foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

philosopher header

pai sroysaklang 01นายผาย สร้อยสระกลาง

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขา ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2553

นายผาย สร้อยสระกลาง เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2473 ที่บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพราะครอบครัวยากจน เด็กชายผายจึงมีโอกาสได้เรียนแค่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ต้องออกมาเป็นลูกจ้างเลี้ยงวัว ต่อมาไม่นานพ่อแม่ก็เสียชีวิตลง ด้วยอายุเพียง 15 ปี จึงมีภาระต้องดูแลน้องอีก 3 คน ด้วยผืนนามรดกเพียง 10 ไร่ เมื่ออายุ 17 มีได้โอกาสบวชเรียน และสอบได้นักธรรมโท บวชอยู่นานถึง 10 พรรษาจึงได้สึกออกมา แล้วแต่งงานกับแม่ลา สร้อยสระกลาง

ปี พ.ศ. 2508 ได้รับเลือกเป็น "ผู้ใหญ่บ้าน" บ้านสระคูณ ด้วยคะแนนศรัทธาท่วมท้นจากชาวบ้าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักพัฒนา เนื่องจากได้ผ่านการบวชเรียนมาหลายพรรษา ทำให้พ่อผายสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อหาแนวร่วมทางความคิดในการพัฒนาหมู่บ้าน

แม่ไปไฮ่หมกไข่มาหา แม่ไปนาหมกไข่ปลามาป้อน แม่เลี้ยงม้อนอยู่ป่าสวนมอน ”

เป็นเพลงกล่อมลูกๆ ของแม่ ที่พ่อผายยังจำได้ขึ้นใจ และมีผลต่อการใช้ชีวิตกระทั่งปัจจุบัน พ่อผายนำเพลงกล่อมเด็กที่จำขึ้นใจของแม่ เป็นแนวคิดแนวทางแก้ปัญหาปากท้องคนชนบท เพราะเกือบทุกครัวเรือนล้วนทอผ้า พ่อผายจึงใช้ที่ดินสาธารณะของชุมชน จำนวน 400 ไร่ พาชาวบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และยังตั้งกองทุนสวัสดิการบ้านสระคูณ ปลุกจิตสำนึกให้คนหวงแหนบ้านเกิด

ผาย สร้อยสระกลาง - ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ตอนที่ 1

การปฏิวัติเขียว ความจนที่ยั่งยืน

จุดเปลี่ยนทางความคิดเกิดอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2525 เกิดภัยแล้งจัดทำให้เกิดปัญหาปากท้องในพื้นที่ ผลจากการพัฒนาประเทศโดยรวมได้นำพาอีสานเข้าสู่กระแสพายุ "การปฏิวัติเขียว" พ่อผายและชาวบ้านได้ถูกกระแสนิยมดังกล่าวส่งให้เกิดแนวคิดใหม่ จากการทำเกษตรเพื่ออยู่เพื่อกินมีใช้ตามอัตภาพ เปลี่ยนมาเป็นการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อสนองความต้องการของตลาด โดยมีความหวังว่าจะได้เงินทองจำนวนมาก

พ่อผายเกิดความคิดว่า ต้องช่วยตัวเองก่อน แล้วจึงกลับมาช่วยชาวบ้าน จึงได้กู้เงินจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จำนวน 60,000 บาท ไปซื้อที่ดินที่อำเภอละหานทราย แล้วถางป่าปลูกข้าวโพด ปีแรกได้ราคาดีแต่ผลผลิตไม่ดี ปีที่สองผลผลิตมากแต่ราคาต่ำ เพราะไม่มีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง ทำให้ไม่มีเงินใช้หนี้ และเงินลงทุนในปีต่อไป

pai sroysaklang 05

ประสบการณ์ครั้งนั้นสอนบทเรียนว่า ความโลภอยากรวยจึงทำให้สร้างหนี้ แล้วยังทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะปลูกพืชชนิดเดียว ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ และยังทำลายครอบครัว สังคม เพราะการละถิ่นฐานเดิมไปทำกินในที่อื่น พ่อผายนั่งสมาธิ คิดเพื่อหาทางออก จนคิดได้ว่า ต้องกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิด โดยการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส เร่งสร้างกองทุนโดยการพึ่งพาตนเองจากทุนเดิมที่พ่อแม่มอบให้ คือ มือซ้ายห้าแสน มือขวาห้าแสน โดยการขุดสระเพื่อการออมน้ำ การสร้างปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ และการฝากเงินออมโดยการออมสัตว์เลี้ยง การรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยการออมต้นไม้แทน

พ่อผายตั้งมั่นว่า “จะไม่เอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่จะเอางานและความสุขเป็นตัวตั้ง” จึงขายที่ดินบางส่วนใช้หนี้ ธกส. จนหมด และเริ่มต้นทำเกษตรผสมผสาน “เราเป็นชาวนา จะไปเป็นนายอำเภอ ไปเป็นหมอย่อมฝืนธรรมชาติ น่าจะเป็นชาวนาที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี และที่สำคัญมีความสุข” ความสุขที่ว่าของพ่อผายคือ มีหลักประกันชีวิตครบถ้วน มีสุขภาพกายและใจแข็งแรง มีครอบครัวอบอุ่น มีชุมชนเข้มแข็ง มีสิ่งแวดล้อมดี มีอิสรภาพ มีความภาคภูมิใจและเข้าถึงธรรมะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง

ผาย สร้อยสระกลาง - ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ตอนที่ 2

สร้างความเชื่อมั่นให้ครอบครัวก่อน

พ่อผายใช้เวลาถึง 8 เดือน ในการลงแรงใช้จอบขุดดิน ปั้นคูสระด้วยสองมือเพียงลำพัง ด้วยภาพฝันที่จะมีต้นไม้หลายชนิดอยู่รายรอบสระ โดยไม่ฟังคำทัดทานของเมียที่เห็นว่า ที่ดินมีน้อยน่าจะเอาไว้ทำนา ไม่แต่เท่านั้นแกก็ยังดั้นด้นไปเรียนวิชาเลี้ยงปลาที่จังหวัดขอนแก่น กลับมาพร้อมลูกปลาจำนวน 1,000 ตัว เพื่อมามาเลี้ยงในสระที่ลงแรงขุดไว้ เมื่อมีผลผลิตมีปลาตัวโตเต็มที่ ก็ได้ออกอุบายให้ภรรยามาช่วยจับปลา เมื่อภรรยาเห็นปลาที่อยู่ในสระก็ดีใจยอมรับในความคิดของสามี พ่อผายก็สามารถขยายแนวร่วมในครอบครัวได้แล้ว

pai sroysaklang 04

หลังจากประสบความสำเร็จในการขุดบ่อเลี้ยงปลา พ่อผายก็ขุดสระเพิ่มอีก 2 บ่อ โดยพื้นที่บนสระก็ปลูกผัก ผลไม้ เลี้ยงหมู, เป็ด, ไก่, ในฤดูทำนาก็มีน้ำสำหรับทำนา ผลผลิตทีได้ก็นำไปบริโภคในครอบครัว ส่วนที่เหลือจากบริโภคก็นำไปขาย จนสามารถเก็บเงินไปใช้หนี้ที่กู้ยืมมาจนหมด เงินที่เหลือก็นำไปซื้อที่เพิ่มจากเดิมมีพื้นที่ 15 ไร่ ปัจจุบันพ่อผายมีพื้นที่ทั้งหมด 95 ไร่ จากกิจกรรมที่หลากหลายในแปลงเกษตร มีพืชพันธุ์มากมาย อาทิ ไม้ยืนต้น ผัก ผลไม้ต่างๆ ทำให้พื้นที่ของพ่อผายมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียืวัตถุ ที่สำคัญผลผลิตที่ได้ปลอดจากสารพิษ สามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัยจากสารพิษ

ขยายแนวคิดสู่ชุมชน

เมื่อปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้ว จากครอบครัวตนเอง ก็กลายเป็นทั้งชุมชนบ้านสระคูณที่เชื่อพ่อผาย ขุดบ่อเลี้ยงปลาทำเกษตรผสมผสาน เริ่มขยายแนวคิดและวิธีการทำนี้ให้กับญาติ พี่น้อง คนในชุมชน และผู้ที่สนใจโดยทั่วไป ซึ่งได้มีการปฏิบัติจนสามารถรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ชื่อกลุ่ม "อีโต้น้อย” กิจกรรมที่กลุ่มทำได้ได้แก่ การทำเกษตรแบบผสมผสาน การจัดบุญประทายข้าวเปลือก การเทศน์มหาชาติ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การรักษาโรคแบบพื้นบ้าน ส่งเสริมให้เยาวชนในหมู่บ้านทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับหมู่บ้าน จัดตั้งกองทุนวัว จัดตั้งกองทุนหมุนเวียน จัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาดและกลุ่มออมทรัพย์ และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์ศพ

pai sroysaklang 02

รวมกลุ่มกันสร้างความเข้มแข็ง

นอกจากที่พ่อผายทำกิจกรรมภายใต้กลุ่มอีโต้น้อยแล้ว ก็ยังดำเนินกิจกรรมร่วมกับปราชญ์ท่านอื่นอีก เช่น ในช่วง ปี พ.ศ. 2534 องค์กรพัฒนาเอกชนมูลนิธิหมู่บ้าน โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ และอาจารย์ยงยุทธ์ ตรีรุชกร ได้เข้ามาผลักดันให้เกิดการรวมตัวของปราชญ์ภายใต้ชื่อ "ชมรมอุ้มชูไทยอีสาน” เป็นการนำปราชญ์ผู้ที่มีความรู้เรื่องธาตุทั้ง 4 มารวมตัวกัน ประกอบด้วย พ่อผาย สร้อยสระกลาง (ธาตุดิน) พ่อทัศ กระยอม (ธาตุน้ำ) พ่อหนูเย็น ศรีสิงห์ (ธาตุลม) และพ่อบัวศรี ศรีสูง (ธาตุไฟ) โดยมีพ่อบัวศรี เป็นประธานกลุ่ม แนวดำเนินการของชมรมนี้ จะส่งเสริมกันและกัน และเสนอทิศทางที่เหมาะสมให้กับสถาบัน และสังคมอื่นๆ ได้รับรู้บนพื้นฐานของแนวทางแก้ไขปัญหาขององค์กรชาวบ้าน เหตุเนื่องจากการพัฒนาภาคอีสานที่ผ่านมา ไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาของอีสานได้อย่างมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม แต่จะลากไปตามกระแสสายธารใหม่ ซึ่งรังแต่จะทำให้คนอีสานจมน้ำตาย อีกสาเหตุหนึ่ง คือองค์กรชาวบ้านไม่มีการรวมตัวกัน

pai sroysaklang 06

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 อาจารย์เสน่ห์ จามริก เข้ามาร่วมทำโครงการ โรงเรียนชุมชนอีสาน ภายใต้การนำกลุ่มชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย พ่อผาย สร้อยสระกลาง พ่อสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ และพ่อคำเดื่อง ภาษี วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา ก็เพื่อแสดงบทบาท และทำหน้าที่เป็นสถาบันประสานงานเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคอีสาน เป็นการพัฒนาคนอีสานให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเอง พึ่งพากันเองได้ในชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะภาคอีสาน เป็นการพัฒนาคนอีสานให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเอง พึ่งพากันเองได้ในชุมชนท้องถิ่น และพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างรอบด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนเพื่อมีส่วนร่วมเสริมสร้างการพัฒนาประเทศชาติโดยรวมให้มั่นคง โรงเรียนชุมชนอีสาน จึงได้กลายเป็นต้นแบบของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และสมาชิกของโรงเรียนทุกคนกลายเป็นกำลังสำคัญหลักของเครือข่าย

พ่อผายสรุปความสุขตามแนวทางและรูปธรรมนี้ คือ

  • เศรษฐกิจดีขึ้น จากรายจ่ายที่ลดลงรายได้เพิ่มขึ้น เหลือกินเหลือแจกเหลือขาย
  • สิ่งแวดล้อมดีขึ้น จากดินดีน้ำดี มีไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ผักผลไม้ปลอดสารพิษ
  • สุขภาพดีขึ้น กินได้นอนหลับไม่มีหนี้ มีสมุนไพรเป็นอาหารและยา
  • ปัญญาดีขึ้น จากการเรียนรู้พึ่งตนเองและพึ่งพิงกัน
  • สังคมดีขึ้น มีเพื่อนกว่า 200 หมู่บ้านใน 7 จังหวัดที่ชวนกันคิดดีทำดีเพื่อสังคม

pai sroysaklang 03

และนี่คือบทสรุปของคำว่า “ชาวนาที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความสุข” คือ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2553 “พ่อผาย สร้อยสระกลาง”

พ่อผาย อารมณ์ดี๊ดี - ลุยไม่รู้โรย ThaiPBS

redline

backled1

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)