foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

samunprai

bug toomบักตูม (Bengal Quince, Bilok, Boel/Bael Fruit)

มีชื่ออื่นๆ คือ ตูม ตุ่มตัง มะปิน (เหนือ) และกะทันตาเถร (ปัตตานี) มะตูมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aegle marmelos Carr. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE

ตามตำนานชาวฮินดูเชื่อว่า มะตูมเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระอิศวร ดังนั้น การบูชาพระอิศวรจึงต้องมีใบมะตูมมาใช้ประกอบในพิธีกรรมนั้นๆ ด้วย ประเทศไทยได้ซึมซับเอาความเชื่อเหล่านี้มาด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่า เวลามีบุคคลเข้ากราบบังคมลาพระเจ้าแผ่นดินไปรับราชการ หรือศึกษาต่อต่างประเทศ ก็จะได้รับพระราชทานใบมะตูมเป็นศิริมงคล งานสมรสพระราชทาน คู่บ่าวสาวก็จะมีใบมะตูมทัดหูเป็นศิริมงคลเช่นกัน

บักตูม หมากตูม มะตูม เป็นผลไม้ป่าที่ค่อนข้างหายากในปัจจุบัน เนื่องจาก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ออกผลช้านานหลายปี จึงไม่นิยมปลูก แต่ยังพบได้ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะตามหัวไร่ปลายนา และตามป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ทั้งในภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และภาคอื่นๆ

ผลิตภัณฑ์ของมะตูมที่เห็นตามท้องตลาด ส่วนมากมาจากต้นมะตูมตามป่า หรือหัวไร่ปลายนา ซึ่งพบเห็นมากจะเป็นมะตูมตากแห้ง ที่ใช้สำหรับต้มน้ำดื่ม ส่วนผลิตภัณฑ์อื่น ได้แก่ มะตูมเชื่อม และน้ำมะตูม เป็นต้น

มะตูม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-12 เมตร

  • ลำต้น เป็นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง และผลัดใบ สูงประมาณ 15-25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 25-50 เซนติเมตร มีหนามแหลมตามกิ่งย่อย อาจเป็นหนามคู่หรือหนามเดี่ยว เปลือกต้นค่อนข้างหนา และมีสีเทา เปลือกแตกเป็นร่องตามความยาวของลำต้น มีหนามขึ้นตามกิ่งทั่วลำต้น หนามมีลักษณะแข็ง ยาวประมาณ 2-3.5 ซม.
  • ใบ ออกเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือเรียงสลับกันมีใบฝอย 3 ใบ เป็นรูปไข่มีปลายแหลม ยอดอ่อน (รสเผ็ด ฝาดเล็กน้อย) ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือกินกับอาหารประเภทลาบ น้ำตก หรือซุปหน่อไม้ ใบนำมาคั้นน้ำใช้แกงโบราณของไทยที่เรียกว่า แกงบวน ซึ่งถือว่าเป็นแกงของพิธีมงคลต่างๆ
  • ดอก เป็นช่อสีขาว ออกที่ซอกใบและปลายกิ่งมีกลิ่นหอม ดอกมะตูมเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งดอกเพศเมีย และดอกเพศผู้ในดอกเดียวกัน แทงออกเป็นช่อ ดอกจะมีขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีเขียวอมขาว
  • ผล มีลักษณะกลมรี คล้ายรูปไข่ยาวหรือไข่กลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-10 ซม. ยาวประมาณ 10-14 ซม. เปลือกแข็งผิวเรียบเกลี้ยง เนื้อใบนิ่ม ผลอ่อนสีเขียว ผลที่สุกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวออกเหลือง เนื้อในเมือสุกมีสีส้มปนเหลือง นิ่มมีกลิ่นหอม และมีรสหวานหอม ภายในเนื้อมีเมล็ดจำนวนมาก ผลอ่อนนำมาฝานเป็นแว่นตากแดดใช้ทำยา หรือต้มทำน้ำมะตูม ผลสุก และผลแก่นำมาเชื่อมเป็นอาหารหวาน

bug toom 2

การทำน้ำมะตูม 

  • ใช้มะตูมอ่อนที่ฝานเป็นแผ่นๆ ตากแดดแห้งแล้ว บรรจุถุงขาย ใช้สัก 10-15 แผ่น หรือจะใช้ผลมะตูมแก่จัดที่แม่ค้า/พ่อค้าหาบมาขาย ใช้ 1-2 ผล ล้างน้ำให้สะอาด ใช้สันมีดทุบให้พอแตก เป็นรอยร้าวทั้งลูก
  • ต้มน้ำประมาณ 2 ลิตร ให้เดือด ใช้มะตูมแผ่นๆ ล้างน้ำ ปิ้งไฟพอหอมๆ หรือมะตูมลูกที่ทุบให้แตกร้าวใส่ลงหม้อต้มสัก 10-15 นาที ใช้ไฟปานกลางให้เดือดปุดๆ พอ
  • ใส่น้ำตาลทราย (ชนิดไม่ฟอกสี) ประมาณ 300 กรัม (หรือมากกว่า ถ้าต้องการหวานมาก) ต้มต่อไปจนน้ำตาลละลายดี ปิดไฟตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
  • เทใส่ขวดน้ำพลาสติกที่ล้างสะอาดแช่เย็นเก็บไว้ดื่มได้ เวลาดื่มใช้ผสมในน้ำแข็ง โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนที่มีอากาศร้อนจัด จะทำให้สดชื่น แก้ร้อนในกระหายน้ำได้ดี บางคนอาจชอบต้มกับน้ำเปล่าๆ โดยไม่ใส่น้ำตาล ก็เหมือนดื่มน้ำชาสมุนไพรนั้นเอง ซึ่งสามารถดื่มได้ทั้งขณะอุ่นๆ หรือผสมน้ำแข็งดื่มได้เช่นกัน

ปัจจุบันมีมะตูมผงสำเร็จบรรจุซองจำหน่ายทำให้สะดวกในการบริโภค ฉีกซองละลายในน้ำร้อนก็ใช้ดื่มได้เลย ทั้งร้อนและเย็น แต่ถ้าทำเองดังกล่าวจะให้รสกลิ่นที่เข้มข้นกว่า

nam bug toom

สรรพคุณทางยาสมุนไพรของมะตูม 

มะตูมนับว่าเป็นสมุนไพรที่ดีอย่างหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย จะเห็นว่า มีลูกมะตูมอ่อนที่หั่นเป็นแว่นๆ ตากแห้งขายอยู่ตามร้านขายยาแผนโบราณ หรือตามตลาดและสถานที่อื่น (ที่นำมาใช้ต้มเป็นน้ำมะตูมนั้นเอง)

สรรพคุณทางยาของมะตูมนั้น สามารถขับลมได้ แก้ท้องผูก แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ลม จุกเสียด

สำหรับผลมะตูม ผลสุกหรือผลแห้ง นำมาต้มดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ร้อนใน แก้โรคลำไส้เรื้อรังได้ และมีวิตามินบี 1 บี 2 อยู่ ช่วยให้ปลายมือเท้าไม่ชา ไม่เป็นโรคปากนกกระจอก

ใบมะตูมนำมารับประทานทำให้เจริญอาหาร เป็นยาแก้โรคลำไส้ได้ และยังให้เบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารช่วยป้องกันโรคมะเร็งด้วย ดังนั้น ในหน้าร้อนนี้มาดื่มน้ำมะตูมกันดีกว่า

"ตูมกา" กับประเพณีออกพรรษาชาวยโสธร

"ตูมกา" เป็นต้นไม้ยืนต้นที่เห็นทั่วๆ ไป ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ คนสมัยก่อนจะมีต้นยางนาเอาไว้นาใครนามัน เพื่อจุดน้ำมันยางไว้ให้แสงสว่าง จุดใต้ จุดคบ ทำขี้ใต้ หมากตูมกาเป็นภาชนะใส่น้ำมันยางเพื่อให้แสงสว่างที่ชาวบ้านรู้จักกันดี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลออกพรรษา ชาวบ้านแถบอีสานใต้จะนำผลหมากตูมกามาประดิษฐ์เป็นคบไฟประดับ ให้ความสวยงามตลอดเทศกาล โดยเฉพาะ ประเพณีแห่ตูมกา ที่บ้านทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

toomka yasothon4
โคมไฟตูมกา ยโสธร

line

 backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)