คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ภาพเก่าเล่าเรื่อง "เมืองดอกบัว-อุบลราชธานีในอดีต" ถ่ายภาพโดย ดร. โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Dr. Robert Larimore Pendleton) นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตร University of Wisconsin-Milwaukee Libraries, ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการ ประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1935-1942 เอามาเผยแพร่ต่อโดย Wisuwat Buroot ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
ชุมชนในตัวเมือง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2479
สภาพชุมชนและถนนในตัวเมือง อำเภอพิบูลมังสาหาร ปี 2479
คณะข้าราชการ-พ่อค้าประชาชน ถ่ายภาพร่วมกันที่ว่าการอำเภอพิมูลมังษาหาร ปี พ.ศ. 2480
ทำน้ำตาลจากอ้อย (น้ำอ้อย) อำเภพิบูลมังสาหาร ปี พ.ศ. 2479
เครื่องมือหีบอ้อย ทำจากไม้ ใช้แรงงานสัตว์ วัวหรือควายในการลาก อำเภอพิบูลมังสาหาร ปี 2479
สภาพร้านค้าในตัวตลาด อำเภอพิบูลมังสาหาร ปี พ.ศ. 2479
ร้านค้าของชาวจีนในตลาด อำเภอเดชอุดม ปี พ.ศ. 2481
การปักธงทิวช่วงเทศกาล ที่วัดแห่งหนึ่ง พิบูลมังสาหาร ปี พ.ศ. 2479
รถยนต์ของคณะสำรวจสภาพดินและป่าไม้ ท่ามกลางป่าไม้ในอดีต อำเภอเดชอุดม ปี 2481
หญิงทอผ้าฝ้าย ที่บ้านห้วยทราย อำนาจเจริญ (เป็นอำเภอ อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ในขณะนั้น) ไม่ระบุปีที่ถ่ายภาพ
ชายหนุ่ม นุ่งผ้าไหม อำเภอม่วงสามสิบ ปี พ.ศ. 2481
ชาวบ้านนั่งรอเรือขนส่งที่ท่าเรือ อำเภอพิบูลมังสาหาร เพื่อเข้าตัวจังหวัดอุบลราชธานี ทางแม่น้ำมูล ปี พ.ศ. 2479
ท่าเรือขนส่งโดยสาร อำเภอพิบูลมังสาหาร 18 มีนาคม ปี 2479
แม่น้ำมูล ช่วงไหลผ่านอำเภอพิบูลมังสาหาร ปี พ.ศ. 2479
ชาวบ้านกำลังเดินอยู่บนถนนแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองอุบลฯ ปี พ.ศ. 2481
ภาพถ่ายทางอากาศ ระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร มองเห็นแม่น้ำมูลอยู่ด้านบนซ้าย ไม่ระบุปีที่ถ่ายภาพ
บันทึกการเดินทางของ เอเจียน แอมอนิเย นักสำรวจชาวฝรั่งเศส รุ่นที่ 6
กำลังออกเดินทางจากอุบลราชธานี 2438 Credit : Mission Pavie
แผนที่ของคณะสำรวจได้เดินทางออกจากเมืองพิมูล ด้วยเรือลำเล็ก 4 ลำแล่นขึ้นแม่น้ำมูล เพื่อไปเมืองอุบล
ผ่านหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้านมีวัดทุกหมู่บ้าน มีการทำนาในฤดูแล้งโดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำมูล
พวกเขมรเรียกว่า “แซรปรัง (Sre Prang)” และพวกคนลาวเรียก “นาแซง” พ.ศ. 2483
กองคาราวานเกวียนขนส่งสินค้าระหว่างเมืองต่างๆ ในอดีต พ.ศ. 2438 Credit : Mission Pavie
กองเกวียนเดินทางในภาคอีสาน (อุบลราชธานี)
การเดินทางของกองเกวียนในภาคอีสาน
คลิกไปชมต่อ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง "เมืองอุบลราชธานีในอดีต" | ชุดที่ 1 | ชุดที่ 2 | ชุดที่ 3 | ชุดที่ 4
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)