foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

yad boke mamuang

อาหารการกินหรือจะเรียกว่า "ขนมหวาน" ในวัยเด็กของอาวทิดหมูอย่างหนึ่ง ในจำนวนไม่กี่ชนิดที่หากินได้เมื่อสมัย 40-50 ปีก่อน อย่าง ไข่ขี้เกี้ยม (ต้องไปหาเก็บเศษเหล็ก กระดูกวัว-ควาย ไปแลก) ขนมผิง ข้าวโป่ง ข้าวปาด ข้าวต้มมัด ฯลฯ สมัยนั้นบ่มี 7-11 อย่างสมัยนี้ การจะได้กินขนมหวานๆ จึงเป็นเรื่องยากทีเดียว อย่างหลายก็ได้กิน "น้ำอ้อย" เป็นก้อนๆ ที่ห่อใบอ้อยเป็นท่อนๆ แบบขี้กระบอง ที่ชาวบ้านหาบมาแลกข้าว และยิ่งผลไม้พิเศษๆ นี่ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ไม่ต้องถึงกับเป็นลูกแอปเปิ้ลหรอก แค่ "ส้มเขียวหวาน" ที่ลูกผู้ใหญ่บ้านนำมาโชว์เพื่อนๆ ที่โรงเรียน พ่อมันซื้อมาจากอำเภอตอนไปประชุมประจำเดือน  ก็ไม่ได้กินกับมันหรอก แค่ได้ดมเปลือกก็ชื่นใจทั้งวันแล้ว นี่คือความจริงอันเจ็บปวดของเด็กบ้านนอกคนหนึ่ง

namtan kon

วันนี้ มีอาหารอีสานโบราณกาลนานมา ที่สมัยนี้อาจจะมีให้เห็นน้อยแล้ว นั่นคือ "บักม่วงน้อยยัดโบก" ชื่อนี้มีที่มาครับ ดูรูปก่อนเพื่อเสริมจินตนาการ

mamuang yad boke 01

อาหารหรือขนมชนิดนี้มีส่วนประกอบเพียง 2 อย่าง คือ บักม่วงน้อย (มะม่วงลูกเล็กกลมเปลือกหนาเหนียว) และข้าวเหนียว ความหมายของ "บักม่วงน้อยยัดโบก" มีดังนี้

  • มะม่วงน้อย ทางบ้านผม (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ) เรียก บักม่วงน้อย หมากม่วงน้อย บางท้องที่เรียก มะม่วงกะสอ (เวียงจันทน์ สปป.ลาว และอีสานเหนือริมโขง) หรือมะม่วงกอสอ มะม่วงกวาง มะม่วงกะล่อน ทางโคราชเรียก มะม่วงขี้ไต้ อาจจะมีชื่ออื่นอีกก็ได้ มีลำต้นสูงใหญ่ กิ่งอยู่ในระดับสูงมาก ลูกดก ไม่เหมาะแก่การปีนป่ายเอาเสียเลย เมื่อผลยังเล็กนำมาฝานเป็นแว่นๆ ตุ้ยกับแจ่วปลาแดก (พริกป่น+น้ำปลาร้า มีต่อนเป็นตัวๆ จะเริ่ดมาก) เวลาไปไร่นาก็จะล้อมวงกันกินส้มบักม่วงนี่แหละตอนเที่ยงวัน แดดร้อนๆ
    ผลจะแก่และสุกในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม) เวลามีลมฝนแรงๆ พัดมาจะร่วงหล่น สมัยนั้นเด็กๆ จะแย่งกันหิ้วตะกร้า หรือคุไม่ไผ่ วิ่งเก็บแข่งกันเป็นที่สนุกสนาน เพราะจะได้นำกลับไปบ้าน ล้างให้สะอาดทิ้งให้สะเด็ดน้ำก่อน ให้แม่นึ่งข้าวเหนียวร้อนๆ เตรียมไว้เพื่อนำมายัดโบกกินอร่อยหวานหอมเป็นที่สุด (รูปภาพวัยเด็กลอยมาเลยทีเดียว)
  • โบก เป็นภาษาอีสานแปลว่า หลุม บ่อ หรือ แอ่ง ในที่นี้หมายถึง มะม่วงน้อยตัดส่วนหัวบีบเอาเมล็ดข้างในออก ก็จะได้โบกมะม่วง สำหรับยัดข้าวเหนียวร้อนๆ เข้าไป

mamuang yad boke 02

  • ข้าวเหนียว (อังกฤษ: Glutinous rice; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa var. glutinosa) เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือ การติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคอีสานของประเทศไทย และ ประเทศ สปป.ลาว ข้าวเหนียว เป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้ว ยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียว เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว

มะม่วงยัดโบก จึงเป็นการนำเอามะม่วงน้อย (หรือชื่ออื่นๆ ตามที่กล่าวถึงด้านบน) มาตัดบริเวณขั้วออก โตพอที่จะเอาเมล็ดออก แล้วใส่ข้าวเหนียวลงไปแทนที่ หรือที่เรียกว่า "ยัดโบก" นั่นเอง เวลารับประทานก็จะใช้มือบีบให้ข้าวโผล่ออกมา กัดกินเป็นคำๆ เคี้ยวด้วยความสุขสมเปรมปรีดิ์ ส่วนสมัยนี้เพื่อให้ดูงามตาก็จะใช้ช้อนตักเข้าไปในผลมะม่วง จะได้ทั้งข้าวเหนียวและมีเนื้อมะม่วงติดขึ้นมารับประทาน รวมทั้งการจัดวางตกแต่งให้ดูหรูแบบอาหารภัตตาคารชั้นหนึ่ง ก็จะดูไฮโซน่ากินยิ่งขึ้นลืมอาหารแบบบ้านๆ โบราณได้เลย

mamuang yad boke 03

วิธีการทำข้าวเหนียวยัดโบกมะม่วงน้อย

  • มะม่วงน้อยผลสุก (จำนวนตามที่ต้องการและคนจะรับประทานมากน้อย)
  • ข้าวเหนียวนึ่งสุกร้อนๆ (ปริมาณเพียงพอกับมะม่วงที่เตรียมไว้)

การเตรียมการและยัดโบก

  • ล้างผลมะม่วงให้สะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกรวมทั้งยางมะม่วงที่ผิว พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
  • ใช้มือบีบคลึงมะม่วงสุกสัก 2-3 รอบ เพื่อให้เนื้อมะม่วงเหลวหลุดจากเมล็ด แต่ไม่ถึงกับเละนะครับ
  • ใช้มีดเฉือนเป็นวงกลมรอบผลใต้ขั้วผลมะม่วงประมาณ 2-3 เซนติเมตร จากนั้นแกะส่วนขั้วของมะม่วงทิ้ง และใช้มือกดก้นผลมะม่วงสุกเบาๆ ให้เมล็ดหลุดออกมาจากเปลือก และทิ้งเมล็ดไป (สมัยเป็นเด็กเสียดายครับ จะดูดเลียน้ำหวานจนไหลย้อยลงมาตามแขน ถูกบักฝ่าอีแหม่ดังป๊าบ เป็นตาขี้เดียดเพิ่นว่า) จะเหลือโบกที่มีเนื้อและน้ำมะม่วงสุกติดเปลือกอยู่เพียงเล็กน้อย
  • นำข้าวเหนียวนึ่งสุกกดยัดลงไปแทนที่เมล็ดในเปลือกมะม่วงสุกจนเต็ม ใช้มือกดข้าวเหนียวเบาๆ ให้น้ำหวานจากมะม่วงซึมเข้าไปในข้าวเหนียวนึ่งจนทั่ว จัดวางบนจานหรือในแก้วใบเล็ก ตกแต่งให้สวยงามดังในภัตตาคารหรูๆ ตามชอบเด้อ
  • เย้! พร้อมรับประทาน ลิ้มรสอดีตกันได้แล้วครับ

mamuang yad boke 04

มะม่วงน้อย ผลดิบจะมีรสเปรี้ยวจัดมาก นิยมนำมาจิ้มน้ำปลาร้าหรือพริกเกลือ ผลสุกจะมีกลิ่นหอมเย็น เปลือกผลเหนียวพอประมาณ เนื้อผลสุกมีน้อย มีรสหวานอมเปรี้ยวถึงหวานจัดตามระดับความสุกงอม มีเมล็ดใหญ่เกือบเท่าผล สามารถขูดเนื้อเอาไปต้มกวนทำมะม่วงกวน (บ้านอาวทิดหมูเอิ้นว่า มะม่วงแผ่น เพราะเมื่อต้มกวนสุกจนข้นแล้วนำไปแผ่บนใบตองตากแดด แห้งแล้วลอกเป็นแผ่นม้วนเข้า เก็บไว้ได้นาน เป็นของฝากของต้อนญาติมิตรได้) บางแห่งเรียก ส้มแผ่น ได้รสหวานอมเปรี้ยวอร่อยโดยไม่ต้องเติมน้ำตาล อาวทิดหมูว่า อร่อยกว่ามะม่วงกวนที่ทำมาจากมะม่วงพันธุ์อื่นๆ นะครับ

mamuang yad boke 05

ส่วนใหญ่จะเห็นต้นมะม่วงน้อยยืนต้นอยู่บริเวณรอบๆ กระท่อมที่พักอาศัย ตามท้องไร่ท้องนา ชาวไทยภาคอีสานเรียก "มะม่วงน้อย, มะม่วงสอ" เป็นคนละชนิดกับ "มะม่วงป่า" หรือที่เรียก "มะม่วงคัน" ที่มีผลกลมเล็กกว่า และเนื้อผลมะม่วงคันสุกจะมีเส้นใยใหญ่และเหนียวเยอะมาก

mamuang yad boke 08

ปัจจุบันนี้ ยังมีผู้เฒ่าผู้แก่บางท่านเท่านั้น (เอ่อ! นี่กำลังบอกว่า อาวทิดหมู เป็น สว แล้วใช่ไหม) ที่ทำรับประทานเป็นอาหารว่าง ผู้คนรุ่นใหม่ต่างเริ่มลืมเลือนแล้ว หันไปนิยม "ข้าวเหนียวมูนกับมะม่วงอกร่อง หรือน้ำดอกไม้" กันหมดแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งคือ มะม่วงน้อย มะม่วงกะสอ เหล่านี้ หลายๆ หมู่บ้านไม่นิยมปลูกกัน เมื่อต้นแก่ก็ตัดทิ้งกันหมดไม่ปลูกทดแทน ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (ไม่มีการซื้อ-ขาย เป็นผลไม้ส่งออกกันนั่นเอง) อย่างวันนี้ไปนวดแผนไทยที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี จอดรถด้านข้างโรงพยาบาลได้ยินเสียงหล่นตุ๊บตั๊บ ลงไปดูก็เจอ มะม่วงน้อย หล่นเกลื่อนไม่มีใครเหลียวแล เลยเก็บลูกสวยๆ มาได้ 1 กาละมังน้อย ช่วงบ่ายจะจัดการยัดโบกเสียหน่อย มากินนำกันเด้อครับ

 mamuang yad boke 07

ในอดีตรั้วสวนไม่ได้กั้นอาณาเขตอย่างปัจจุบัน ผลไม้ตามฤดูกาลก็มีมากมายไม่อดอยาก การเก็บผลไม้ร่วงหล่นในสมัยเด็กจึงเป็นความสุข ไปเก็บที่ไหนก็ได้ไม่มีว่ากัน เพราะทิ้งไว้ไม่มีใครมาเก็บก็เน่าเสียเป๊นแหล่งเพาะแมลงวันเสียเปล่า ปัจจุบันเปลี่ยนไปผลไม้ต่างๆ ก็เริ่มหายาก มะม่วงน้อยคงจะเหมือนกับพืชพื้นถิ่นอื่นๆ ที่กำลังเลือนหาย เช่น มะตูม (หมากตูมกา) ลูกหว้า มะเกลือ หมากผีพ่วน เป็นต้น เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เห็นประโยชน์ มีวิทยาการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยทดแทน เช่น มีกาวยาง เหนียวใช้ง่ายกว่ายางมะตูม มีสีย้อมผ้าที่ดำสนิทยิ่งกว่าย้อมด้วยสีดำของมะเกลือ เป็นต้น

mamuang yad boke 06

[ อ่านเพิ่มเติม : มะม่วงยัดโบก ขนมลูกอีสาน ]

ที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการนำเอา "บักม่วงน้อยยัดโบกข้าวเหนียว" มาฟื้นฟูอีกครั้งกับ "ถนนคนเดินเมืองเขมราษฎร์ธานี" หรือ ตลาดต้องชม ถนนคนเดินเขมราฐ ซึ่งมีทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 4 โมงเย็น ในช่วงฤดูมะม่วงน้อยสุกจะมีให้ได้ชิมที่ โรงแรมสุขสงวน น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวมากครับ

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)