foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

kanom todma header

ครั้งก่อนนำเสนออาหารโบราณอีสาน "ลาบหมาน้อย" คราวนี้มีมีดราม่าเรื่องขนมที่เอามาต้อนรับคณะรัฐมนตรี เมื่อครั้งไปเยือนเมืองบุรีรัมย์ว่า อีหยังน้อจั่งเอา "ขนมตดหมา" มาให้เพิ่นกิน มันเป็นจั่งใด๋ คือเอา "ตดหมา" มาเฮ็ดขนมได้ เว็บมาดเซ่อเลยสะกิดให้อาว์ทิดหมูฟ้าวเอามาแถลงให้แจ่มแจ้ง ก่อนจะเข้าใจผิดกันไปไกลกว่านี้

พี่น้องชาวบ้านในแถบถิ่นอีสานใต้อย่าง จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดศรีสะเกษ มีขนมท้องถิ่นที่ชื่อไม่น่ากินอย่าง “ขนมตดหมา” หรือเรียกตามภาษาถิ่นว่า “เวือระพอม” เป็นขนมพื้นบ้านที่มีมานมนานแต่โบราณ มีรสชาติอร่อยที่อยากให้ทุกคนได้ลองชิมกัน ถ้าได้ผ่านไปเที่ยวทางแถบจังหวัดเหล่านั้น

kanom todma 02

“ขนมตดหมา” ได้ชื่อนี้เพราะมีส่วนผสมของ “เครือตดหมา” พืชไม้เลื้อยชนิดหนึ่งที่บางพื้นที่เรียก "ต้นกระพังโหม" ขึ้นได้ทั่วไปในป่าผสมผลัดใบและป่าเต็งรัง หากนำต้นหรือใบมาขยี้แล้วลองดมก็จะรู้เลยว่า กลิ่นเหม็นคล้ายตดจริงๆ (ไม่เชื่อก็ไปลองดู) ส่วนรากของเครือตดหมาจะถูกนำเอามาหั่นให้เป็นแว่นๆ ตากแห้ง ต้มเอาน้ำไปผสมกับแป้งและน้ำตาลทำขนม ตามวิธีการด้านล่าง

รู้จักกับเครือตดหมา

“ตดหมูตดหมา” เป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่ง ที่กำลังมีกระแสโด่งดังอยู่ในโลกโซเชียล เกี่ยวกับสรรพคุณช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งหลายคนที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสมุนไพร คงเคยได้ยินหรือได้เห็นผ่านหูผ่านตามาบ้าง ต้นตดหมูตดหมาเป็นไม้ล้มลุก มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Paederia linearis Hook.f. มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “กระพังโหม” และมีชื่อพ้องที่เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ตำยานตัวผู้ พังโหม ย่านพาโหม หญ้าตดหมา เป็นต้น เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไป ในป่าธรรมชาติและบริเวณในสวน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และเพาะเลี้ยงต้นอ่อน นิยมปลูกขึ้นเลื้อยตามรั้วบ้าน เพื่อเก็บยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักแกล้มลาบ ยำ พล่า ก้อย หรือน้ำพริก มีบางท้องถิ่นเห็นเก็บมาวางขายตลาดสดกันก็มี

ตดหมูตดหมา หรือ กระพังโหม เป็นที่นิยมในมวลหมู่ชาวเมืองเหนือ และอีสาน ใช้รับประทานเป็นผักสด ร่วมกับน้ำพริก ลาบขม ก้อย ชาวใต้นิยมนำไปหั่นฝอย ผสมปรุงข้าวยำ คนโบราณใช้น้ำคั้นจากเถาและใบ ผสมปรุงขนมขี้หนู ทำให้ขนมมีสีเขียว ส่วนดอกมีการนำมารับประทานกันเป็นผักสดบ้าง แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ยอดอ่อนและใบมีรสขมมัน กลิ่นเหม็นเขียว บางคนก็ว่าหอมเหมือนตดตนเอง ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย ประโยชน์ทางยา นับได้ว่าเป็นสมุนไพรตัวหนึ่ง ที่มีสรรพคุณรักษาอาการอักเสบบริเวณคอ ปาก รักษาบาดแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ สำหรับเด็ก รากมีสรรพคุณแก้โรคดีซ่าน

kanom todma 01

มักพบพืชชนิดนี้ในสวน ป่าละเมาะ ชาวบ้านต้องตัดฟันทิ้ง เพราะเป็นเถาเลื้อยพันต้นไม้อื่นไปทั่ว ยอดอ่อนสีเขียวอมแดง มีขนอ่อนคลุม บางพื้นที่ที่มีดินดี น้ำสมบูรณ์ จะแตกยอดอวบอ้วน ที่กันดาร ยอดจะลีบเล็ก แต่ที่แน่นอนที่สุดคือ กลิ่นเดียวกันเลย บางทีคนเดินกันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม ผ่านเข้าป่าหญ้า สวนผลไม้ สวนผัก เดินไปเหยียบเถาตดหมูตดหมา หรืออาจจะเดินไปเกี่ยวเถาใบเข้า หรือเด็ดมาขยี้บี้เล่น หมู่เพื่อนร่วมกลุ่ม คงหันซ้ายหันขวามองหาที่มาของกลิ่น และคงจ้องมองไปที่บั้นท้ายของคนใดคนหนึ่งเป็นแน่

สรรพคุณด้านสมุนไพร

  • ราก แก้ตาฟาง ตาแฉะ ตามัว แก้ท้องเสีย ลำไส้พิการ แก้โรคตานขโมย ขับน้ำเหลืองเสีย แก้จุกเสียด รักษาดีซ่าน
  • เถา แก้ซาง แก้ดีรั่ว แก้๔ตุพิการ แก้ท้องเสีย แก้ตัวร้อน แก้ไข้ ยาขับพยาธิไส้เดือน แก้ตานขโมย ทาแผลที่ถูกงูกัด ถอนพิษงู ขับลมในลำไส้ ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษารำมะนาด ยาระบายอ่อน ๆ ยาอายุวัฒนะ
  • ใบ แก้ตานซาง แก้ดีรั่ว แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย แก้ตัวร้อน แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวดศีรษะ แก้คัน แก้ไข้จับสั่น ขับพยาธิไส้เดือน ถอนพิษงู ทาบาดแผลที่ถูกงูกัด เป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอก ขับน้ำนม แก้ไข้จับสั่น
  • ผล ขับน้ำนม แก้ไข้จับสั่น แก้มองคร่อ แก้ริดสีดวง แก้ท้องมาน แก้หืดไอ
  • ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับผายลม แก้ท้องเสีย แก้ตัวร้อน ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตาฟาง แก้ฟกบวมในท้อง แก้ไข้สัมประชวร แก้ตานซาง แก้ดีรั่ว แก้เสมหะ ตามัว ตาแฉะ
  • มีกลิ่นเหม็นเขียว เพราะว่ามีสาร Methyl mercaptan

ขนมตดหมา

ขนมตดหมา เป็นขนมพื้นถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ ปกติแล้ว "ขนมตดหมา" จะทำปีละครั้งในช่วงงานประเพณีแซนโฎนตา (ประเพณีไหว้บรรพบุรุษของคนเชื้อสายเขมร) แต่ในปัจจุบันหากใครอยากจะลิ้มลองให้ไปที่ "บ้านสนวนนอก" อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็น "หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมและวิถีชีวิตพอเพียง" ให้นักท่องเที่ยวที่รักการท่องเที่ยวชุมชน และสนใจเกี่ยวกับการทอผ้า ได้มาเที่ยวชมที่ขึ้นชื่อของที่นี่คือ "ผ้าไหมหางกระรอก" นอกจากจะได้มาเรียนรู้วิถีชีวิตที่นี่แล้ว ที่บ้านสนวนนอกยังมี “ตลาดโบราณ” ทุกๆ วันเสาร์ หรือเมื่อมีคณะดูงานมาเยี่ยมชมหมู่บ้าน โดยนอกจากจะมีสินค้าผ้าทอและผลิตภัณฑ์งานฝีมือต่างๆ มาขายแล้ว ก็ยังมี “ขนมตดหมา” หรือ “เวือระพอม” ซึ่งเป็นขนมอร่อยที่หายากให้ได้ชิมด้วย

kanom todma 03

วิธีการทำขนมตดหมา

ขนมตดหมาหน้าตาและรสชาติคล้ายขนมจาก โดยมีส่วนผสมของแป้งข้าวเหนียว น้ำตาลโตนด น้ำตาลทรายแดง มะพร้าวทึนทึกขูด ทั้งหมดนี้นำมาผสมกับน้ำเครือตดหมา ที่ได้มาจากการนำรากเครือตดหมามาหั่นเป็นแว่นๆ ตากแดดไว้ แล้วจึงนำมาต้มจนได้น้ำเครือตดหมา คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน พักไว้หนึ่งชั่วโมงเพื่อให้แป้งขึ้น แล้วจึงนำเนื้อขนมมาใส่ใบตองห่อเป็นชิ้นยาวๆ

จากนั้นนำใบตองทั้งห่อไปย่างจนสุกหอม หอมทั้งใบตอง หอมทั้งส่วนผสมของขนมตดหมา ลองแกะชิมดูได้รสชาติคล้ายขนมจาก แต่จะมีความนุ่มหนึบมากกว่า และมีความหอมหวานจนต้องขอลองชิมต่ออีกชิ้นและอีกชิ้นด้วยติดใจ

ครัวเชพน้อย : ขนมตดหมา (เวือระพอม)

นอกจากขนมตดหมาแล้ว ยังมีการทำขนมทานเล่นอีกแบบคือ "ข้าวโป่งรากเครือตดหมา" ซึ่งทำมาจากการนำน้ำรากตดหมามาตำคลุกผสมเข้ากับแป้งข้าวเหนียว น้ำตาลโตนด หรือน้ำตาลปี๊บให้มีรสหวานปะแล่มๆ นำมาแผ่เป็นแผ่นบางๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาย่างไฟให้เหลืองกรอบ ก็จะได้ของทานกันเล่นๆ แล้ว คึดฮอดยามไปฟังลำหรือเบิ่งหนังกลางแปลงสมัยแต่กี้เด้...

kanom todma 04

ข้าวโป่งรากเครือตดหมา - ทุกทิศทั่วไทย

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)