอกหนึ่งเดียวในประเทศไทยสวยงามยิ่งนัก...

malai kaotog 02

ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา ดอกมณฑารพ นี้ก็ได้ร่วงหล่นลงมาทั้งก้านและกิ่ง เปรียบเหมือนความเสียอกเสียใจพิไรรำพัน ต่อการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงเหล่าพระภิกษุ ผู้ได้ชื่อว่าอรหันตขีนาสพทั้งหลายด้วย หมู่เหล่าข้าราชบริพาร ประชาชนทั้งหลายได้พากันมาถวายสักการะพระบรมศพ อีกทั้งยังได้พากันเก็บนำดอกมณฑารพที่ร่วงหล่นลงมาเพื่อไปสักการะบูชา และรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปดอกมณฑารพ ที่เก็บมาสักการะบูชาเริ่มเหี่ยวแห้งและหมดไป

malai kaotog 04

เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ รวมทั้งเหตุการณ์ในวันสำคัญต่างๆ ชาวพุทธจึงได้พากันนำเอาข้าวตอกมาสักการะบูชา เพราะถือว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเป็นของสูงที่มนุษย์จะขาดไม่ได้ การจัดข้าวตอกดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชามีจุดเริ่มต้นเมื่อไหร่นั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าแรกๆ จะใส่พานไว้โปรยเวลาพระสงฆ์เทศนา

malai kaotog 05

ต่อมาจึงมีการนำมาประดิษฐ์ตกแต่งที่เห็นว่าสวยงาม สืบทอดกันเรื่อยมา จากการตกแต่งมาลัยเพื่อความสวยงาม ก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นการประกวดประชันกัน เมื่อมาลัยร้อยได้สวยงามก็เริ่มมีการแห่แหน ให้เป็นการเป็นงานขึ้นมาด้วยเพื่อประกอบพิธีนั้น จนกลายเป็นงานที่ใหญ่ขึ้นมีการฟ้อนรำประกอบขบวน และกลายเป็นประเพณีแห่มาลัยในปัจจุบันและจัดให้มีขึ้น ในวันมาฆบูชา ของทุกๆปี

รายการทีวีชุมชน ช่อง ThaiPBS ตอน มาลัยข้าวตอก

บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นชุมชนเดียวที่มีประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกทุกปี ซึ่งปัจจุบัน มาลัยข้าวตอก กลายเป็นสินค้าโอทอปของชุมชน ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ถึงแม้จะไม่ได้มากมายนัก แต่เป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของบรรพบุรุษให้อยู่สืบไป

malai kaotog 06

บุญข้าวจี่ ฮีตคองในเดือนสาม

นอกจาก บุญมาลัยข้าวตอก นี้แล้ว ยังมี "บุญข้าวจี่" เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน ที่กระทำกันในเดือนสาม จนเรียกว่า บุญเดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญที่มีกำหนดอยู่ใน "ฮีตสิบสอง" ดังรู้จักกันทั่วไปว่า

เดือนสามคล้อยจั่วหัวปั้นข้าวจี่ เดือนสี่คล้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี) "

บุญข้าวจี่ นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม  คือ  ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา  (เดือนสาม ขึ้น ๑๔ ค่ำ) แล้ว ส่วนใหญ่จะกำหนดวันแรม ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นกิจกรรมร่วมของชุมชนหลายหมู่บ้าน นั่นคือ ชาวอีสานบางหมู่บ้านเรียกงานบุญนี้ว่า บุญคุ้ม จะทำกันเป็นคุ้มๆ หรือ บางหมู่บ้านก็จะทำกันที่วัดประจำหมู่บ้าน ล้วนแล้วแต่เป็น บุญข้าวจี่ หรือบุญเดือนสาม นั่นเอง ชาวบ้านที่เป็นเจ้าภาพก็จะบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมกันทำบุญ

kao jee 01

ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุก แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว เอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทา แล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้ว เอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า

ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียก หัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า

เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา ”

รายการทีวีชุมชน ช่อง ThaiPBS ตอน ข้าวจี่

มูลเหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาได้มีการทำนาเสร็จสิ้น ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งใหม่ จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายแก่พระสงฆ์ สำหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทำบุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า ในสมัยพุทธกาล นางปุณณะทาสี ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ ครั้นถวายแล้วนางคิดว่า "พระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน"

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบภาวะจิตของนางปุณณะทาสี จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะ แล้วทรงประทับนั่งฉันท์ ณ ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผล ด้วยอานิงสงฆ์ที่ถวายขนมแป้งจี่ ชาวอีสานจึงเชื่อในอานิสงส์ของการทานดังกล่าว จึงพากันทำข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา

 

redline

[ อ่านเรื่องที่เกี่ยงข้อง : ฮีตเดือนสาม บุญเข้าจี่ ]

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)